Search

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'ฟิล์มกระจก' ภูมิมรดกโลกเรื่องราวเหนือกาลเวลา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

soho.prelol.com

วันอาทิตย์ ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563, 06.00 น.

พระเจ้าลูกเธอฯ อุรุพงษ์รัชสมโภช

วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมศิลปากร ได้เปิดให้ทุกคนมีโอกาสชมนิทรรศการ “ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา” ซึ่งเป็นงานสร้างสรรค์ให้ภาพเก่าจากฟิล์มกระจกนั้นมาเล่าเรื่องราวประเทศไทยในอดีต ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔-๗ ผ่านภาพถ่ายฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณที่องค์การยูเนสโก ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกความทรงจําแห่งโลก (Memory of the World) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๐ โดยมี ท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน เจ้าของโครงการ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากรและผู้เกี่ยวข้องร่วมกันจัดงานนี้เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลา ที่ชั้น ๘ ของหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร นับเป็นการเผยแพร่ความเป็นฟิล์มกระจกให้เป็นเอกสารจดหมายเหตุประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นฟิล์มชนิดหนึ่งที่มีทั้งภาพเนกาทีฟและโพสซิทีฟอยู่บนแผ่นกระจก เป็นหนึ่งในวิทยาการด้านการถ่ายภาพที่นิยมกันในช่วง พ.ศ.๒๓๙๕-๒๔๗๒ ทุกแผ่นนั้นล้วนเป็นภาพบันทึกเรื่องราวตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีความสำคัญด้านข้อมูลผ่านมุมมองของผู้บันทึกภาพแทนเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งมีภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศ์ ขุนนางและช่างภาพ อันสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่บุคคล สถานที่ และเหตุการณ์สำคัญในอดีต

การศึกษาเริ่มแรก

นิทรรศการครั้งนี้ได้คัดเลือกภาพถ่ายจากหนังสือ “ฟิล์มกระจกจดหมายเหตุ หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์” เล่ม ๒ร่วมกับภาพถ่ายชุดอื่นโดยออกแบบเนื้อหาและนําเสนอเป็นนิทรรศการ รวมทั้งสิ้น ๑๐๒ ภาพ แบ่งเป็น ๔ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ปฐมบรรพ เป็นเรื่องการเสด็จประพาสหัวเมืองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์และการเสด็จประพาสต้นซึ่งเป็นการเสด็จพระราชดําเนินส่วนพระองค์ที่ทำให้พระองค์ทรงใกล้ชิดราษฎรและทราบทุกข์สุขของประชาชน ส่วนที่ ๒ ทุติยบรรพ เป็นเรื่องของสยามในยามสุขสงบที่เป็นรอยต่อของกาลเวลา เป็นภาพวิถีชีวิตปกติของผู้คนในกรุงเทพฯ และบ้านเมือง ส่วนที่ ๓ ตติยบรรพ เป็นเรื่องราวของตะวันออกบรรจบตะวันตกที่สะท้อนบทบาทของชาวตะวันตกที่ส่งผลต่อการปรับปรนของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงรัชกาลที่ ๗ และส่วนที่ ๔ จตุตถบรรพ เป็นเรื่องราวที่ประเทศเร่งรุดไปข้างหน้า ที่สะท้อนให้เห็นถึงการรับอิทธิพลของชาติตะวันตกจนสยามประเทศเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการสร้างและเชื่อมโยงระบบเส้นทางรถไฟ ที่นําไปสู่การปฏิรูปการปกครอง เศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว 

ขนสัมภาระลงเกาะตะวันออก

นิทรรศการ “ฟิล์มกระจก : เรื่องราวเหนือกาลเวลา” หลังจากพิธีเปิดนิทรรศการในวันพฤหัสบดีที่ ๙ กรกฎาคม แล้วก็จะเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ ๑๐ กรกฎาคม-๒๐ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๐.๐๐-๑๖.๓๐ น. ทุกวัน(ยกเว้นวันจันทร์) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และยังได้จัดให้ประชาชนทั่วประเทศได้มีโอกาสชมนิทรรศการที่น่าสนใจในครั้งนี้อย่างทั่วถึงจึงจัดทำเป็นนิทรรศการออนไลน์แบบเสมือนจริงให้ชมผ่านเว็บไซต์ของหอจดหมายเหตุแห่งชาติประเด็นที่น่าสนใจในการสร้างสรรค์ภาพฟิล์มกระจกที่มีขนาดเล็ก จากเดิมนั้นใช้วิธีวางฟิล์มกระจกทาบบนแผ่นกระดาษและใช้แสงผ่านให้เป็นภาพเท่าแบบ วันนี้ได้มีการพัฒนานำฟิล์มกระจกไปขยายเป็นภาพขนาดใหญ่โดยยังมีความชัดมหัศจรรย์จนสามารถสร้างการเรียนรู้ใหม่ และเปิดความละเอียดของภาพให้ค้นหาความหมายได้มากขึ้น ดังนั้น การเก็บเรื่องราวในอดีตจึงเหนือกาลเวลาให้เรียนรู้ และแบ่งปันข้อมูลให้น่าสนใจที่ทุกคนสามารถค้นหาได้เอง โดยช่วยกันสืบค้น รักษา สืบสานต่อยอด เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ วิถีสังคมและเหตุการณ์ในอดีตได้ชัดเจนขึ้น เป็นการยืนยันความทรงจำและเป็นมรดกสำคัญที่หาได้ยากในโลก ให้เป็นข้อมูลที่จูงใจนำพาให้เกิดการเที่ยวตามรอยภาพในอดีต โดยเฉพาะการตามรอยพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช พระราชโอรสองค์น้อยผู้สนิทเสน่หาที่โดยเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๕ ไปทุกแห่ง

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
July 05, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/2BDtVuN

ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'ฟิล์มกระจก' ภูมิมรดกโลกเรื่องราวเหนือกาลเวลา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ภูมิบ้าน ภูมิเมือง : 'ฟิล์มกระจก' ภูมิมรดกโลกเรื่องราวเหนือกาลเวลา - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.