Search

บทความพิเศษ : ประเทศไทย ต้องยืนอยู่บนขาของตนเองให้ได้ (Thailand's self dependence) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

soho.prelol.com

วันอาทิตย์ ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2563, 06.00 น.

สงครามโลกครั้งที่ 3 (Third World War) เกิดขึ้นแล้วนั่นก็คือ สงครามโควิด-19 ซึ่งระบาดโจมตีประเทศทั่วโลก ไม่ละเว้นว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจใหญ่โต หรือประเทศเล็กจิ๋วขนาดไหน (สหรัฐอเมริกา, จีน, โมนาโก, วาติกัน) ไม่ว่าจะอยู่ในทวีปไหนของโลก (ญี่ปุ่น, บราซิล, อิตาลี, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย) ไม่ว่าจะเป็นคนเผ่าพันธุ์ใดหรือสูงต่ำดำขาว (เยอรมนี, ไทย, เฮติ, คองโก หรือวานูอาตู)

ผู้คนล้มหายตายจากกันไปมากมาย ผู้คนว่างงาน อดอยากยากแค้นกันนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะคนจน ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในเกือบจะทุกประเทศของโลกใบนี้


ขณะนี้ทุกประเทศก็กำลังต่อสู้อยู่กับภัยพิบัติโควิด-19อย่างแข็งขัน จนไม่ค่อยจะมีเวลาคิดดอกว่า เมื่อภัยพิบัติหมดสิ้นไปแล้ว แต่ละประเทศจะอยู่ต่อกันไปได้อย่างไร

ขอยกตัวอย่างประเทศมหาอำนาจเบอร์หนึ่งของโลก ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา หรือรองๆ ลงไปในยุโรปตะวันตก เช่น เยอรมนี, ฝรั่งเศส, อิตาลี ภัยพิบัติครั้งนี้ก็ทำให้เห็นว่ายังยืนอยู่บนขาของตนเองไม่ได้ จะเพราะด้วยความประมาท หรือเพราะด้วยการคิดจะเอาแต่พัฒนาเศรษฐกิจด้วยการค้าขาย ก็ตาม

สหรัฐอเมริกา และยุโรป ไม่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่พอเพียง สำหรับการต่อสู้โรคระบาด นับตั้งแต่หน้ากาก (MASK) ระดับพื้นฐาน ตลอดจนเครื่องมือทางการแพทย์ธรรมดาๆ ไปจนถึงเครื่องช่วยหายใจ จะผลิตใช้เองก็ไม่ทันการ เพราะทุกอย่างไปจ้างจีนเป็นผู้ผลิตเสียหมดแล้ว รวมทั้งเสื้อผ้า ของใช้ประจำวันในชีวิต และในครอบครัว เนื่องจากที่จีนค่าจ้างแรงงานถูก เมื่อเอามาขายในประเทศของตน นักธุรกิจของประเทศผู้นำเข้าจึงได้กำไรมาก

รัฐบาลเองก็คงไม่เคยคิดว่าการไปจ้างคนอื่นเขาผลิตแต่อย่างเดียวนั้น ผลจะเป็นอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติเช่นนี้ขึ้น หรือเกิดความขัดแย้งทางการเมืองกับประเทศที่ตนไปว่าจ้างเขาผลิตสินค้าทั้งเครื่องอุปโภคและบริโภค

ขณะนี้ผัก และผลไม้ต่างๆ ที่วางขายอยู่ในตลาดขายส่งสี่มุมเมือง และตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ แต่ก่อนถูกล่องจากแม่น้ำโขงมาขึ้นแถวอำเภอเมืองเชียงของ และกระจายไปสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ ขณะนี้เข้ามาทางรถคอนเทนเนอร์ วิ่งเข้ามาส่งถึงตลาดขายส่งของจังหวัดต่างๆ ทางสะพานข้ามแม่น้ำโขงไปสู่ลาว และถนนสายห้วยไทร-ชายแดนจีน มณฑลยูนนาน หรือถนนสาย R3 ที่จีนเป็นผู้สร้างให้ลาว

ส่วนสินค้าอื่นอีกมากมายมหาศาล ก็ใส่ตู้คอนเทนเนอร์วิ่งมาจากมณฑลกวางสี ผ่านเวียดนามมาตามถนนสายหลัก เลาะชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก เลี้ยวอีก 100 กิโลเมตรเศษ ก็ข้ามสะพานลาว-ไทย ที่นครพนมบ้าง มุกดาหารบ้าง เข้ามาเต็มตลาดภาคอีสาน แล้วกระจายไปทั่วประเทศไทย

วันหนึ่งถ้าความสัมพันธ์กับมหามิตรของเรา เกิดมีปัญหาผักผลไม้ต่างๆ รวมทั้งหอม กระเทียม ของใช้ในบ้านรวมทั้งกระดาษชำระ และน้ำยาต่างๆ หรือแม้แต่ยาเวชภัณฑ์ เครื่องมือทางการแพทย์ ตลอดจนเหล็กม้วน เหล็กแผ่นเราจะเอาที่ไหนมากินมาใช้ เพราะเกษตรกรบ้านเรา ก็เลิกปลูกผัก พริก มะเขือ หอม กระเทียม ไปเป็นพ่อค้าแม่ค้าขายอาหารตามแผง หรือตามรถเข็น (Street food) อยู่ในชุมชนเมืองกันอยู่แล้ว

ส่วนโรงงานเหล็กเส้น เหล็กแผ่น ก็คงจะเลิกกันไปหมดแล้ว เพราะถูกประเทศที่แข็งแรงกว่า ทุ่มตลาด หรือดัมพ์ราคาเข้ามาจนต้องเลิกกิจการไป

วันหนึ่งในอนาคต เราก็อาจจะต้องสั่งทุเรียน และลำไย กล้วยหอม มาจากฟาร์มเกษตรประเทศเพื่อนบ้านที่พ่อค้าจีนมาลงทุนไว้มากมาย และอย่างทันสมัยในลาว และมณฑลยูนนาน และมณฑลกวางสี ยังไม่นับถึงชาวสวนยางพาราอีกมากมายในภาคใต้ ที่อาจต้องประสบปัญหาเดียวกัน

ยังไม่กล่าวถึงอุตสาหกรรมบางประเภท ที่อาจจะต้องปิดตัวลงก่อนที่สงครามโลกครั้งที่ 3 (หรือสงครามโควิด-19) จะสิ้นสุดลง อาทิ อุตสาหกรรมต่อเรือ และซ่อมแซมเรือเดินสมุทร ขณะนี้ทุกคนกำลังต่อสู้โรคระบาด การเดินเรือรับส่งสินค้าหยุดชะงัก การต่อเรือ และการซ่อมแซมเรือเดินสมุทรก็หยุดชะงักไปด้วย ทุกประเทศที่มีอุตสาหกรรมนี้ ต่างก็หั่นราคาแข่งขันกัน เพื่อหาลูกค้า คู่แข่งของไทยก็มีมหาอำนาจ จีน เกาหลี และเวียดนาม เมื่อเขาลดราคาลง 40% แล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร หากผู้กำกับดูแลไม่มีนโยบาย Self dependence หรือยืนอยู่บนขาตนเองเตรียมไว้

ในด้านอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ซึ่งจะต้องใช้เคเบิลจำนวนมาก รวมทั้งเคเบิลใยแก้ว ในปัจจุบัน เพื่อการสื่อสารความเร็วสูง หรือ Digital transformation แต่ก่อนในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้มีนโยบายยืนอยู่ด้วยขาของตนเอง โดยมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้ว่า ในการประมูลของหน่วยงานของรัฐ หากมีการใช้เคเบิลผลิตโดยโรงงานในประเทศ ก็จะได้สิทธิพิเศษว่าสามารถใช้ราคาต้นทุนสูงกว่าการใช้เคเบิลนอกได้ถึง 15% โดยนโยบายที่ชาญฉลาดในสมัยนั้น ทำให้โรงงานเคเบิลของไทยที่ใช้แต่กิจการโทรคมนาคม และกิจการไฟฟ้า สามารถสู้กับเคเบิลต่างประเทศของญี่ปุ่น และจีนได้ จนทุกวันนี้

เมื่อเราเปิดประมูลโทรศัพท์สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคมก็ระบุว่าผู้เสนอจะต้องเสนอตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคม (ชุมสายโทรศัพท์) ขึ้นด้วย และบริษัท ทรู หรือบริษัทแจสมิน ผู้ได้รับสัมปทานโทรศัพท์ในกรุงเทพฯ และในต่างจังหวัดไปหลายล้านเลขหมาย ก็ต้องทำตามเงื่อนไข โดยให้ซัพพลายเออร์จากต่างประเทศ เช่น เอ็นอีซี อิริคสัน ตั้งโรงงานในประเทศด้วย

แต่เมื่อรัฐบาลพลเอกชาติชาย หมดสิ้นไปแล้ว และมีฝ่ายบริหาร (ที่มาจากการเลือกตั้ง) หน่วยงานโทรคมนาคมของไทยก็ไม่สนใจไยดีกับโรงงานในประเทศอีกต่อไป เพราะการเปิดประมูลซื้อโดยตรงจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้บริหารองค์กร และนักการเมืองมีรายได้พิเศษเป็นกอบเป็นกำมากกว่ามาก

ภัยพิบัติมีมากมายหลายแบบ ไม่ว่าแบบสงครามโลกครั้งที่ 1, ครั้งที่ 2, ภัยพิบัติจากโควิด-19, สงครามเย็นระหว่างปี ค.ศ.1947 ถึง ค.ศ.1953, ภัยพิบัติจากภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดวาตภัย และพายุหมุนรุนแรง, ภัยพิบัติอันเกิดจากน้ำแข็งขั้วโลกละลาย, ภัยพิบัติจากความขัดแย้งทางการเมืองอันอาจเกิดขึ้นได้ ที่กล่าวมาในตอนต้น หรือภัยพิบัติอันเกิดจากการกระทบกระทั่งกับประเทศข้างเคียง อันจะทำให้แรงงานต่างด้าวนับล้านคนที่เป็นกำลังสำคัญอยู่ในอุตสาหกรรมประมง อุตสาหกรรมอาหารแช่แข็งเพื่อการส่งออก อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมโรงแรมและท่องเที่ยว ต้องหายไปในทันที โดยมิได้มีการเตรียมการเพื่อยืนอยู่บนขาของตนเองให้ได้ (Self dependence) ไว้ล่วงหน้า

ศิริภูมิ

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
April 26, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2VGHdxZ

บทความพิเศษ : ประเทศไทย ต้องยืนอยู่บนขาของตนเองให้ได้ (Thailand's self dependence) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "บทความพิเศษ : ประเทศไทย ต้องยืนอยู่บนขาของตนเองให้ได้ (Thailand's self dependence) - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.