Search

JVC ลุยบล็อกเชน AGM Voting เทรนด์ใหม่หลังโควิด - efinanceThai

soho.prelol.com
JVC ลุยบล็อกเชน AGM Voting เทรนด์ใหม่หลังโควิด

Special Interview

JVC ลุยบล็อกเชน AGM Voting เทรนด์ใหม่หลังโควิด

สถานการณ์โควิด-19 เป็นปัจจัยเร่งให้คนไทยก้าวเข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนในแง่ของผู้ประกอบการ ก็ต้องปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารงาน ให้ทันต่อสถานการณ์ที่พลิกผันอย่างฉับพลัน

การประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างๆ ทั้งในและนอกตลาดหุ้นต้องเลื่อนออกไป เพื่อความปลอดภัยในด้านสุขภาพมาเป็นอันดับหนึ่ง หากบริษัทไหนจะประชุมตามแผนงานเดิม ก็จะต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด หรือไม่ก็อาจจะจัดประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับแนวทางของแต่ละบริษัท  

บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด (JVC) ในเครือ บมจ.เจ มาร์ท (JMART) มองวิกฤตเป็นโอกาส ด้วยการเปิดตัวแอปพลิเคชันโหวตติ้งแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voting) บนระบบบล็อกเชน ซึ่ง e-Voting จะเป็นออพชั่นเสริมของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) ที่แต่ละบริษัทจัดประชุมคณะกรรมการหรือผู้ถือหุ้นผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเช่น ระบบ Zoom , Microsoft Teams , Hangout และ WebEx เป็นต้น    

ที่น่าสนใจคือการนำ "เทคโนโลยีบล็อกเชน" มาประยุกต์ใช้ในระบบการลงคะแนนซึ่งต้องการความโปร่งใส เชื่อถือได้และนับว่าเป็นการพัฒนาต่อยอดมาสู่การใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจ มากกว่าเพียงการเป็นเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังคริปโตเคอร์เรนซีเท่านั้น 


"สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย" มีโอกาสพูดคุยประเด็นนี้กับ "วรพจน์ ธาราศิริสกุล" CTO บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์แห่งอนาคตนี้  จุดเด่นของบล็อกเชนต่อการใช้เพื่อลงคะแนน และประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ  

 


***ที่มาที่ไปของโปรเจกต์ บล็อกเชน e-Voting   

เทคโนโลยีบล็อกเชนกับการโหวตติ้งเป็นเรื่องคู่กัน เพราะบล็อกเชนเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใส  โหวตแล้วจะไม่สามารถกลับมาแก้ไขได้ ซึ่งในต่างประเทศก็มีกรณีการใช้งานจริงเกิดขึ้นแล้ว โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 เช่น  Sumsung ก็ประกาศว่าจะใช้บล็อกเชนอิเล็กทรอนิกส์โหวตติ้งใน AGM หรือก่อนหน้านั้นก็มีบริษัทในสิงคโปร์  อังกฤษ แต่ในเมืองไทยยังไม่ได้ยินว่ามีบริษัทไหนนำบล็อกเชนมาใช้กับการโหวตใน AGM   

โปรเจกต์นี้ เป็นแผนที่ JVC วางไว้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 แต่บังเอิญว่าสถานการณ์โควิด-19  เกิดขึ้น และมีผลกระทบต่อแผนการจัดประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี (AGM) ของบริษัทต่างๆ ทาง JVC จึงตัดสินใจทำโปรเจกต์นี้เร็วขึ้น และแน่นอนว่าจะเริ่มใช้กับบริษัทแม่เป็นรายแรก นั่นคือ JMART ซึ่งจะมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีในต้นเดือนมิถุนายนนี้    

บล็อกเชน e-Voting นั้นทาง JVC เคยทำมาก่อนแล้ว แต่ขณะนั้นไม่ได้ทำในระดับที่ใหญ่มาก โดยเป็นการนำแต้มคะแนน (Point) ของธนาคารออมสิน มาโหวตในการประกวดค้นหาศิลปินบอยแบนด์ในรายการ  "Superboy Project" ตอนนั้นแนะนำทางธนาคารให้เปลี่ยนจากการโหวตแบบปกติด้วย SMS มาเป็นใช้แต้มคะแนน 

"วิกฤตโควิด-19  มันเหมือนเป็นตัวกระตุ้น มันกลายเป็นเรื่องของความจำเป็นแล้ว ก่อนหน้านี้ ถ้าพูดถึงโหวตติ้งเราก็จะนึกไปถึง การเลือกตั้ง อะไรแบบนั้นซึ่งมันใหญ่เกินไป คือ พอไปถึงสเกลนั้นมันยาก ที่จะให้คนไทยทุกคนมาออนไลน์บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้จริง มันก็เลยอาจจะยังไกลความเป็นจริง"  


 ***ถ้าไม่โหวตผ่านระบบบล็อกเชน เราใช้ก็แค่โหวตผ่านระบบ Data Base ธรรมดาก็น่าจะได้ 

ก็โหวตได้ แต่คำถามคือสิ่งที่เราเน้นคือความโปร่งใส และตรวจสอบได้ใช่หรือไม่ แล้วจริงๆ AGM มันก็ต้องมีหน่วยงานกำกับมาตรวจสอบด้วย  เช่น สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เขาก็ต้องตรวจสอบว่ามีใครโหวตบ้าง  ตรวจสอบได้ไหม ซึ่งมันจะมีกระบวนการอยู่ เพราะฉะนั้น AGM มันเลยเป็นเหมือนกรณีการใช้งานที่เหมาะสม สำหรับการนำบล็อกเชนโหวตติ้งมาใช้ 

เทคโนโลยีบล็อกเชนมีมาสักพักแล้ว และก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของนักพัฒนาชาวไทย แต่ความยากมันอยู่ที่ว่าจะนำไปใช้งานจริงๆ หรือไม่มากกว่า อีกสาเหตุหนึ่งก็อาจจะมาจากต้นทุนที่อาจจะยังสูง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่  นักพัฒนาบล็อกเชนในประเทศไทยก็ไม่ได้มีมาก การมุ่งเน้นประโยชน์จึงอาจจะอยู่กับการนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้กับเรื่องการออกเหรียญ ออกพันธบัตร หรือเรื่องของซัพพลายเชน ฯลฯ 

***โปรเจกต์บล็อกเชนโหวตติ้งของ JVC ใช้ชื่อว่าอะไร 

ชื่อว่า "THAILAND AGM VOTING" และเป็นชื่อของแอปด้วย เป็นโปรเจกต์บล็อกเชนโหวตติ้งสำหรับ AGM โดย เจ เวนเจอร์ส ซึ่งเราตั้งเป้าหมายจะเป็นแอปพลิเคชันสำหรับ AGM และจริงๆ ไม่ได้เป็นตัวที่จะทำเงินเยอะอยู่แล้ว และคงยังไม่ได้มีเป้าหมายที่จะสร้างรายได้ให้ JMART อย่างมีนัยสำคัญ  เนื่องจากเป็นเพียงหนึ่งแอปพลิเคชันที่เราเพิ่งสร้างขึ้นมา และกรณีการใช้งานคงต้องค่อยเป็นค่อยไป  และอย่างที่บอกว่าเราจะใช้กับการประชุมผู้ถือหุ้นของ JMART ก่อน

แอปพลิเคชันนี้ไม่ใช่แค่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการประชุม ที่จะต้องมีการโหวตของบริษัทมหาชนเท่านั้น บริษัทเล็กๆ นอกตลาดก็มีปัญหาเหล่านี้ เพราะเขาก็ต้องมีบางเรื่องที่ต้องมาลงคะแนนเพื่อตัดสินอะไรบางอย่าง แต่ตอนนี้บริษัทเหล่านั้นไม่สามารถลงคะแนนได้ ยิ่งคนต่างชาติบินเข้ามาในไทยไม่ได้ แต่แอปนี้คือสิ่งที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ 

***ขั้นตอนการใช้งานแอปบล็อกเชนโหวตติ้ง สำหรับ AGM  

ขั้นตอนแรก : การลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตน (Enrolment and Identity Proofing) ด้วย Digital ID  ตามมาตรฐานของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และเราก็เลือกใช้ระดับความน่าเชื่อถือของไอเดนทิตี (identity assurance level:IAL) ขั้นสูงสุดเหมือนกับที่ธนาคารพาณิชย์ใช้คือ ระดับ IAL 2.3    

"เพราะเรามองว่า การลงคะแนนเสียงของผู้ถือหุ้น มันมีผลทางกฎหมาย ตรงนี้ที่เราเน้น คือ ถ้ามีผลทางกฎหมายคุณจะทำเพียงแค่ Username/Password ให้คนลงทะเบียนเข้ามาแบบธรรมดา ความปลอดภัยมันไม่น่าเพียงพอ เพราะใครก็สามารถเอา Username/Password ไปโหวตได้ คุณจะรู้ได้ไงว่าเขาคืนคนที่โหวตจริงๆ นี่คือจุดแรกที่เราทำไมต้องเอา Digital ID เข้ามาเพื่อพิสูจน์ตัวตน"

ขั้นตอนแรก : สมัครลงทะเบียนและพิสูจน์ตัวตนทางดิจิทัล ผ่านแอปหลักคือ JFIN Wallet  มีการถ่ายรูป มีการเสียบบัตรประชาชน (Dip Chip) กับระบบ เพื่อตรวจสอบข้อมูลในบัตรกับข้อมูลที่ลงทะเบียนไว้ และจะนำรูปที่อยู่ในบัตรเปรียบเทียบกับรูปถ่ายเพื่อตรวจสอบข้อมูลชีวมิติ (biometric) ป้องกันการปลอมตัวเป็นบุคคลอื่น ถ้าพิสูจน์แล้วว่าเป็นคนเดียวกันจริง ก็จะมี Username และ Password หรือจะเรียกว่า PIN Code เพื่อพิสูจน์ว่าคุณคือคนที่ใช่จริงๆ  

ขั้นตอนที่สอง : การยืนยันตัวตน (Authentication) โดยจะใช้ระดับความน่าเชื่อถือของสิ่งที่ใช้ยืนยันตัวตน (authenticator assurance level: AAL) ในระดับ AAL 2.2  เมื่อยืนยันเสร็จแล้วจึงจะเข้าไปโหวตได้ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน "THAILAND AGM VOTING" 

หลังจากดาวน์โหลดแอป "THAILAND AGM VOTING" มาแล้ว ระบบจะให้ Login ซึ่งการ Login จะเชื่อมต่อไปที่หน้าแอปของ JFIN Wallet  โดยอัตโนมัติเพื่อเข้าสู่กระบวนการ ยืนยันตัวตน (Authentication) ในระดับ AAL 2.2  ซึ่งจะต้องทำ 3 อย่าง คือ 1. สิ่งที่คุณรู้ (ระบุรหัสผ่านให้ถูกต้อง) 2.สิ่งที่คุณมี ( ระบุ OTP ให้ถูกต้อง) และ 3.สิ่งที่คุณเป็น (ระบบจะสแกนใบหน้าว่าเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่รูปถ่ายหรือภาพนิ่ง โดยระบบจะให้เราหันซ้าย หันขวา...) 


***จุดเด่นของบล็อกเชน e-Voting   

e-Voting ของเราจะเด่นเรื่องความปลอดภัย ทุกการโหวตจะถูกเก็บข้อมูลไว้ และเมื่อปิดวาระแล้วจะไม่สามารถแก้ไขผลโหวตได้ และเด่นเรื่องความโปร่งใส ด้วยการใช้บล็อกเชนเทคโนโลยี โดยทำการโหวตผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่สามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลา และใช้ฟีเจอร์การโหวตเป็นแบบ Anonymous (ไม่ระบุชื่อ) 

ฟีเจอร์ Anonymust Vote มีวิธีการคือหลังจากทำการตรวจสอบสิทธิในการโหวตผ่านแล้วระบบจะนำเลขบัตรประจำตัวประชาชนไปทำการ Hash (ย่อยข้อมูลผ่านกระบวนการคณิตศาสตร์ และจะไม่สามารถแปลงกลับมาในสภาพเดิมได้) แล้วนำ Hash นั้นไปสร้าง Wallet เพื่อให้เป็น Anonymust Vote  นั่นหมายความว่า Wallet จะถูกสร้างจาก Hash ID  ไม่ใช่จาก ID โดยตรง และ Wallet นั้นก็จะไปต่อกับบล็อกเชนและก็ไปทำงานกับ Smart Contract ระบบ Ethereum Network แบบ PoA ซึ่งให้บริการโดยมูลนิธิ ThaiChain 


 

"ฟีเจอร์  Anonymous Vote นี่สำคัญมาก และต่างประเทศเขาให้ความสำคัญมากในการโหวตทางอิเล็กทรอนิกส์เพราะว่าการรู้ใครโหวตอะไร มันอาจจะทำให้เกิดอคติได้นี่คือสิ่งที่เรานำมาแก้ปัญหา ว่ามันโปร่งใสขึ้น มันตรวจสอบได้ ไม่ต้องกลัวว่าใครจะทราบว่าเราโหวตอะไร..ไม่ใช่ว่ายกมือโหวต หรือพิมพ์โหวตเข้ามา แบบนี้มันไม่เป็นส่วนตัว และเราก็คงไม่อยากให้ใครรู้"

  

"เราหาเครื่องมือมาช่วยแก้ปัญหาปัจจุบัน ผมมองคือถ้าเป็น e-Meeting คนประชุมไม่กี่คน ใช้แอป e-Meeting ก็พอแล้ว ใช้ยกมือได้ อะไรได้ แต่พอเป็นคนเยอะๆ มีความปลอดภัยรึปล่าว เราถือว่าเครื่องมือของเรามาปิดช่องว่างตรงนี้ให้"   

ฟีเจอร์เด่นอีกอย่างคือ เราใช้ประโยชน์จาก Digital ID ในเรื่องของการมอบอำนาจ (Proxy voting) สมมุติ ผมอยากมอบให้นาย  A ไปโหวตให้  ก็ใช้หลักการเดียวกันกับที่เราทำ Digital ID ยืนยันตัวตน แต่ต้องยืนยันตัวตนอีกรอบหนึ่งว่า เราจะโอนสิทธินี้ให้กับผู้รับมอบ เพราะฉะนั้น ผู้รับมอบก็ต้องมาลงทะเบียนกับเรา แล้วก็สมัครเป็นผู้รับมอบฉันทะ  

***แอปนี้จะได้ใช้เมื่อไหร่ และแผนงานในอนาคต 

เราเชื่อว่าเราจะพร้อมภายในเดือนนี้อยู่แล้ว (เมษายน) และ JMART จะเป็นรายแรกที่ใช้แอปนี้  ฟีเจอร์นี้ถ้า JMART ใช้ได้ ก็มีหลายๆ บริษัทถามเข้ามาอยู่เหมือนกัน แต่เขาก็รอให้ JMART ใช้ก่อน 

ส่วนแผนงานในอนาคต e-Voting จะรองรับทุกบริษัทที่มีการโหวตติ้ง เป็นบริการที่ให้ทุกองค์กรใช้ กลุ่มเป้าหมายกว้างมากก็ถือว่าเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง เพราะ JVC มีภารกิจในการทำแพลตฟอร์มอยู่แล้ว อย่างแพลตฟอร์ม Lending ที่เป็นแพลตฟอร์มหลักใช้ในการปล่อยกู้ ซึ่งเดี๋ยวจะกระจายออกไป แพลตฟอร์มยืนยันตัวตนก็เป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง แพลตฟอร์มโหวตติ้งก็เป็นอีกแพลตฟอร์มหนึ่ง เป็นแผนที่เราทยอยออกมา 

***จะทำเงินได้ขนาดไหน รายได้จะมาจากไหน

ก็ต้องขึ้นกับการใช้งาน อาจจะคิดตามจำนวนผู้ใช้งาน แต่เราคงไม่เก็บเยอะ เพราะต้องการทำออกมาเพื่อให้เป็นทางเลือกเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้น สมมุติ 100% ของผู้ถือหุ้น 30% อาจจะยอมมาประชุมแบบ Distancing กัน แต่อีก 70% เขาอาจจะไม่มีทางเลือก อันนี้ก็อาจจะเป็นทางเลือกให้เขา 

นอกจากนี้  เชื่อว่านับจากนี้ไปจะมีปัจจัยที่ทำให้ทุกองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเข้มข้นมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.บ.ไซเบอร์ฯ ซึ่งบังคับใช้แล้ว และ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในเดือน พ.ค. 2563 ซึ่งแน่นอนว่า บล็อกเชน นั้นตอบโจทย์ในเรื่องนี้ อย่าง e-Voting ที่บริษัททำเป็นการโหวตบนบล็อกเชน และเรามีการยืนยันตัวตนตามมาตรฐานของ ETDA ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 

***นอกจาก e-Voting  แล้ว มีแผนพัฒนาระบบบล็อกเชน ทำอะไรอีก

e-Voting  เราดึงขึ้นมาทำก่อน ส่วนต่อไปที่วางไว้ก็จะมีระบบ Point System เรียกว่าเป็น Universal Point System คือเอา Point ของแต่ละบริษัทมาแลกกันได้ เช่น Point ของธนาคาร A เอามาแลกกาแฟคาซ่าลาแปง หรือ Point บริษัท B จะเอามาแลก Point ของ Enjoy jmart  

"แพลตฟอร์มที่จะออกใหม่ของเราคือ Universal Point System เป็นการนำ Point มาอยู่บนระบบบล็อกเชน ให้นำมาแลกกันได้ นี่คือแผนถัดไป..."    

   


 
 

 

ข่าวหุ้นอื่นๆที่น่าสนใจ

RECOMMENDED NEWS

ข่าวหุ้นยอดนิยม


Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
April 30, 2020 at 05:09PM
https://ift.tt/3eY1WVo

JVC ลุยบล็อกเชน AGM Voting เทรนด์ใหม่หลังโควิด - efinanceThai
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "JVC ลุยบล็อกเชน AGM Voting เทรนด์ใหม่หลังโควิด - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.