เมื่อภาวะในการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมโทรคมนาคมทำให้ AIS ต้องมีแนวคิดที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่น โดยเฉพาะในช่วงภาวะวิกฤตที่หลายองค์กรอาจจะตัดสินใจชะลอการลงทุน เพื่อประคองให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนต่อได้ในระยะยาวแต่สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้นกับ AIS เพราะเมื่อทำธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อใดที่หยุดลงทุน และเครือข่ายมีปัญหาจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมอื่นที่พึ่งพาการสื่อสารทันที ด้วยเหตุนี้ AIS จึงทุ่มงบประมาณกว่า 4 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายโครงข่ายในช่วงโควิด-19
นอกเหนือจากการขยายโครงข่ายแล้ว อีกสิ่งที่ AIS พยามเฟ้นหาอยู่คือ ‘ดิจิทัลเซอร์วิส’ ที่จะเป็นบริการให้คนไทยใช้งานกัน โดยไม่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างชาติ ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะได้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ AIS กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ที่ทำลายล้างทุกสิ่ง ในมุมมองของ AIS เห็นว่าเป็นโอกาสที่จะสร้างแต้มต่อในการดำเนินธุรกิจ เพราะ 1.ในยามนี้พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนเป็นดิจิทัลไลเซชั่นมากขึ้น และ 2.ปีนี้เอไอเอสลงทุนสูงมากระดับ 3.5 - 4 หมื่นล้านบาท จากปกติที่ลงทุนปีละประมาณ 1.5 - 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งที่ผ่านมาเอไอเอสเคยลงทุนระดับ 4 หมื่นล้านบาทเมื่อตอนสมัยประมูล 3G ความถี่ 2100 MHz ในวันที่เปลี่ยนการดำเนินธุรกิจจากระบบสัญญาสัมปทานเดิมเป็นระบบใบอนุญาต อย่างเช่นการลงไฟเบอร์ออปติกใหม่หมด เพื่อทดแทนสิ่งที่ส่งมอบให้ทีโอที
'ปีนี้ผมลงทุน 4 หมื่นล้านบาท ในเชิง AIS เรามองว่านี่คือโอกาสมาก ในยามที่คนหยุดลงทุนหมดเลย เราจำเป็นต้องลงทุน เพราะ 1.ในฐานะเป็นลีดเดอร์ด้านอินฟราสตรักเจอร์ ถ้าเราไม่ลง ช่วงวิกฤตหากปล่อยเน็ตเวิร์กติดๆ ขัดๆ ไม่ใช่เราตายคนเดียวแต่อุตสาหกรรมอื่นที่ต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มเราก็ตายด้วยแล้วจะดึงลงไปหมดเลย 2.มีคำถามว่าลง 5G วันนี้แล้วมันคุ้มหรือไม่ เพราะอุปกรณ์ 5G แพงกว่า 4G ถึง 2-3 เท่า แต่มันสามารถให้คาปาซิตี้มากกว่า 6-10 เท่า อุปกรณ์ 5G วันนี้ใช้คลื่น 2600 MHz ซึ่งมันสามารถใช้ 4G ได้ด้วย ผมปล่อยสัญญาณ 2600 MHzไป ถึงไม่มีสมาร์ทโฟน 5G แต่ถ้ามีสมาร์ทโฟน 4G ก็ใช้ได้ สมาร์ทโฟนลูกค้า AIS วันนี้ 60% เป็น 4G 2600 MHz วันนี้จะเป็นวันที่เห็นความแตกต่าง ยิ่งมีคนใช้มาก ยิ่งเห็น เน็ตเวิร์กที่ผมลง 5G แต่เป็น 4G Enabler ด้วยทำให้ผมเซฟได้ และ 3.ถ้า 5G เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด ผมจะได้เปรียบมากกว่าเพราะ AIS กล้าเสี่ยงลงทุน’
การลงทุน 4 หมื่นล้านบาทในปีนี้รวมทั้งการขยายเน็ตเวิร์ก 5G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศทั้ง 77 จังหวัด เกิดขึ้นได้ภายหลังการประมูลความถี่ 5G เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่ 'สมชัย' บอกว่ามีความสุขมากที่สุดเพราะเป็นวันที่ AIS ปลดล็อกจุดอ่อนที่เคยมีมาในอดีตจากการทำธุรกิจภายใต้คลื่นความถี่ที่มีจำกัดมายาวนานมาก ตั้งแต่สมัยคลื่น 900 MHz
'วันนี้เรามีคลื่นเต็มเลย อาวุธครบมือ แต่ถ้าโควิดมาแล้วหมอบ เราจะเก็บอาวุธไว้ในคลังทำไม ต้องเอาออกมาใช้'
ในเชิงคอร์บิสสิเนสของ AIS วันนี้อยู่ในจุดที่น่าพอใจไม่ว่าจะเป็นเน็ตเวิร์กโมบาย, ไฟเบอร์ บรอดแบนด์ และกลุ่มลูกค้าองค์กร แต่สิ่งที่ 'สมชัย' คิดว่ายังมองไม่เห็นภาพที่ชัดเจนคือบริการดิจิทัลหรือดิจิทัล เซอร์วิส จากที่เคยระบุว่ามี 4 เรื่องที่จะทำคือเรื่องโมบายมันนี่ เรื่องวิดีโอหรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เรื่องเกม และเรื่อง IoT ซึ่งปัจจุบันอยู่ในลักษณะแค่ 'ทำได้แต่มีบริการ ถือได้ว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ'
ในช่วงโควิด-19 สิ่งที่เกิดขึ้นและเห็นได้ชัดเจนคือพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปรับกระแสชีวิตดิจิทัลมากขึ้น จากความคิดที่เชื่อว่าดิจิทัล เซอร์วิสหากจะเกิดขึ้นได้ต้องประกอบด้วย 2 ส่วนคือเทคโนโลยีและความพร้อมของคน ซึ่งมักพูดว่าเทคโนโลยีพร้อมแล้วมีแพลตฟอร์มต่างๆ นานา แต่คนไม่ค่อยพร้อมไม่ยอมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง
แต่พอเกิดโควิด-19 จะเห็นพฤติกรรมคนเริ่มเปลี่ยนไปเริ่มเปลี่ยนแปลง แต่คำถามที่ตามมาคือทำไมไม่ใช้ของ AIS แต่คนไปใช้เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูป ทั้งๆที่มี AIS Play อย่างกรณีคนดูยูทูป 90% ดูคอนเทนต์ไทย ทำไมคนดูคอนเทนต์ไทย ที่ LINE TV มากกว่า AIS PLAY
'วันนี้ความยากในการทำดิจิทัล เซอร์วิสของเราคือ 1.อะไรที่ลูกค้าอยากได้ และ 2.ทำอย่างไรถึงจะรู้จักลูกค้าที่อยากได้จริงๆ’
'สมชัย' แก้ปัญหาเรื่องดิจิทัล เซอร์วิสด้วยการจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาตอบคำถามว่าภายใต้เป้าหมายการเป็นดิจิทัล เซอร์วิสของ AIS ต้องทำอะไรบ้าง เช่น การซื้อบริษัท หรือการทำซูเปอร์แอป หรือ การทำ A หรือ B เพื่อให้ได้บริการที่ทำให้ชีวิตผู้คนดีขึ้น ตอบคำถามให้ได้ว่าคนไทยต้องการอะไรตอนตื่นขึ้นมายามเช้า
'ตอนแรกคิดว่าจ้างคอนซัลท์มาทำซูเปอร์แอป ไปดูว่าคนไทยอยากใช้อะไรเมื่อตื่นขึ้นมา แต่ผมถอยออกมาก้าวหนึ่ง อย่าเพิ่งไปด่วนสรุปก่อนว่าเป็นซูเปอร์แอป เพราะมันจะแคบลง ให้คอนซัลท์บอกเรามาว่าอยากเป็นดิจิทัล เซอร์วิส ภายใต้เป้าหมายแบบเดิม ให้คนมีชีวิตดีขึ้นจากเซอร์วิสของเรา มันคืออะไร อาจบอกว่าให้ทำ A หรือ B ซึ่งอาจไม่ใช่ซูเปอร์แอป ก็ได้ แล้วเมื่อเกิดขึ้นมาจริงๆ อาจไม่ใช่แบบวีแชท ที่เราจิตนาการ เพราะคนไทยอาจไม่มีอีโคซิสเตมส์ใหญ่เหมือน อาลีบาบา หรือเทนเซ็นต์’
สมชัย กล่าวว่าเหมือนเรื่อง 5G กับสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่าน มายังไม่คิดว่าทำได้เลยเพราะเคยคิดเรื่องผ่าตัดทางไกล ซึ่งตอนนี้อุปกรณ์ยังไม่พร้อม หมอก็ยังไม่พร้อมเป็นแค่ทดลองทดสอบ แต่เมื่อโควิดมา 5G สามารถแอปพลายมาทำหุ่นยนต์ตรวจ วิดีโอคอล ซึ่งใช้งานได้จริง ให้คุยกับคนไข้แทนหมอ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์เพื่อลดความวิตกกังวลในการแพร่เชื้อ
ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เดิมคิดเรื่องยากๆ อย่างจะไปแข่งกับยูทูปอย่างไร แข่งกับเฟซบุ๊ก อย่างไร การจ้างคอนซัลท์มา อาจมีคำตอบง่ายๆ เหมือนกับเรื่องหุ่นยนต์นี้ก็ได้ ทำแค่นี้ก็พอคนไทยก็ใช้ ไม่ต้องไปทำสเกลใหญ่ขนาดนั้นเพราะไม่ได้ไปขายทั่วโลก ก็อาจจะมีรายได้จากตรงนี้ได้
'จากบทเรียนที่เราไปทำเรื่องสาธารณสุขมันตอบโจทย์ได้ อย่าไปคิดซับซ้อน คิดง่ายๆมันใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถทำได้ ' สมชัยกล่าวและย้ำว่า 'ไตรมาสแรกเราเจอปัญหา ไตรมาส 2 เป็นการแก้ปัญหา เราหวังว่าไตรมาส 3 จะเริ่มพลิกฟื้น ภายในไตรมาส 3 และ 4 เราต้องได้ภาพชัดเจนแล้วว่าดิจิทัล เซอร์วิสจะเป็นอย่างไร เพื่อต้นปีหน้าจะเริ่มเดิน สมมติผมตัดสินใจจะพัฒนาแอปก็ต้องเริ่มทำเลย หรือ ตัดสินใจจะซื้อบริษัทก็ต้องเริ่มทำเลย ผมยอมใช้เวลาอีก 6 เดือนคือไตรมาส 3 และ 4 เป็นช่วงการลงทุนและการพัฒนาของขึ้นมาเพื่อรอฟ้าใหม่ในปีหน้า’
***ติดอาวุธอสม. ออนไลน์ คัดกรองโควิด-19
นอกจากเดินหน้าแผนลงทุน 4 หมื่นล้านบาทในปีนี้ AIS ยังทุ่มเงินลงไปอีก 177 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับเดินหน้าสู้ภัยโควิด-19 ทั้งในเรื่องของการพัฒนาหุ่นยนต์ Robot for Care ที่เข้าไปช่วยโรงพยาบาลในการตรวจวัดอุณหภูมิคนไข้ และใช้สื่อสารระหว่างผู้ป่วย กับบุคลากรทางการแพทย์ผ่านวิดีโอคอลล์ บนเครือข่าย 5G
ขณะเดียวกัน อีกหนึ่งบทบาทสำคัญที่เป็นด่านหน้าในการตรวจคัดกรองคนไข้ และเฝ้าระวังชุมชนทั่วประเทศ จากการทำงานของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. ที่เป็น ‘นักรบเสื้อเทา’ กว่า 1 ล้าน 5 หมื่นราย ที่จะคอยสกัดกั้นการแพร่ระบาดรอบที่ 2
ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันอสม. ออนไลน์ ให้รองรับการคัดกรอง และติดตามโควิด-19 ในรูปแบบรายงานดิจิทัล ที่อสม. สามารถเข้าแอปพลิเคชันเพื่อบันทึกข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถติดตามผล ในระบบเรียลไทม์ผ่าน มือถือได้ทันที
ความพิเศษของแอป อสม. ออนไลน์ คืออสม. ที่ใช้งานเครือข่ายโทรศัพท์ใดก็สามารถใช้งานได้อยู่แล้ว การเข้าไปร่วมพัฒนาครั้งนี้ จึงไม่ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานเครือข่าย AIS แต่ต้องการเพิ่มเครื่องมือให้อสม. ได้ใช้งานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ปัจจุบัน จากจำนวน อสม. 1 ล้าน 5 หมื่นราย มีอสม. ประมาณ 60% ที่ใช้งานเครือข่าย AIS อยู่แล้ว ขณะเดียวกันสัดส่วนของการใช้งานสมาร์ทโฟนก็อยู่ที่ราว 60% เช่นเดียวกัน ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีการใช้งานดาต้าเพิ่มขึ้น ขณะที่ปริมาณการใช้งานอสม. ออนไลน์ เป็นประจำทุกวันจะอยู่ที่ราว 3.4 แสนราย
‘ด้วยรูปแบบของการทำอสม.ออนไลน์ ไม่ได้จำเป็นที่ต้องให้อสม.ทุกคนมีสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เพราะบางชุมชนจะให้หัวหน้าอาสาสมัครเป็นผู้กรอกข้อมูลให้ ทำให้เกิดความสะดวกและอสม.ได้เรียนรู้ไปด้วยกัน’
ทำให้นอกจากการพัฒนาแอป ให้รองรับการติดตามเชื้อโควิด-19 แล้ว AIS ยังมีการเพิ่มโครงการอย่าง ‘ซิมฮีโร่’ ที่จะส่งมอบซิมการ์ดพิเศษที่สามารถใช้งานแอป อสม.ออนไลน์ได้ไม่จำกัดที่ความเร็ว 1 Mbps และใช้เน็ตได้ที่ความเร็ว 128 kbps ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้แชท สื่อสารระหว่างกัน ฟรี เป็นเวลา 1 ปี
จุดประสงค์ของการมอบซิมฮีโร่เพื่อที่จะใช้ประโยชน์ของ การนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ทันที ซึ่งในกรณีที่พบเจอชุมชนที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ ก็จะสามารถติดตามหาผู้ที่มีความเสี่ยงได้ทันท่วงทีมากขึ้น ทำให้การแพร่ระบาดในระยะที่ 2 ไม่รุนแรง ทั้งนี้ การกระจายซิมฮีโร่จะจัดส่งไว้ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อที่จะแจกจ่ายให้ อสม. ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มสิทธิประกันภัยโควิด-19 ให้แก่นักรบเสื้อเทา ที่ใช้งานซิม AIS สามารถรับประกันภัยคุ้มครองระยะเวลา 30 วัน ที่จะคุ้มครองกรณีเสียชีวิตทุกกรณี 50,000 บาท และชดเชยรายวัน 400 บาท สูงสุดไม่เกิน 15 วัน เมื่อติดเชื้อไวรัสโควิด-19
โครงการต่างๆ เหล่านี้ ถูกนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ เพราะทุกคนต่างรู้ว่า ถ้ามีการแพร่ระบาดรอบที่ 2 จะส่งผลกระทบกับทุกอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ดังนั้น บทบาทของ อสม. จึงกลายเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยหยุดยั้งการแพร่ระบาดได้ นอกเหนือจากความร่วมมือของคนไทยทุกคน
"มันใช้งานได้" - Google News
May 28, 2020 at 08:08AM
https://ift.tt/2AbDeBd
ส่องแนวคิด 'CEO AIS' ถึงเวลาแจ้งเกิด 'ดิจิทัลเซอร์วิส' - ผู้จัดการออนไลน์
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ส่องแนวคิด 'CEO AIS' ถึงเวลาแจ้งเกิด 'ดิจิทัลเซอร์วิส' - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment