Search

หยุดทำสิ่งที่ชอบ เพื่อทำสิ่งที่รัก!! จาก "หมอเจ้าสี่ขา" สู่ "นักคืนชีพรถโบราณ" มือฉมัง - ผู้จัดการออนไลน์

soho.prelol.com


“สิ่งที่ชอบมีได้เป็นร้อยเป็นพันอย่าง แต่สิ่งที่รักมีอย่างเดียว” เปิดใจ “หมอโดม รถนิยม” อดีตหมอรักษาสัตว์ ที่ตัดสินใจเลือกทำในสิ่งที่รัก คือการเป็นนักบูรณะรถโบราณ คืนชีพรถเก่าให้กลับมาโลดแล่นอีกครั้ง อีกทั้งนำซากรถมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์สุดเก๋ “ไม่จำเป็นต้องออกมาบนถนน ความทรงจำมันก็จะอยู่กับงานที่เราสร้าง”
จากหมอรักษาสัตว์ สู่หมอซ่อมรถคลาสสิค
“100 เปอร์เซ็นต์เราใช้ชีวิตอยู่กับรถ อยู่กับงานศิลปะเกี่ยวกับยานยนตร์ เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์ มีรายการทีวี ในยูทูปแต่ลงไม่บ่อย การทำรถมันไม่เหมือนรายการสำเร็จรูป เราต้องเรียล เราทำคนเดียว ทำไปด้วยถ่ายไปด้วย ทำชีวิตให้เหมือนกลับไปเป็นเด็กทุกวัน หาความรู้ทุกวัน”หนุ่มแว่นมาดเท่ ในชุดช่างเครื่องดูทะมัดทะแมง ผู้เบื้องหน้าทีมข่าว คือ “หมอโดม - นายสัตวแพทย์สุทธิพงศ์ คนใหญ่” แห่ง Dogtor Garage เจ้าของฉายา “หมอหมาบ้ารถเก่า ผู้ซึ่งเป็นอดีตสัตวแพทย์ที่ผันตัวมาเอาดีด้านการบูรณะรถคลาสสิคอย่างเต็มตัว
สำหรับเส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ เขาประกอบอาชีพเป็นนายสัตวแพทย์ ด้วยความที่หลงใหลในศาสตร์แห่งยนตรกรรมเป็นทุนเดิม เขาทำงานด้านนี้เพียงแค่ 2 ปี ก็ตัดสินใจหันหลังให้งานด้านการแพทย์ เพื่อเข้าสู่วงการซื้อ-ขายรถโบราณ
ประกอบกับการได้เจอซากรถเก่าที่ไม่สามารถซ่อมได้และรู้สึกเสียดาย จึงลองนำมาผสมไอเดีย ปรับเปลี่ยนเป็นเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เก๋ ทั้งโซฟา โต๊ะทำงาน เตียงนอน และอีกมากมาย จนเป็นที่มาอีกหนึ่งธุรกิจของหมอโดม คือ Dogtor Garage จำหน่ายเฟอร์นิเจอร์รถโบราณมาจนถึงทุกวันนี้ผ่านมากว่า 10 ปี มีชิ้นงานผ่านมือไปแล้วนับพันคัน!
นอกจากงานด้านบูรณะรถ และทำรายการ “รถนิยม” ทางยูทูปแล้ว ตอนนี้ หมอโดมยังซุ่มเขียนคัมภีร์ ถ่ายทอดความรู้และมุมมองด้านการเล่นรถโบราณของเขาอยู่อีกด้วย“พื้นฐานที่บ้านเป็นโรงพิมพ์ แล้วเราอยากมีหนังสือเป็นของตัวเอง เราเป็นคนบ้าหนังจีน อยากทำเป็นคัมภีร์จีน ชื่อ คัมภีร์เล่นรถเก่า จากประสบการณ์ที่เราทำมาทั้งชีวิต เขียนเป็นบทความ เก็บไว้ได้ประมาณ 30 บทแล้ว เขียนทุกอย่างเกี่ยวกับรถ เราอยากตีพิมพ์ออกมา ณ วันที่สื่อหนังสือมันหายไปแล้วส่วนใหญ่จะไม่ลงดีเทลเกี่ยวกับงาน จะเป็นบอกเล่าทัศนคติสำหรับคนเล่นรถ มันจะมีบทนึงที่เล่าว่า เราเรียนรู้มาจากอาจารย์ท่านนึง เขาบอกว่ารถจะเป็นแบบไหนให้ดูเจ้าของอู่ ดูลูกน้องในอู่ เครื่องมือเขาเก็บแบบไหน เป็นระเบียบแค่ไหน มีวินัยกับสิ่งที่เขาทำแค่ไหน รถคุณก็ออกมาแบบนั้นแหละ หรือแม้กระทั่ง เราจะเป็นคนบูรณะรถ ไม่ใช่เฉพาะเราที่เป็นคนเลือกอู่ ผู้ประกอบการเองก็เช่นกัน ทัศนคติเรื่องรถเก่ามันต้องตรงกันก่อน มันถึงสามารถเกิดชิ้นงานที่ดีได้เมื่อก่อนเราต้องไปหาความรู้จักคนที่เขารู้จริงๆ ผู้ชำนาญการ กูรู หรือไม่ก็หนังสือต่างประเทศ แต่วันนี้ข้อดีของยุคที่มันมีสื่ออินเตอร์เน็ตแล้ว โลกมันหมุนตาม เราก็พยายามอัปเดตความรู้ของเราตลอด พยายามเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว เก็บเกี่ยวและถ่ายทอดออกไป จะเขียนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดลมหายใจแม้ปัจจุบันชีวิตของเขาจะไม่ได้ทำงานตามสายอาชีพที่ร่ำเรียนมาแล้ว แต่ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นสัตวแพทย์ หมอโดมจึงคอยช่วยเหลือสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยากอยู่เสมอ“เราอาจจะไม่ได้ไปทำงานเป็นสัตวแพทย์ที่ได้ช่วยเหลือสัตว์ แต่จิตวิญญาณเหล่านี้ที่อยู่ในตัว เราเป็นคนชอบเลี้ยงสัตว์ เราเจอพวกนั้นก็เก็บมารักษาจนกว่าจะหาย ช่วยเหลือสุนัขพิการ มีเลี้ยงหมาพันธุ์ทาง ชื่อขุนเรืองถ้าเกิดผมตายอาจจะบอกภรรยาไว้ว่า ไม่ต้องส่งพวงหรีดนะ ไม่ต้องช่วยงาน ให้ซื้ออาหารหมาคนละถุงไว้ในงานผม เอาไปบริจาคให้หมาจรจัดที่มันไม่มีกิน แค่นั้น ทดแทนสิ่งที่เราอยากทำในวิชาชีพที่เราเคยเรียน หรืออาจจะทำรถบางคันไว้แลกกับอาหารหมา ตายไปก็เก็บรถไว้ไม่ได้เคยคิดเล่นๆ ยังไม่ได้บอกภรรยาเหมือนกัน
เจาะเบื้องหลังผลงาน 1 คน 1 ชิ้นงานในโลก!
“บางคนบอกเหมือนงานซ่อมรถธรรมดา แต่ผมจะบอกว่าไม่เหมือน เพราะแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน มูลค่าจิตใจมันประเมินค่าไม่ได้ ถ้าเราจะทำรถให้ใครซักคนนึงเราจะสื่อไปให้ถึง เราจะทำอันนี้ให้คุณ”หมอโดมเล่าต่อว่า รถแต่ละคัน ผลงานเฟอร์นิเจอร์แต่ละชิ้นที่ตกผลึกจากไอเดียของเขา ไม่ได้ผ่านไปแค่พอให้แล้วๆ แต่ทุกชิ้นต้องผ่านการเก็บข้อมูลจากคนที่อยากเปลี่ยนแปลงรถคันนั้นๆ อย่างละเอียด จนออกมาเป็นผลงานที่สื่อถึงคาแรคเตอร์ของคนนั้นเพียงชิ้นเดียว
“ส่วนใหญ่ในวิธีการทำงานของผม ผมบอกเสมอว่าผมไม่ใช่อู่รถ ไม่เห็นใครเป็นลูกค้า เราต้องรักเขาก่อน ทำแล้วทัศนคติไม่ตรงกันเราไม่ทำดีกว่า เราให้การทำรถเก่าของเราเหมือนการเขียนรูป เราทำให้ใครเราอ่านคาแรกเตอร์ของเขา เขามี Lifestyle แบบไหน ครอบครัวเป็นยังไง อ่านทุกอย่าง เราก็ถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นกลับไปในงานของเรางานพวกนี้มันไม่ใช่แค่รถอย่างเดียวนะ สมมติทำงานให้ชิ้นนึง ผมอาจจะไปหารถรุ่นนั้นมาแต่เป็นซากมาเลย เคยมีเด็กคนนึงประมาณ ม.4 ติดต่อเข้ามาในรายการ จะทำเฟอร์นิเจอร์ อยากมีโต๊ะทำงาน ผมบอกน้องใจเย็นๆ ไปเรียกพ่อแม่มาก่อน ดูแล้วไม่ใช่ตังค์ตัวเองแน่นอน ก็ให้ไปเรียกพ่อแม่มา เขาบอกว่าไปซื้อโต๊ะม็อกอัปรถหรูให้ลูกไว้ทำการบ้าน ค่อนข้างมีฐานะ ลูกเขาไม่เอา เขาจะมาหาพี่คนนี้เพื่อให้พี่เขาสร้างงานให้เขาผมก็คุยกับเขาไปเรื่อยๆ เรามีความทรงจำยังไง เขาบอกว่าเขาเคยนั่งเบนซ์คันนี้ของตาเขาไปโรงเรียน แล้วตาเขาเสีย เขาคิดถึง ผมก็เลยโอเค จะเก็บความทรงจำ ก็ไปหาซื้อรถรุ่นเดียวกับคุณตาเขาแล้วทำสีให้เหมือนทุกอย่าง เพื่อที่จะเป็นโต๊ะทำงาน ให้เขานั่งทำงานแล้วจะนึกถึงตาเขาตลอด เป็นเฟอร์นิเจอร์ชิ้นนึง”
หมอหมาบ้ารถเก่า ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การบูรณะรถเก่านั้นแม้บางคันจะไม่สามารถใช้งานในรูปแบบของรถยนต์ได้อีกแล้ว แต่มันก็สามารถโลดแล่นอยู่ในความทรงจำได้อีกครั้ง“ไม่จำเป็นต้องออกมาบนถนน เก็บความทรงจำนั้นไว้กับเรา เห็นมันอยู่ในเรื่องราวชีวิตตลอด ไม่ว่าจะอยู่ในมุมไหน มันมีชิ้นเดียวในโลกด้วยไง ความทรงจำมันก็จะอยู่กับงานชิ้นนั้นที่เราสร้าง บางคนได้ไปน้ำตาไหล บอกขอบคุณมาก ไม่มีใครสร้างชิ้นงานแบบนี้ให้เขา เรามองผ่านจากเขาให้ออกมาเป็นงานที่เป็นคาแรกเตอร์เขาแค่คนเดียว เพราะฉะนั้น 1 คนจะมี 1 ชิ้นงาน 1 คาแรกเตอร์ของเขาคนนั้น มันก็จะมีคุณค่า มีพลัง”
3 สิ่งที่ต้องบาลานซ์ “เงิน-เวลา-ความรัก
“ถ้าจะหาสิ่งที่รัก เลือกจากสิ่งที่ชอบ ทุกวันนี้ทำอะไรแล้วอยู่ได้นาน ทำแล้วรู้สึกว่าไม่อยากกลับบ้าน อยากจะพัฒนา อยากจะอยู่กับมันไปเรื่อยๆ แล้วไม่รู้สึกว่าอันนี้เป็นงาน อันนั้นคือมีความสุขแล้ว”สิ่งที่กำลังจะกล่าวต่อจากนี้ คือข้อคิดจากอดีตสัตว์แพทย์ ที่ตัดสินใจเลือกเดินเส้นทางที่ตนเองรักอย่างไม่ลังเล สิ่งที่เลือกนั้นยังสามารถสร้างรายได้ ตลอดจนสร้างความสุขให้กับเขาอีกด้วย“3 อย่างคือ เงิน เวลา ความรัก 1.เราเลี่ยงไม่ได้หรอกชีวิตเราทุกอย่างมันหล่อเลี้ยงด้วยเงิน ใครบอกเงินไม่สำคัญผมเถียงเลยนะ มันโคตรสำคัญเลย 2.เวลา มันผ่านไปตลอด ชีวิตมนุษย์ 20,000 กว่าวัน 3.ความรัก แม้กระทั่งเรื่องรถผมก็เอา 3 อย่างนี้เป็นตัวบอกว่าต้องบาลานซ์มัน
สิ่งที่ชอบมีได้เป็นร้อยเป็นพันอย่าง แต่สิ่งที่รักมีอย่างเดียว มันอยู่กับเราตลอดแล้วก็มีความสุขกับมัน มันเป็นสารตั้งต้นของการหล่อเลี้ยงชีวิตเราได้ด้วย ถ้าเราออกจากบ้านแล้วไม่ได้รู้สึกว่าทำงาน อันนั้นแหละเราจะมีความสุข เหมือนมาเล่นอะไรบางอย่างโดยที่ไม่ต้องมีกรอบ ลองคิดดูนะถ้าเรามีเงิน มีเวลาด้วย เรารักรถด้วย มันเพอร์เฟคนะ ตอนนี้มีความสุขกับการทำของเรา”เรามีความสุขทุกวันนะ ชีวิตผมไม่รู้ว่าล้มเหลวมันเป็นยังไงเพราะเราไม่ล้มเลิก เดี๋ยววันนึงผมเชื่อว่าจะได้เจอ ได้ศึกษา ได้เรียนรู้ สถาบันที่ดีที่สุดคือครอบครัว ไม่ต้องไปดิ้นรนหาพลังอย่างอื่นหรอก กลับมาที่บ้าน เลยต้องแยกบ้านกับโรงรถ เพราะไม่อย่างนั้นผมจะทำไม่หยุดจนกว่าจะหมดแรง”เมื่อบทสนทนาดำเนินมาถึงช่วงสุดท้าย ในฐานะที่หมอโดมก็เป็นอีกคนหนึ่งที่อาจเรียกได้ว่า ประสบความสำเร็จในการใช้ชีวิต เขาจึงใช้โอกาสนี้ ฝากข้อคิดไปยังน้องๆ ที่เกิดยุคที่เข้าถึงสื่อโซเชียลฯ ในการหาความรู้ได้อย่างสะดวก แต่อีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน คือการประพฤติตัวที่ดีงาม
“ยุคโซเชียลฯ ความรู้อยู่ในอากาศ โซเชียลฯมันอำนวยความสะดวกกับเราในทุกๆ ด้านของชีวิต แต่สิ่งนึงที่เด็กๆ หรือเยาวชนไม่ควรลืม สิ่งที่โซเชียลฯสอนไม่ได้คือ กิริยามารยาท การอยู่ในสังคม ต้องเรียนรู้และฝึกสมอง 2 ด้านทั้งไอคิว และอีคิว ถ่ายทอดออกมาให้มันอยู่ในกรอบที่ดีเรื่องที่ 2 โซเชียลมีเดีย ใช้ด้วยความระมัดระวัง ใช้ด้วยความรอบคอบ ทุกสิ่งที่มันอยู่ในโซเชียลฯของเรา มันสะท้อนตัวเราเหมือนไดอารี่เล่มนึง บางคนด่านู่นนี่ แล้วใช้คำพูดว่าก็มันของเรา เรามีสิทธิจะเขียน แต่นั่นคุณพยายามจะสื่อออกไป ผมจะบอกว่าเราเป็นแบบไหน สิ่งที่ออกมาในโซเชียลฯก็เป็นแบบนั้น เพราะฉะนั้นเลือกในสิ่งดี เลือกในความทรงจำดีๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม แล้วเราจะอยู่ในโลกที่มันไวแบบนี้ได้อย่างมีความสุข

สัมภาษณ์ : รายการ "พระอาทิตย์ Live"เรียบเรียง : ผู้จัดการ Liveเรื่อง : กีรติ เอี่ยมโสภณขอบคุณภาพ : เพจเฟซบุ๊ก “หมอโดม รถนิยม”




** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **

Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
May 08, 2020 at 05:12PM
https://ift.tt/3ftPsVP

หยุดทำสิ่งที่ชอบ เพื่อทำสิ่งที่รัก!! จาก "หมอเจ้าสี่ขา" สู่ "นักคืนชีพรถโบราณ" มือฉมัง - ผู้จัดการออนไลน์
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "หยุดทำสิ่งที่ชอบ เพื่อทำสิ่งที่รัก!! จาก "หมอเจ้าสี่ขา" สู่ "นักคืนชีพรถโบราณ" มือฉมัง - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.