Search

สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters

soho.prelol.com

————

โดย  Camille Bismonte สำนักข่าว Diplomant

สรุปความโดย บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล

————–

การวิเคราะห์มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานใน 3 ประเทศในอาเซียนคือไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม ที่พบว่ามีแรงงานอพยพจำนวนมากจากทั้งต้นทางและปลายทางการอพยพ และได้ส่งเงินกลับบ้านเกิดที่ส่งผลต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือจีดีพีของประเทศบ้านเกิดอย่างมีนัยสำคัญ 

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาเปิดเผยให้เห็นอีกด้านของการจัดการแรงงานของรัฐบาลในประเทศดังกล่าวต่อกลุ่มประชากรที่ถูกเพิกเฉยมาตลอด ทั้งที่เป็นกลุ่มคนที่ผลักให้เศรษฐกิจของหลายประเทศเดินหน้า ในบางประเทศ แรงงานอพยพถูกมองว่าเป็นต้นตอของการระบาดระลอกที่สองของไวรัส โดยเฉพาะแรงงานอพยพในสิงคโปร์ การควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงานอพยพของแต่ละประเทศจึงไม่ใช่แค่ช่วยเหลือกลุ่มที่เปราะบางในสังคมเท่านั้น แต่นั่นหมายถึงการหยุดการกระจายเชื้อในระดับภูมิภาคด้วย 

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน แม้ไทยจะขึ้นชื่อว่ามีระบบสุขภาพที่เข้มแข็งและได้รับคำชมว่าระบบมีประสิทธิภาพดีอันดับต้นๆ ของโลก โดยเฉพาะการที่รัฐลงทุนในเรื่องหลักประกันสุขภาพ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ในช่วงปลายเดือนมีนาคม รัฐบาลกลับประกาศมาตรการจำกัดการเดินทางและการออกจากบ้าน โดยไม่ได้คิดถึงผลที่ตามมาคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งในระดับชาติและระดับภูมิภาคอาเซียน หลังจากที่ไทยมีมาตรการดังกล่าว รัฐบาลเมียนมาและกัมพูชาได้ประกาศเตือนให้แรงงานสัญชาติเมียนมาและกัมพูชาอย่าเดินทางกลับประเทศบ้านเกิด แต่คำประกาศนั้นก็ไร้ผล เมื่อแรงงานอพยพจำนวนมากต่างมุ่งหน้าเดินทางออกจากประเทศไทย ขณะที่ทางไทยเอง โดยนพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ออกมาเตือนว่าการเดินทางของแรงงานจำนวนมากจะยิ่งทำให้เกิดการแพร่กระจายของไวรัสมากยิ่งขึ้น 

มาตรการของรัฐบาลไทยผลักให้แรงงานตกอยู่บนทางสองแพร่ง คือจะอยู่แบบไม่มีกินเพราะตกงาน ไม่มีเงิน รวมถึงประกันสุขภาพ และทรัพยากรอื่นๆ หรือจะกลับประเทศบ้านเกิด สำนักข่าวนี้รายงานว่าประเทศไทยมีแรงงานอพยพอาศัยอยู่ประมาณ 4–5 ล้านคนที่มาจากเมียนมา ลาว และกัมพูชา ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีระบบสุขภาพที่อ่อนแอเมื่อเทียบกับไทย 

ขณะที่เมียนมารั้งอันดับท้ายในอาเซียนตามการรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประกอบกับช่วงแรกที่ไทยเองก็ยังไม่มีระบบการตรวจหาเชื้อไวรัสที่ดีพอ ทำให้แรงงานอพยพที่อาจติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการได้กลายเป็นพาหะนำไวรัสกลับประเทศบ้านเกิด และเมื่อกลับไปก็ต้องเผชิญกับระบบประกันสุขภาพที่ไร้ประสิทธิภาพ จึงทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดเลวร้ายยิ่งขึ้น

จากการรายงานของศูนย์การศึกษาด้านยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศ (Center for Strategic and International Studies: CSIS) ของสิงคโปร์ระบุว่าแรงงานอพยพเมียนมาหลายพันคนเดินทางกลับหมู่บ้านของตนเองจากประเทศไทย และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่เมียนมาพบคนติดเชื้อโควิด-19 จากการรายงานในวันที่ 20 เมษายน เมียนมาพบผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 107 ราย ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสจากแรงงานอพยพที่ออกจากประเทศไทย การดำเนินการของรัฐไทยจึงเป็นการผลักให้พวกเขาไปอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบากทั้งในเรื่องเศรษฐกิจหรือปากท้องและการเข้าถึงการรักษาโควิด-19 ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้น มาตรการของไทยจึงเป็นการสร้างอันตรายให้เกิดกับภูมิภาคอาเซียนด้วยการปล่อยให้แรงงานกระจัดกระจายกลับบ้านอย่างรวดเร็วเกินไป

ส่วนสิงคโปร์นั้นตอนแรกได้รับคำชมว่าจัดการกับสถานการณ์แพร่ระบาดได้ดี แต่ตัวเลขการติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นในกลุ่มแรงงานอพยพกลายเป็นจุดบอดของรัฐบาลที่ละเลยดูแลคนกลุ่มนี้มาโดยตลอด โดยเฉพาะการที่แรงงานต้องอาศัยอยู่รวมกันในหอพักที่คับแคบและไม่ถูกสุขลักษณะ จากข้อมูลของกระทรวงกำลังคน (Ministry of Manpower) พบว่ามีแรงงานอยู่ในประเทศนี้มากถึง 1.4 ล้านคนจากจำนวนประชากรทั้งหมด 5.8 ล้าน นั่นหมายความว่า 25% ของประชากรทั้งหมดในเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นจำนวนที่ติดเชื้อโควิด ซึ่งคิดเป็น 85% ของผู้ติดเชื้อสะสมทั้งหมดในขณะนี้ของสิงคโปร์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเปิดเผยการปฏิบัติที่ไม่เท่าเทียมต่อประชากรในประเทศและแรงงานอพยพของรัฐบาลสิงคโปร์ โดยเฉพาะเรื่องที่อยู่อาศัย ที่แรงงานอพยพไม่มีทางที่จะสร้างการเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างแน่นอน

 จนทำให้ในเวลาต่อมา ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ประกาศส่งทีมงานเข้าไปดูแลเรื่องหอพักแรงงาน และการแยกกลุ่มแรงงานออกมาเพื่อตรวจหาเชื้อและรักษา ในเวลาเดียวกันรัฐได้แจกน้ำและอาหาร ตลอดจนอุปกรณ์ในการฆ่าเชื้อ ระหว่างที่แรงงานต้องอยู่ในการกักตัว อีกทั้งยังให้แรงงานใช้ไวไฟ (wi-fi) ติดต่อกับครอบครัวที่บ้านหรือเพื่อความบันเทิงอื่นๆ แต่พวกเขาก็ต้องหยุดงานและขาดรายได้ เนื่องจากอยู่ภายใต้การกักตัวของรัฐบาลและไม่สามารถออกจากหอพักเพื่อซื้อของใช้หรือของจำเป็นอื่นๆ 

กรณีสุดท้ายคือเวียดนาม ซึ่งถือเป็นประเทศตัวอย่างที่ควบคุมการแพร่ระบาดได้ดี ส่วนหนึ่งประชาชนมีความเป็นหนึ่งเดียวและร่วมมือกับรัฐในการออกมาตรการ ในวันที่ 22 พฤษภาคม ศูนย์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย จอห์นส์ ฮอพกินส์ Johns Hopkins University) ระบุว่าเวียดนามมีผู้ติดเชื้อจำนวน 324 คน แต่ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต 

มาตรการของเวียดนามต่างจากมาตรการของเกาหลีใต้และสิงคโปร์ที่พยายามตรวจเชื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ รัฐบาลเวียดนามเลือกใช้วิธีการเฝ้าระวังและไม่ได้ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการควบคุมการระบาด เช่นการให้คนในหมู่บ้านหรือเพื่อนบ้านคอยจับตาหากมีกรณีผิดปกติ ตรงนี้เป็นอาจเป็นไปได้ว่าเวียดนามมีประสบการณ์จากการระบาดของซาร์สในปี 2546 ที่เวียดนามเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีการระบาดหนัก ทำให้รัฐบาลเตรียมพร้อมในการรับมือกับโรคระบาด โดยได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพก่อนที่องค์การอนามัยโลกจะออกมาเตือนและเสนอมาตรการควบคุมไปยังประเทศทั่วโลกเสียด้วยซ้ำ

เวียดนามถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ประกาศห้ามการเดินทางเข้าออกประเทศตั้งแต่ที่มีการรายงานการติดเชื้อที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน รวมถึงการปิดโรงเรียน และสั่งให้คนที่ต้องสงสัยติดเชื้อกักตัว 14 วัน รวมถึงการติดตามตัวผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ และการสร้างแอพลิเคชัน 2 แอพให้ประชาชนรายงานสุขภาพและอาการ ตลอดจนติดตามการเดินทางของแรงงานอพยพเวียดนามจากต่างประเทศที่ต้องการกลับเวียดนาม 

รายงานจากธนาคารโลกระบุวในเวลานั้นว่าเวียดนามมีคน 134,000 คนอยู่ภายใต้การกักตัวของรัฐ ขณะที่รัฐมีมาตรการ “เอทีเอ็มข้าว” (Rice ATM) ไปติดตั้งในหลายที่สำหรับคนตกงานไปรับแจกข้าวสารฟรี รวมถึงความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการแจกจ่ายอาหารและของใช้อื่นๆ กับแรงงาน ตัวอย่างเหล่านี้เป็นหลักฐานของความสำเร็จของเวียดนามในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภูมิภาคอาเซียน 

มาตรการที่แตกต่างของแต่ละประเทศทำให้เห็นว่าแรงงานอพยพในช่วงโควิด-19 กลายเป็นกุญแจสำคัญสะท้อนปัญหาเรื่องการจัดการแรงงานอพยพของรัฐบาล เช่นประเทศไทยที่ออกมาตรการที่นำไปสู่การทะลักกลับบ้านของแรงงานจนทำให้เกิดปัญหาในการเข้าถึงการรักษาในประเทศบ้านเกิด หรือสิงคโปร์ที่การจัดการความเป็นอยู่ที่ไม่ถูกสุขลักษณะในหอพักแรงงานกลายเป็นบูมเมอแรงกลับมาสร้างผลกระทบต่อประชากรในประเทศเอง ส่วนเวียดนาม แม้จะเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและการเงินจำกัด แต่ก็ได้ใช้กำลังที่มีอยู่ในการสกัดการแพร่ระบาดที่ได้ผล ดังนั้น การจัดการปัญหาจึงไม่ใช่คำนึงถึงผลประโยชน์ของรัฐใดรัฐหนึ่ง แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบในระดับภูมิภาคเพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย

——————

ที่มา: https://bit.ly/2TCVlGX

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์วิจัยนวัตกรรมสังคมเชิงพื้นที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กับ the Department of Southeast Asia Studies มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศไทย

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
May 26, 2020 at 12:26PM
https://ift.tt/2ZELuEi

สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters"

Post a Comment

Powered by Blogger.