Search

“หรีดหนังสือ ทางเลือกใหม่ให้ผู้วายชนม์” ให้โอกาส-พัฒนาอาชีพ แก่คนในสังคม [มีคลิป] - ผู้จัดการออนไลน์

soho.prelol.com


ส่งต่อความดีครั้งสุดท้ายแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ผ่าน “ปันการดี หรีดหนังสือ” พวงหรีดสร้างสรรค์สังคม ในรูปแบบหนังสือด้วยกระดาษรีไซเคิล “มอบโอกาส-พัฒนาความรู้คนด้อยโอกาส” ส่งต่อความดีอุทิศกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ บนเส้นทางที่หาได้ยากในสังคมไทย



ปั้นความดี ผ่าน “หรีดหนังสือ”


“มันจะเป็นเรื่องยากที่เราจะเดินไปบอกเพื่อนว่า แกซื้อหรีดฉันหน่อยสิ…มันจะต้องมีวิธีพูด ตามโอกาส มันเป็นเรื่องถ้าจะต้องใช้หรีด มันมีหรีดทางเลือกแบบนี้นะ”

“ชื่น-ชื่นกมล ศรีสมโภชน์” 1 ใน 3 ผู้บริหาร “ปันการดี หรีดหนังสือ” เปิดใจถึงการทำ “หรีดหนังสือ” ที่สามารถแบ่งปันความดี ปันความรู้ สู่การให้อย่างยั่งยืน

ทว่า หนึ่งคำถามที่หลายคนต่างสงสัย คือ หรีดหนังสือที่ว่านี้ เป็นการนำหนังสือมาประดับพวงหรีด หรือหนังสืออยู่ในส่วนไหนของพวงหรีด ซึ่งชื่นได้ช่วยอธิบาย ปนรอยยิ้มเล็กๆ ให้ฟังทันที “หลายคนจะชอบถามว่าหนังสืออยู่ไหน”

โดยความจริงแล้ว ตัวหนังสือทางปันการดี จะทำหน้าที่นำไปส่งให้ที่มูลนิธิฯ หรือองค์กรเอง


“มุก-ไข่มุกข์ ปั้นแตง” "ชื่น-ชื่นกมล ศรีสมโภชน์" และ “เฟี้ยต-ธัชนนท์ จารุพัชนี” ที่มีฝันอยากทำธุรกิจสร้างสรรค์สังคม เพื่อนๆ อยู่ในวงการหนังสือ ซึ่งมีความเชื่อตรงกันว่า หนังสือเป็นเครื่องมือที่จะพัฒนา และการให้ความรู้คือการพัฒนาอย่างยั่งยืนในสังคมแห่งนี้ต่อไปได้

“คือ ปันการดี ชื่อก็บอกอยู่แล้วค่ะ เพราะว่าเอาเรื่องดีๆ ใครก็ทำได้ ชื่นเคยคุยว่าเป็นคนเห็นแก่ตัวมาก เพราะว่าอยากเป็นเรื่องดีๆ รอบตัวเอง เพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่สุด คือ ถ้าเราทำดีๆ ในวงเล็กๆ ของเรา รอบตัวเราได้ เราก็จะรู้สึกปลอดภัย

เพราะรอบตัวเรามีแต่เรื่องดีๆ และถ้ามันขยายวง คนอื่นทำอย่างนี้ด้วย มันก็จะมีแต่เรื่องดีๆ ต่อยอดขึ้นไปเรื่อยๆ พอเรารู้สึกว่ารอบตัวเราปลอดภัย เราอยู่ที่ไหนก็ได้อย่างนี้ค่ะ”


เช่นเดียวกับ มุก-ไข่มุกข์ ปั้นแตง บอกเล่าให้ฟังว่า เพราะเคมีที่อยากขับเคลื่อนทำสิ่งดีๆ กลับคืนสังคม จึงทำให้ธุรกิจพวงหรีดหนังสือเกิดขึ้น

“ต้องบอกว่าพื้นฐานของเรา 3 คนว่าเราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ เคมีตรงกัน 1 และ 2 คือว่า เคมีตรงกันแง่ที่ว่าเราชอบทำสิ่งดีๆ ให้แก่สังคม

เราเคยคุยกันว่าถ้าวันหนึ่งเราได้ทำธุรกิจด้วยกัน เราอยากจะทำธุรกิจอะไรก็ได้ที่มันคืนกลับให้แก่สังคม เป็นธุรกิจที่สร้างสรรค์

เราสร้างสรรค์สังคมให้มันดีขึ้น จนถึงวันหนึ่งเราได้มีโอกาสได้ทำงานงานๆ หนึ่งด้วยกัน คือ โครงการหรีดหนังสือ ของสมาคมผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์และผู้จัดหน่ายแห่งประเทศไทย ที่ทำงานหนังสือ

เราก็รู้สึกว่าโครงการนี้ดีจังเลย แต่ว่าเราอยากจะเอาคอนเซ็ปต์นี้มาใช้ แต่มาในแนวของเรา อย่างมุกข์กับชื่นก็ได้ทำอยู่ในวงการหนังสืออยู่แล้ว ได้ทำอะไรหลากหลาย มีโครงการหนึ่งที่เราชอบ คือ ชื่อหนึ่งอ่านล้านตื่น แล้วในหนึ่งอ่านล้านตื่นมันมีโครงการย่อย คืนหนังสือตรงใจ

คือ การรณรงค์ให้บริจาคหนังสือใหม่ และเป็นหนังสือที่ผู้อ่านอยากอ่าน คือ ผู้รับมีสิทธิเลือกหนังสือนั้นๆ พอคุยกัน 3 คน ขอเอา 2 โครงการนี้มาบวกกัน กลายเป็นหรีดหนังสือปันการดี หรีดหนังสือก็เลยเกิดขึ้นมา ณ วันนั้น”


“อย่างแรกพวงหรีดเป็นสิ่งที่ใช้กันมานาน แต่เดิม คือ ดอกไม้ที่สร้างความชูใจ หรือให้กำลังใจคนที่ยังอยู่ คือ ญาติพี่น้องเขาที่จัดงานศพ อย่างที่ 2 คือ เราเอาพวงหรีด เข้าไปแทนเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยการใช้ดอกไม้ การเป็นขยะที่ต้องกำจัดทีหลัง

พวงหรีดเป็นรีไซเคิลก็รีไซเคิลต่อได้มากครับ อย่างที่ 3 ได้ประชาสัมพันธ์ด้วยว่าเรามีโครงการดีๆ อย่างนี้เกิดขึ้น เพราะหน้าหรีดจะเขียนไว้อยู่ ว่าเราอุทิศกุศล เหมือนเป็นการทำบุญครั้งสุดท้ายให้แก่ผู้ล่วงลับ

เป็นการต่อชีวิต และสร้างโอกาส พัฒนาคน ในขณะที่เขาจากไปแล้ว เขาทิ้งความดีไว้เยอะแยะมมากมาย ด้วยการใช้หรีดเหล่านี้ พอเรามาทำงานพวงหรีดนี้ เราไปงานศพกันอย่างบ่อยๆ เรารู้สึกว่าเอาเข้าจริงๆ ถ้ามันเป็นอย่างนี้ งานศพจะไม่ใช่งานอวมงคลอีกต่อไป

โดยจะเป็นงาน คือ 1.มีการให้กำลังใจกัน 2.มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นจากการไปร่วมงานแบบนี้ เลยรู้สึกว่างานศพ ไม่ใช่งานอวมงคลแล้วล่ะ เราไปเพื่อไปให้กำลังใจ ไปทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ เป็นงานที่ดี เป็นมงคลมากกว่า”


มุก-ไข่มุก ยังเสริมอีกว่า ทางองค์กรที่มองเห็นถึงคนที่ไม่รับโอกาส และอยากเป็นตัวกลางที่หยิบยื่นโอกาสให้แก่คนเหล่านั้น ไปต่อยอดในอนาคตได้

“เราวางแผนอยู่แล้วว่าเราจะเปิดตัว คือ เราคุยกันมาประมาณ 1 ปี ในการที่เก็บข้อมูล พัฒนาผลิตภัณฑ์ พัฒนาเครือข่ายของเรา แล้วจังหวะมันก็ลงตัว เราพูดตั้งแต่ต้นปีว่า เมษาเราจะต้องหารายได้แล้วนะ จะต้องขายแล้วนะ แล้วโควิด-19 มาแล้วจะทำยังไง นั่นคือวิกฤตในโอกาสค่ะ ก็ทำให้เราเรียนรู้อะไรหลายอย่าง ในการที่จะช่วยคน

ปันการดี เป็นองค์กรที่จะต้องการวางกุศโลบาย คือ เราจะพยายามสอดแทรกเล็กๆ น้อยๆ ที่จะบอกไปอย่างเราเป็นคนชอบอ่านหนังสือ และเรามีโอกาส แต่หลายๆ คนไม่มีโอกาสอย่างเรา เรามีโอกาสที่จะซื้อหนังสือ เรามีโอกาสที่จะทำอะไรได้หลายๆ อย่าง แต่คนอีกเยอะแยะเลยไม่มีโอกาสตรงนั้น เราเพียงมาเป็นตัวกลางบอกว่าเราสามารถที่จะหยิบยื่นโอกาสให้คนอื่นได้อย่างไร ต่อยอดได้อย่างไร

แล้วเมื่อทุกคนรับโอกาสตรงนั้นแล้ว เราก็อยากสื่อสารให้เขาต่อยอด โดยการให้ต่อไปอีก นี่คือการวางกุศโลบายของปันการดี อันไปเรื่อยๆ การงานดีๆ”



ขายพวงหรีด หารายได้ มอบหนังสือให้แก่สังคม!!


อุดมการณ์ที่มีร่วมกันและแน่วแน่ที่อยากสร้างสรรค์ให้สังคม ก่อให้เกิดพวงหรีดโดยเฟี๊ยตบอกกับทีมข่าวว่าทุกกระบวนการ ใช้เวลาในการศึกษา เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ หาเครือข่าย พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้เกิดประโยชน์สูงสุด

“เราคิดกันนานมากประมาณ 1 ปี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ วิธีการให้ วิธีการผลิต ใช้เวลาทำพอสมควร เราต้องการทำสิ่งที่นอกจากแตกต่าง คือ มันสร้างสรรค์ด้วย เพราะเราก็ไปศึกษากันมา มีข้อมูลจากมูลนิธิกระจกเงา ที่บอกว่า 80% กับการบริจาคหนังสือทั่วไป

หนังสือจะไม่ได้เอาไปใช้จริง เพราะว่าหนังสือเก่า ความรู้เก่าไปแล้ว สภาพทรุดโทรม เป็นหนังสือที่ผู้บริจาคยังไม่อยากอ่าน แต่ยังเอามาส่งให้คนอื่น

เราไปดูตามโรงเรียน ชั้นหนังสือมันก็เก่า เราก็เข้าไปดูที่โรงเรียนจริงๆ รู้สึกว่าหนังสือมันไม่ใช่ มันเป็นหนังสือที่ดี แต่มันไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายเลย

บางทียากเกินไป หนังสือพระไตรปิฎกมาเป็นเซ็ต ดีนะแต่สำหรับเด็กเล็ก น้องไม่มีทางเข้าใจเลย เราเข้าใจความปรารถนาดี”

ทว่า สิ่งต่างออกไปของหรีดหนังสือปันการดี คือ นอกจากจะส่งหรีดไป เพื่อแสดงความเคารพและอาลัยแล้ว ยังได้ร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้วายชนม์ ด้วยการบริจาคหนังสือให้ชุมชน หรือองค์กรที่ขาดแคลน เช่น โรงเรียน วัด โรงพยาบาล เรือนจำ

เพราะเมื่อรายได้หลังหักค่าใช่จ่ายไปแล้ว จะนำไปจัดซื้อหนังสือใหม่ให้แก่องค์กรเหล่านั้น และที่พิเศษคือ ปันการดีจัดหาหนังสือที่ผู้รับเป็นผู้เลือกหนังสือเอง หนังสือก็จะถูกอ่าน ถูกใช้งานตรงวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง


“ก่อนหน้านี้เฟี๊ยตได้ไปอ่านหนังสือให้คนตาบอด คนตาบอดเขาจะบอกมาเลยว่าคนตาบอดไม่ได้อยากฟังธรรมะอย่างเดียวนะ เขาก็ดูละครอย่างที่พวกเราดู อย่างได้บันเทิงบ้าง

เราก็เลยคิดว่างั้นเราตั้งกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก คือ พวงหรีดเรานอกจากอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ แต่จะเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ด้วยการสร้างคน พัฒนาความรู้ ความบันเทิงต่างๆ อย่างเช่น เราไปดูมาแล้ว คือ อยากจะส่งหนังสือไปโรงพยาบาล เรือนจำ ฝึกอาชีพ เขาพัฒนาอาชีพ พอเขาออกจากคุกได้ เขาก็สามารถพัฒนาตัว มีอาชีพต่อไปในอนาคต”

ไม่เพียงแค่นี้ รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากหรีดทุกชิ้น จะนำไปจัดซื้อหนังสือใหม่มอบให้แก่หน่วยงานขาดแคลนที่มีศักยภาพ ให้ความสำคัญและมีความสนใจในการพัฒนาคนด้วยหนังสือ

โดยผู้แทนจากหน่วยงานจะเป็นผู้เลือกหนังสือ จำนวน 100 เล่มที่เหมาะสมและคาดว่าจะได้รับความสนใจจากสมาชิกในหน่วยงานจากรายการหนังสือที่เราคัดสรรไว้เบื้องต้น พร้อมส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการอ่าน


สำหรับหนังสือที่ได้รับไปนั้น ผู้อยู่ในวงการหนังสืออย่าง“ชื่น” จะมีการแบ่งหมวดหนังสือในการนำไปบริจาค เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายกับคนรับ โดยขั้นตอนกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้เลือกหนังสือ ทางองค์กรเป็นผู้ขายหรีด จำนวนเงินการขาย เท่ากับราคาหนังสือที่เขาเลือกไว้ และจะนัดหมายไปมอบหนังสือกับหน่วยงานผู้รับ และแจ้งให้ผู้สั่งซื้อในช่วงเวลาตามที่ระบุ

“รายการหนังสือที่ได้มา ต้องบอกว่าเราได้มาทุกหมวด มีตั้งแต่วรรณกรรม หนังสือเสริมสร้างอาชีพ หนังสือสำหรับเด็ก หนังสือประวัติศาสตร์ แม้ว่าหนังสือเรียนก็มี มีทุกหมวดจริงๆ เพราะว่า เราก็พยายามเหมือนกับสะสมรายการหนังสือให้หลากหลายที่สุด เท่าที่จะทำได้ จากเครือข่ายที่มี

เพื่อที่ว่ากลุ่มเป้าหมายเขาก็จะได้มีโอกาสเลือกหนังสือได้ครบทุกหมวดเหมือนกัน ซึ่งตอนเขาเลือกมา เขาเลือกมาครบทุกหมวดเลย

คือ เราใช้วิธีว่าเรามีรายการหนังสือ เราก็เอารายการหนังสือให้ อย่างสมมติเป็นทาง มยช.(มูลนิธิเยาวชนชนบท) เป็นคนเลือก มยช.ก็จะเลือกมาหนังสือ 100 เล่มที่เขาต้องการคืออะไร พอเราสะสมเงินจากการขายหรีดครบ เราก็สั่งซื้อหนังสือ จาก 100 เล่ม จากทุกๆ สำนักพิมพ์ แล้วก็นำไปมอบให้

สำหรับขั้นตอน คือ กลุ่มเป้าหมายเลือกหนังสือ ทางนี้ขายหรีด ได้จำนวนเงิน เท่ากับราคาหนังสือที่เขาเลือก 100 เล่ม ก็เอาไปซื้อหนังสือ แล้วเอาไปมอบให้เขา และแจ้งไปยังเจ้าภาพเขา”


อย่างไรก็ดี มุก หนึ่งในทีมผู้บริหารได้สะท้อนให้ฟังอีกว่า ภายในองค์กรจะเลือกสถานที่ที่เป็นไม่รู้จักมากนัก และสถานที่นั้นสามารถเอาไปต่อยอดได้จริง อย่าง “มูลนิธิเยาวชนชนบท”ที่พัฒนาเยาวชน และผู้ใหญ่คนที่อยู่นอกระบบสวัสดิการของประเทศไทยทั้งหมด ซึ่งเธอได้ลงไปดูพื้นที่จริงมาแล้ว

“สิ่งนี้ที่เราคุยกันว่าเราจะให้ใคร เราขอเลือกว่าเขาเอาไปต่อยอดได้ไหม ไม่ใช่จบแค่ว่ารับของไป ถ่ายรูปแล้วจบ ไม่ใช่ เราไม่ได้ต้องการอย่างนั้น แต่เราต้องการที่ว่ารับไปแล้ว แล้วคุณเอาไปทำอะไรให้เกิดประโยชน์ได้ แล้วด้วยความ concept ที่ตรงกัน เราถึงเลือกมูลนิธิเพื่อเยาวชนชนบท เป็นที่แรก”



เพราะการให้ = ความสุขไม่มีที่สิ้นสุด


“ถ้าเกิดว่ามีความต้องการอีกในอนาคต เราก็จะวนกลับมาให้อีก เพราะจริงๆ เราก็จะเคลื่อนตัวจากมูลนิธิฯ นี้ ไปโรงเรียนอื่น ไปเรือนจำ ไปเรื่อยๆ

และดู Feedback แต่ละที่ด้วยว่าหนังสือที่ให้ไปเป็นยังไงบ้าง ชอบไหม หรือต้องการอีก ก็เดี๋ยวว่ากัน เดี๋ยวนกลับมาใหม่”

เห็นได้ชัดว่าทุกกระบวนการผ่านความคิด ความตั้งใจ ตั้งแต่กระบวนการผลิต โดยเฟี๊ยตสะท้อนให้ฟังว่าได้ทำงานร่วมกับนักออกแบบอย่างใกล้ชิด สร้างสรรค์หรีดออกมาให้มีลักษณะคล้ายหนังสือ

ด้วยวัสดุผลิตจากกระดาษรีไซเคิล เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เลือกใช้ภาพของดอกไม้เป็นตัวแทนแสดงความเคารพและอาลัยต่อผู้ล่วงลับ ปรับให้มีความทันสมัย มีทั้งแบบดอกไม้ทั่วไปและแบบที่แสดงความเป็นไทย จำลองมาจากพวงมาลาดอกไม้


“เอาไปรีไซเคิลเลย และเป็นที่ต้องการ เพราะเขาก็อยากได้อยู่ 1.น้ำหนักหรีดเบา ขนส่งง่าย และสามารถรีไซเคิลใช้ได้ทันที เอากลับไปใช้กระบวนการ”

อย่างไรก็ดี แน่นอนว่าการธุรกิจตรงนี้ไม่ได้มองเป็นเรื่องกำไร “มุก” หนึ่งในผู้บริหารหรีดหนังสือปันการดี บอกเล่าฟังว่าจะต้องอาศัยผ่านปากต่อปาก ว่ามีเครื่องแสดงความอาลัยรูปแบบนี้ เพราะเป็นของที่ไม่สามารถนำเสนอได้ทั่วไป คือ จำเป็นจะต้องใช้เมื่อไหร่ก็ต้องใช้ แต่เธอกลับรู้สึกมีความสุขกับสิ่งที่ทำ เพราะเป็นสิ่งที่เธอชอบ และยังสามารถนำกลับสู่สังคม ให้ผู้อื่นต่อยอดได้

“จะบอกทุกคน ใช้เมื่อมีโอกาส และมีความจำเป็น คือ บางคนก็บอกว่าอยากอุดหนุนจังเลย ก็ต้องบอกว่าอย่าเพิ่ง ใจเย็นนะคะ”

ขณะที่ชื่น ยังคงเชื่อในเจตนารมณ์ว่าหรีดหนังสือ ไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์ชูกำลังใจให้แก่ญาติผู้เสียชีวิต แต่จะสามารถสร้างคน และพัฒนาชีวิตหลายๆ คนได้อีกด้วย


“สำหรับชื่น คือ ด้วยความเชื่อว่าหนังสือ สร้างคน และเป็นการเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นการสนับสนุนหรีดปันการดี คือ การส่งเสริมให้คนมีโอกาสในการอ่าน และสามารถที่จะพัฒนาชีวิตต่อไปได้อย่างยั่งยืนค่ะ”

โดยอนาคตเฟี๊ยตมีแนวคิดจะต่อยอดธุรกิจ “ปันการดี หรีดหนังสือ” ว่าไม่ได้มองว่าตัวเองจะต้องรวยจากการทำงานตรงนี้ แต่จะเป็นเป็นส่วนหนึ่งจะจุดประกายให้คนอื่นๆ ด้วย คิดอะไรใหม่ๆ ที่ดีต่อส่วนรวมออกมาได้อีก

“ไม่ได้บอกว่าต้องรวย แต่ว่าอย่างน้อยจะได้เปิดโอกาสกรุยทางเป็นรุ่นแรกๆ ของเมืองไทยที่บอกว่า เฮ้ย!! SE มันก็อยู่ได้นะ น้องๆ รุ่นใหม่จบมาไม่จำเป็นที่ฉันจะต้องเป็นเศรษฐีพันล้าน จากบริษัทเทคโนโลยีอย่างเดียว

เราสามารถเป็นสตาร์ทอัปแบบอื่น ที่คืนกลับให้สังคมได้ด้วย ก็จะต้องช่วยกันพิสูจน์ เพราะฉะนั้นต้องขอแรงมาช่วยกันสนับสนุนไอเดียของพวกเรามันไปได้”


ก่อนจบการสนทนาชาวปันการดี โดยเฟี๊ยตฝากไว้ว่า จะขอเป็นอีกหนึ่งหน่วยงานเล็กๆ ที่เริ่มต้นการเปลี่ยนแปลง พัฒนาสังคมให้ดีขึ้น ผ่านหรีดหนังสือ ปันการดี อันเป็นกุศลแก่ทั้งผู้ให้ ผู้ล่วงลับ และสังคมส่วนรวมต่อไป

“คือหลายคนคิดว่า การให้ ทำให้แค่มีความสุข แต่จริงๆ ในการให้มันได้รับอะไรกลับมาด้วย หลายๆ ครั้ง คือ การที่เรารับมาอย่างเดียว มันก็สุขประมาณหนึ่ง

แต่พอเราให้ความสุขมันไม่มีที่สิ้นสุด มันไม่จบ ถ้าเกิดว่าสักวันหนึ่ง หนังสือที่เราให้ใครสักคนไป แล้วเขาจบการศึกษา มีครอบครัว ดูแลตัวเองได้ ต่อยอดได้ หรือไปเป็นแรงบันดาลใจให้เขาทำอะไรดีๆ ในชีวิต

แค่หนังสือเล่มเดียว บางทีเปลี่ยนชีวิตได้เลย ยังไงก็ฝากด้วยกับปันการดีนะครับ”

สัมภาษณ์ : รายการ “พระอาทิตย์ Live”
เรียบเรียง : MGR Live
เรื่อง : ภูริฉัตร ปริยเมธานัยน์
ขอบคุณภาพ : FB “ปันการดี หรีดหนังสือ”



** มาตามติด ไลฟ์สไตล์บันดาลใจ+ประเด็นสดใหม่ ได้ที่นี่!! **


Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
July 24, 2020 at 03:17PM
https://ift.tt/39AYdep

“หรีดหนังสือ ทางเลือกใหม่ให้ผู้วายชนม์” ให้โอกาส-พัฒนาอาชีพ แก่คนในสังคม [มีคลิป] - ผู้จัดการออนไลน์
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "“หรีดหนังสือ ทางเลือกใหม่ให้ผู้วายชนม์” ให้โอกาส-พัฒนาอาชีพ แก่คนในสังคม [มีคลิป] - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.