Search

รีวิว Suzuki XL7 2020 ใหม่ รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง โดดเด่นเรื่องความคุ้มค่า - Top Gear Thailand

soho.prelol.com

หลายคนอาจมองว่า Suzuki XL7 แท้จริงแล้วก็คือ Suzuki Ertiga ที่ถูกจับแต่งหน้าทาปากในสไตล์ครอสโอเวอร์เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วมันก็ไม่ได้มีอะไรไปมากกว่านั้นหรอก เพียงแต่หากมองกันลึกๆ หน่อย ก็จะพบว่าซูซูกิได้ใส่ความพยายามลงไปไม่น้อยให้สามารถเรียกรถรุ่นนี้ว่าเป็นครอสโอเวอร์ได้อย่างเต็มปาก และมากพอที่จะตั้งชื่อรถรุ่นนี้ว่า “XL7” แทนที่จะเป็นแค่ Ertiga Cross อะไรทำนองนั้น

Suzuki XL7 ถูกจัดว่าเป็นรถอเนกประสงค์ที่รวมคุณประโยชน์ของความกว้างขวางสไตล์เอ็มพีวี เข้ากับความสมบุกสมบันในสไตล์ครอสโอเวอร์ (ในใจพลางคิดว่ารถครอสโอเวอร์จริงหรือ? มีระบบขับสี่หน่อยก็ดีนะ) บนเรือนร่างขนาดคอมแพ็คที่เหมาะสำหรับใช้งานในเมืองเป็นหลัก แต่จะพาทั้งครอบครัวไปออกต่างจังหวัดก็ทำได้

ในบ้านเรามีการทำตลาด XL7 เพียงรุ่นย่อยเดียวเท่านั้น นั่นคือ GLX เกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ ซึ่งเหตุผลก็เพื่อเสริมไลน์อัปของ Ertiga ที่มีอยู่ 2 รุ่นย่อยในปัจจุบัน เผื่อลูกค้าบางคนที่แวะเวียนเข้ามาดู Ertiga แต่รู้สึกว่ายังไม่ “สุด” นัก ก็สามารถขยับขยายมาเป็น XL7 ได้ แลกกับค่างวดในแต่ละเดือนที่เพิ่มขึ้นมาเพียงไม่กี่บาท แต่ได้รถที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมหลากหลายมากกว่า

ภายนอก

Suzuki XL7 ใช้แพล็ตฟอร์ม Heartect และโครงสร้างส่วนใหญ่ร่วมกับ Ertiga แต่เห็นได้ชัดว่ามีการปรับดีไซน์ด้านหน้าขึ้นใหม่ทั้งหมดให้เป็นลักษณะเฉพาะของ XL7 เอง มาพร้อมไฟหน้าแบบ LED มัลติรีเฟล็กเตอร์ พร้อมไฟส่องสว่างเวลากลางวันแบบ LED, ไฟตัดหมอกคู่หน้าแบบฮาโลเจน, กระจังหน้าขนาดใหญ่คาดด้วยแถบสีเงิน, กันชนหน้า-หลังถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมด เสริมบุคลิกความสมบุกสมบันด้วยแผงใต้กันชนหน้า-หลังสีเงิน และเพิ่มกิมมิกเล็กๆ ด้วยแถบตกแต่งบริเวณฝากระโปรงหน้า

ตัวถังส่วนล่างถูกตกแต่งด้วยแผงสีดำ พร้อมซุ้มล้อสีดำที่ยื่นออกมาครอบล้ออัลลอยสีทูโทนขนาด 16 นิ้ว หุ้มด้วยยางขนาด 195/60 R16 ส่วนไฟท้าย LED แบบ Light Guides ยกชุดมาจาก Ertiga ทั้งหมด เสริมด้วยแผงตกแต่งสีดำและแถบโครเมียมเหนือช่องติดป้ายทะเบียน และที่ขาดไม่ได้คือราวหลังคาที่สามารถรับน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ได้ 50 กิโลกรัม มากพอที่จะบรรทุกสัมภาระเพิ่มเติมได้หากรถเต็ม หรือจะเหมาทุเรียนจันทบุรีกลับมาโซ้ยที่บ้านก็ได้เช่นกัน

ขณะที่กระจกมองข้างก็มีระบบปรับ-พับด้วยไฟฟ้า พร้อมไฟเลี้ยวมาให้แบบครบๆ ตามมาตรฐานรถใหม่ในปัจจุบัน

ภายใน

ภายในห้องโดยสารของ XL7 ถูกตกแต่งด้วยโทนสีดำทั้งหมด ไม่ว่าตัวถังภายนอกจะเป็นสีอะไรก็ตาม แม้ว่าดีไซน์ของแผงคอนโซลจะถูกยกชุดมาจาก Ertiga แต่ก็มีการเปลี่ยนแนวการตกแต่งด้วยลายไม้เน้นความอบอุ่น มาเป็นวัสดุสีดำเปียโนแบล็กตัดด้วยขอบสีเงินแทน

เบาะนั่งของ XL7 ถูกหุ้มด้วยวัสดุผ้าที่มีลวดลายแตกต่างไปจาก Ertiga โดยตำแหน่งของเบาะนั่งทุกแถวเหมือนกับ Ertiga ทุกประการ รวมไปถึงพื้นที่วางขาและพื้นที่เหนือศีรษะ เพียงแต่ความสูงของช่วงล่างที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการเข้า-ออกเท่านั้น

เบาะนั่งทุกตัวเป็นแบบปรับมือ สามารถปรับสูง-ต่ำได้เฉพาะฝั่งผู้ขับเท่านั้น ส่วนเบาะนั่งแถวที่ 2 สามารถปรับเลื่อนหน้า-หลัง และปรับเอนได้ ปรับพับแยกได้แบบ 60:40 โดยไม่มีที่วางแขนแบบพับได้มาให้แต่อย่างใด ส่วนเบาะนั่งแถวที่ 3 สามารถปรับเอนและปรับพับแยกแบบ 50:50 ได้ หากพับเบาะแถวสามลงก็จะมีลักษณะราบไปกับพื้นห้องเก็บสัมภาระท้าย ทำให้สามารถขนถ่ายสัมภาระได้อย่างสะดวก และมีพื้นที่กว้างขวาง สามารถใช้งานได้จริง

ในด้านพื้นที่โดยสารของเบาะนั่งแถวที่ 3 ถือว่าทำได้ดีทีเดียวสำหรับรถยนต์ประเภทนี้ แม้ว่าลักษณะท่านั่งจำเป็นต้องชันเข่ามากกว่าปกติอยู่บ้าง แต่พื้นที่เหนือศีรษะและความกว้างขวางก็ไม่ได้แย่เลย ส่วนพื้นที่วางขาก็มีลักษณะยืดหยุ่น ขึ้นอยู่กับว่าผู้โดยสารแถวที่ 2 จะยอมเลื่อนเบาะไปข้างหน้ามาก-น้อยขนาดไหน ขณะที่กระจกบานหลังขนาดใหญ่ก็ช่วยให้รู้สึกอึดอัดน้อยกว่าพีพีวีบางรุ่นเสียอีก

แผงคอนโซลด้านหน้าโดดเด่นด้วยหน้าจอเครื่องเสียงแบบสัมผัสขนาด 10 นิ้ว พร้อมปุ่มช็อตคัตแบบสัมผัสใต้หน้าจอ รองรับการใช้งานระบบ Apple CarPlay ได้ (รวมถึง Android Auto) พร้อมช่องต่อ USB และ HDMI ที่สามารถเสียบเข้ากับสมาร์ทโฟนระบบ iOS และ Android เพื่อดึงภาพจากมือถือมาไว้บนหน้าจอก็ได้เช่นกัน

ซึ่งวิศวกรของซูซูกิได้สาธิตให้เราเห็นว่าสามารถนำภาพยนตร์จาก Netflix มาแสดงบนหน้าจอขนาด 10 นิ้ว กลายเป็นโรงหนังเคลื่อนที่ขนาดย่อมๆ ก็ทำได้ โดยที่ภาพจะไม่ตัดในขณะรถเคลื่อนที่แต่อย่างใด จึงควรคำนึงถึงความปลอดภัยขณะขับขี่เอาไว้ด้วยนะครับ

หน้าจอที่ว่านี้ถูกยกมาจาก Ertiga ทั้งหมด ซึ่งจากการทดลองใช้งานก็พบว่ามีอินเตอร์เฟสสวยงามกว่าที่คาดหวังเอาไว้ การตอบสนองต่อการสัมผัสทำได้ดีเกินคาด รวมถึงการใช้ไอคอนขนาดใหญ่ ก็ทำให้ใช้งานในขณะขับขี่ได้สะดวกพอสมควร แม้ว่าจะไม่ถนัดเท่ากับการใช้ปุ่มจริงๆ ก็ตามเถอะ

ไล่ลงมาเป็นสวิตช์ควบคุมระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติหน้าตามาตรฐาน สามารถปรับระดับอุณหภูมิแบบ Single-zone พร้อมทั้งมีระบบปรับอากาศสำหรับผู้โดยสารตอนหลังแยกออกมาต่างหาก (ปรับได้เฉพาะแรงลมเท่านั้น) โดยใช้ตู้แอร์แยกออกมาอีกชุดจากด้านหน้า จึงให้ความเย็นได้อย่างรวดเร็วทั้ง 3 แถว แม้ว่ารถทดสอบที่เรานั่งมาจะไม่ติดฟิล์มกรองแสงเลย ก็ไม่รู้สึกร้อนแต่อย่างใด กลับกันผมต้องเปิดแอร์หลังแค่เบอร์ 1 เท่านั้น เพราะมันหนาวเกินไป!

ฝั่งผู้ขับขี่ถูกติดตั้งพวงมาลัยหุ้มหนังแบบ 3 ก้านรูปทรง D-shaped โดยมีปุ่มควบคุมเครื่องเสียงและปุ่มรับ-วางสายโทรศัพท์มาให้ จะขัดใจอยู่หน่อยตรงที่ไม่มีระบบ Cruise control มาด้วย โดยพวงมาลัยสามารถปรับได้เฉพาะสูง-ต่ำเท่านั้น ไม่สามารถยืดเข้า-ออกได้

นอกนั้นอุปกรณ์มาตรฐานอื่นก็มีให้แบบครบๆ อย่างที่คาดหวัง เช่น ปุ่มสตาร์ทเครื่องยนต์ Keyless pushstart ทำงานคู่กับกุญแจ Keyless entry, กระจกหน้าต่างไฟฟ้าขึ้น-ลงอัตโนมัติเฉพาะฝั่งผู้ขับ, ปุ่มปรับระดับไฟหน้าสูง-ต่ำตามน้ำหนักบรรทุก และหากเข้าเกียร์ถอยหลังก็จะมีภาพจากกล้องมองหลังปรากฏขึ้น พร้อมเซ็นเซอร์กะระยะด้านท้ายตามมาตรฐาน ส่วนช่องจ่ายไฟ 12 โวลต์ ก็มีให้แถวละ 1 จุด รวมเป็นทั้งหมด 3 จุด

จุดที่ผมชอบอย่างหนึ่งใน XL7 รวมไปถึง Ertiga ด้วยนั้นก็คือ ที่วางแก้วบริเวณคอนโซลกลางพร้อมระบบเป่าลมเย็น โดยดึงเอาลมเย็นบางส่วนมาสร้างความเย็นให้กับแก้วน้ำหรือขวดน้ำ ทำให้มีเครื่องดื่มเย็นๆ จิบไปตลอดทาง เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวท่ามกลางสภาพอากาศร้อนชนิดนรกแตกในบ้านเราเหลือเกิน

แต่กิมมิคเด็ดอยู่ที่หน้าจอแสดงข้อมูลการขับขี่ หรือ MID แสดงผลด้วยสีหน้าตาสวยงาม ที่นอกจากจะสามารถแสดงข้อมูลการขับขี่ที่จำเป็นแล้ว ยังสามารถกราฟแสดงแรงม้าและแรงบิดแบบเรียลไทม์ รวมถึงแสดง G-Force ได้อีกด้วย! ซึ่งเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่ารถครอบครัวเครื่องยนต์ 1,500 ซีซี จะต้องแสดงแรงจีไว้เพื่ออะไร แต่เปิดเอาไว้ดูเล่นๆ ก็เท่ไม่หยอกเหมือนกัน

ด้านระบบความปลอดภัยก็อยู่ในระดับมาตรฐานของรถปี 2020 ไม่ว่าจะเป็นถุงลมนิรภัยคู่หน้า, ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว ESP, ระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ABS และกระจายแรงเบรก EBD, ระบบช่วยออกตัวบนทางลาดชัน Hill Hold Control รวมถึงเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด ทั้ง 7 ที่นั่ง พร้อมระบบดึงกลับและผ่อนแรงอัตโนมัติคู่หน้า

เครื่องยนต์

ด้านขุมพลังของ Suzuki XL7 เป็นเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ รหัส K15B ที่ยกมาจาก Ertiga เช่นกัน รีดกำลังสูงสุดได้ 105 แรงม้า (PS) ที่ 6,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 138 นิวตัน-เมตร ที่ 4,400 รอบต่อนาที ส่งกำลังด้วยเกียร์อัตโนมัติ 4 จังหวะ โดยซูซูกิมีการปรับอัตราทดเฟืองท้ายและกล่องควบคุมเครื่องยนต์ ECM เพื่อให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวรถและขนาดล้อที่ใหญ่ขึ้น

ขณะที่ระบบช่วงล่างด้านหน้าเป็นแบบแม็กเฟอร์สันสตรัท พร้อมคอยล์สปริง ด้านหลังเป็นแบบทอร์ชั่นบีม พร้อมระบบเบรกแบบหน้าดิสก์ หลังดรัม ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดหวังกับรถราคาระดับนี้

การขับขี่

ในด้านอัตราเร่งของ Suzuki XL7 ก็อยู่ในระดับรถอเนกประสงค์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตรไร้ระบบอัดอากาศทั่วไป ในระดับความเร็วสำหรับการใช้งานในเมืองนั้นถือว่าไม่มีปัญหา คันเร่งถูกเซ็ตมาแบบพอดีๆ ไม่ไวจนเกินไป อยู่กึ่งกลางระหว่างคันเร่งของรถญี่ปุ่นและยุโรป ไม่ได้กระโชกโฮกฮากจนน่ารำคาญ

แต่เมื่อคุณพยายามเค้นอัตราเร่งจาก XL7 คันนี้ล่ะก็ เครื่องยนต์ที่มีกำลังสูงสุด 105 แรงม้าก็จะถวายตัวอย่างเต็มกำลัง แต่สิ่งที่สัมผัสได้ก็คือระยะห่างระหว่างอัตราทดของแต่ละเกียร์ค่อนข้างกว้างตามสไตล์เกียร์ 4 จังหวะ ซึ่งมันไม่ได้ลื่นไหลแบบเกียร์ CVT แน่ๆ ในขณะที่ใช้ความเร็วสูงนั้น หากคุณต้องการอัตราเร่งแซงแบบทันทีทันใด คุณจำเป็นต้องกดคันเร่งลงไปลึกเสียหน่อย เพื่อให้เปลี่ยนอัตราทดลงมาเกียร์ 3 ตัวรถจึงจะเริ่มมีแรงพุ่งไปข้างหน้า

ดังนั้น XL7 จึงเหมาะกับผู้ที่ชอบขับรถในสไตล์ไปเรื่อยๆ ไม่เร่งรีบมากกว่า เดินทางไกลด้วยความเร็วสัก 100-110 กม./ชม. กำลังดี แต่ถึงกระนั้น กลุ่มลูกค้าที่คิดจะซื้อรถประเภทนี้ก็คงไม่ได้คาดหวังอะไรกับอัตราเร่งมากอยู่แล้วล่ะจริงไหม?

ด้านช่วงล่างของ Suzuki XL7 ทำได้ดีเกินคาดอยู่เหมือนกัน เพราะมันสามารถซับแรงสะเทือนจากพื้นถนนได้ค่อนข้างดี ให้ความหนึบหนับ หนักแน่นมากกว่าที่คิด แต่ด้วยจุดศูนย์ถ่วงที่ค่อนข้างสูงกว่ารถเก๋งทั่วไป มันจึงมีอาการวูบวาบตามสภาพพื้นผิวถนนให้เห็นอยู่บ้าง แต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ไม่ได้เยอะจนน่ากลัว เอาเป็นว่าหากพูดถึง XL7 นั้น ก็จะนึกถึงความโดดเด่นในเรื่องช่วงล่างขึ้นมาทันที

ขณะที่การเก็บเสียงก็ทำได้ดีเกินคาดเช่นกัน ในตำแหน่งของผู้ขับขี่นั้น จะมีเสียงลมและพื้นถนนแทรกเข้ามาในระดับต่ำ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มเสียงพูดคุยภายในรถ แต่เมื่อมาเป็นผู้โดยสารแถวที่ 2 กลับได้ยินเสียงจากพื้นถนนเข้ามาอยู่บ้าง ซึ่งเดาว่ามาจากการบุวัสดุซับเสียงบริเวณซุ้มล้อที่เน้นไปยังด้านหน้ามากกว่า แต่กระนั้น การเก็บเสียงโดยรวมก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจตามระดับราคาของรถสไตล์นี้

สรุป

โดยสรุปแล้ว Suzuki XL7 เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่น่าเล่นสำหรับผู้ที่กำลังมองหารถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง ในราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท แม้ว่ารูปลักษณ์หน้าตาอาจไม่ถูกรสนิยมใครหลายคนนัก แต่ในด้านรายละเอียดทางเทคนิคและการขับขี่กลับมีดีมากกว่าที่คิด ขณะที่อุปกรณ์มาตรฐานก็มีให้แบบเพียงพอต่อการใช้งาน แม้ว่าจะขาดระบบ Cruise control ไปหน่อย แต่หากคุณไม่เคยคิดจะใช้งานอยู่แล้ว ก็คงจะไม่ใช่ปัญหา

ด้านสมรรถนะของ XL7 อยู่ในระดับปานกลาง พอใช้งานทั่วไปทั้งในเมืองและนอกเมือง อัตราเร่งและการขับขี่ที่ความเร็วสูงอาจไม่โดดเด่นเท่าไหร่นัก แต่ก็ถือว่าเพียงพอกับการใช้งานทั่วไปที่ไม่เร่งรีบ กลับกันคุณจะได้ห้องโดยสารกว้างขวาง สามารถเดินทางไปได้ทั้งครอบครัว หายห่วงเรื่องความทนทานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แลกกับราคาจำหน่ายเพียง 779,000 บาท ต่ำกว่าคู่แข่งตรงอย่าง Mitsubishi Xpander Cross อยู่เกือบแสนบาท

นั่นทำให้ Suzuki XL7 กลายเป็นรถที่น่าสนใจขึ้นมาทีเดียว

Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
July 23, 2020 at 10:26AM
https://ift.tt/39oTNXU

รีวิว Suzuki XL7 2020 ใหม่ รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง โดดเด่นเรื่องความคุ้มค่า - Top Gear Thailand
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "รีวิว Suzuki XL7 2020 ใหม่ รถอเนกประสงค์ 7 ที่นั่ง โดดเด่นเรื่องความคุ้มค่า - Top Gear Thailand"

Post a Comment

Powered by Blogger.