บ้านไหนมีลูกผู้หญิงเรื่องเหาคงเป็นเรื่องปกติที่เหล่าผู้ปกครองมักเจอ แต่อย่าเพิ่งคิดว่าเหานั้นติดได้แค่กับเด็กๆ ผู้หญิงเท่านั้น เพราะเด็กผู้ชายก็สามารถเป็นเหาได้เช่นกัน แล้วคุณพ่อคุณแม่สงสัยกันหรือไม่ว่าเจ้าเหาที่เด็กๆ มักเป็นกันนั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่ เหาคืออะไร และกำจัดได้อย่างไร แล้วสิ่งที่เข้าใจผิดมาตลอดของเหล่าคุณผู้ปกครอง คือ เหาไม่ได้เกิดขึ้นจากปัญหาสุขอนามัยหรือความสกปรกแต่อย่างใด
เหาคืออะไร
เหา หรือ Head Lice เป็นแมลง Pediculus humanus capitis สีออกเทาๆ ขนาดยาว 3-4 มิลลิเมตร กินขี้ไคลบนหนังศรีษะคน เป็นอาหาร เหาตัวเมียมีอายุประมาณ 1 เดือน จะไข่ที่โคลนผมประมาณ 7-10 ฟอง ต่อวัน ไข่จะเห็นเป็นตุ่มสีขาวติดแน่นอยู่กับผม หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ เหาออกไข่ ไข่ที่ไม่มีเหาแล้วจะยังคงติดแน่นอยู่กับผม เมื่อผมงอกยาวขึ้นไข่ก็จะเลื่อนตามไปด้วย
เหาติดอย่างไร
เหาไม่สามารถกระโดดหรือบินจากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง แต่ติดต่อทางสัมผัส ใกล้ชิด เช่น เด็กที่เล่นใกล้ชิดกัน การใช้หมวก หวี หูฟัง ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน หรือนอน เตียงเดียวกัน สาเหตุของเหาเกิดจากปรสิตชื่อเหา (Lice) ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่บนหนังศีรษะมนุษย์ คอยดูดเลือดและวางไข่ ตัวโตเต็มวัยมีขนาดเท่าเมล็ดงา การติดโรคเหาส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากการอยู่ใกล้ชิดคนที่ติดเหา
ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเหามักจะเกิดจากการอยู่ใกล้ชิดคนที่เป็นเหา ทั้งนี้ เหาไม่สามารถกระโดดจากศีรษะผู้ป่วยไปยังผู้อื่น เนื่องจากเหาเป็นสัตว์ที่ไม่สามารถกระโดดหรือว่ายน้ำได้
นอกจากนี้ ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่าโรคเหาสามารถติดต่อกันได้หากไม่รักษาความสะอาด ทั้งที่จริงแล้ว โรคเหานั้นสามารถติดได้แม้จะรักษาความสะอาดเป็นอย่างดี อีกทั้งยังไม่สามารถติดจากสัตว์ได้ เพราะเหาเป็นสัตว์ปรสิตที่มีเฉพาะในมนุษย์เท่านั้น
อาการของคนเป็นเหา
โดยส่วนใหญ่ อาการของเหาไม่ได้สร้างความเจ็บปวดให้แก่เด็ก ๆ แต่จะสร้างความรำคาญและรบกวนร่างกายและจิตใจ อาการที่อาจพบได้ ได้แก่
- รู้สึกเหมือนมีตัวอะไรกำลังเคลื่อนไหวอยู่บนหนังศีรษะ
- มีอาการคันซึ่งเกิดจากการแพ้น้ำลายของเหา
- เจ็บที่บริเวณหนังศีรษะเนื่องจากการเกา และการเกาอาจทำให้อักเสบจนเป็นแผลและตุ่มน้ำได้
- รู้สึกหงุดหงิดเนื่องจากอาการข้างต้น จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
ทั้งนี้อาการอักเสบเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดในโรคเหา เนื่องจากเมื่อเกิดอาการคันแล้วผู้ป่วยจะเกาอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดแผลและติดเชื้ออักเสบในที่สุด โดยมีรายงานพบว่าผู้ป่วยบางรายที่เป็นโรคเหาค่อนข้างรุนแรงอาจมีอาการผมร่วง และหนังศีรษะมีสีคล้ำขึ้นเนื่องจากการอักเสบ
ภาวะแทรกซ้อนของเหา
ภาวะแทรกซ้อนของเหาส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกาย การติดเหาอาจนำมาสู่การติดเชื้อบนหนังศีรษะ เพราะเมื่อเกิดอาการคันจากเหาผู้ป่วยจะเกาะและอาจทำให้เป็นแผลเปิด นอกจากนี้ หากผู้ป่วยแพ้อุจจาระของเหาจะยิ่งทำให้เกิดอาการคันบริเวณหลังคอและหลังใบหูได้ ด้านจิตใจ ผู้ป่วยอาจเกิดความวิตกกังวล จนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้เช่นกัน
วิธีกำจัดเหา
การรักษาเหาเป็นสิ่งที่ทำเองได้ที่บ้านด้วยการใช้ยาหรือวิธีอื่น ๆ เช่น การสางผม การใช้ยา เป็นต้น โดยการรักษาแต่ละวิธีแตกต่างกันออกไป ดังนี้
การสางผมด้วยหวีสางเหา (Wet-combing)
การสางผมขณะที่เปียกด้วยหวีสางเหาซึ่งมีซี่หวีถี่กว่าปกติจะช่วยกำจัดเหาและไข่เหาบางส่วน ก่อนสางผมควรชะโลมครีมนวดผมที่มีสีขาวลงบนผมที่แห้ง เพื่อให้ผมง่ายต่อการสาง ช่วยให้เห็นเหาได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้เหาเคลื่อนที่ได้ช้าลง จากนั้นแบ่งผมแล้วสางผมตั้งแต่หนังศีรษะจนถึงปลายผมใน 4 ทิศทาง คือ หวีไปด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้ายและขวา จากนั้นนำหวีไปเช็ดกับผ้าสะอาดเพื่อตรวจสอบว่ามีเหาอยู่หรือไม่ วิธีนี้ควรทำซ้ำอย่างน้อยทุก ๆ 1 – 2 วัน ติดต่อกันประมาณ 10 วัน หรือจนกว่าจะไม่พบเหาบนหนังศีรษะ
การใช้น้ำมันหอมระเหย (Essential oil)
มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากพืชบางชนิดอาจเป็นพิษกับเหาและไข่เหา ได้แก่ น้ำมันต้นทีทรี น้ำมันโปยกั๊ก น้ำมันกระดังงา แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันที่ก่อให้เกิดประกายไฟได้ เช่น เคโรซีน หรือน้ำมันเบนซิน เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ซึ่งหากจำเป็นต้องใช้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของคนใกล้ชิดหรือแพทย์เป็นพิเศษ เนื่องจากการใช้น้ำมันหอมระเหยในเด็กอาจก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ได้
การใช้ยา
ยารักษาโรคเหา มีดังนี้
- เพอร์เมทริน (Permethrin)
- ไพรีทริน (Pyrethrins)
- มาลาไทออน (Malathion)
- คาบาริล (Carbaryl)
การทำความสะอาดบ้าน
เหามีชีวิตอยู่นอกร่างกายมนุษยได้ไม่เกิน 2 วันเท่านั้น และไข่ของเหาไม่สามารถฟักได้หากไม่อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ดังนั้น โอกาสที่เหาจะอาศัยอยู่ในของใช้หรืออาศัยอยู่ในบ้านนั้นเป็นไปได้น้อยมากหากพบว่ามีบุคคลที่อาศัยภายในบ้านเป็นโรคเหาควรทำความสะอาดบ้านโดยเร็วเพื่อไม่ให้เหาหรือไข่เหาที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถติดต่อไปสู่บุคคลอื่นได้ หรืออาจใช้วิธีไปอาศัยอยู่ที่อื่นสัก 2-3 วันเนื่องจากเหาจะไม่อยู่ในที่ที่ไม่มีมนุษย์อาศัยอยู่
การป้องกันเหา
- สอนลูกไม่ให้ใช้หวีร่วมกับคนอื่น เด็กที่ไว้ผมยาวควรมัดผมหรือถักเปียไว้ประจำเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเหาได้ง่าย
- ทําความสะอาดเครื่องใช้ เครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอนเสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ที่ใช้ในหนึ่งอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วยการซักน้ำร้อนอย่างน้อย 5 นาที สําหรับเครื่องนุ่งห่มที่ซักไม่ได้ เช่น หมอนและพรม ควรอบแห้ง 50 องศาเซลเซียส 20 นาที หรือเก็บไว้ในถุงพลาสติกปิดปากแน่นอย่างน้อย 14 วัน
- ล้างหวีในน้ำร้อน 65 องศาเซลเซียส หรือแช่ใน 2% Lysol เป็นเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อฆ่าตัวเหา
- แยกของใช้ส่วนตัว หวีผ้าเช็ดตัว เครื่องนุ่งห่ม และที่นอน ไม่ใช้ของร่วมกัน
- ตัดเล็บลูกให้สั้นเพื่อป้องกันการแคะ แกะ เกา ผิวหนังหรือบริเวณที่มีผื่นคัน
"อยู่บน" - Google News
May 31, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2Xhaqjv
เหา เรื่องเหาๆ ที่พ่อแม่หนักใจ เหาคืออะไร เกิดจากอะไร และกำจัดได้อย่างไร - Sanook
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เหา เรื่องเหาๆ ที่พ่อแม่หนักใจ เหาคืออะไร เกิดจากอะไร และกำจัดได้อย่างไร - Sanook"
Post a Comment