
มีอยู่วันหนึ่ง ผู้หญิงซึ่งเราจะใช้นามแฝงว่า เรเบีย มีไข้สูงและไปหาหมอ
ผลตรวจออกมาว่าเธอติดเชื้อโควิด-19 แต่กลับโดนสามีทุบตีเมื่อเห็นชื่อภรรยาบนใบสั่งยา เขาโกรธเกรี้ยวที่เธอไปเปิดเผยชื่อจริงกับ "ชายแปลกหน้า"
ในอัฟกานิสถาน คนจำนวนมากมักจะปิดบังชื่อสมาชิกครอบครัวผู้หญิงเป็นความลับ แม้กระทั่งกับหมอ
แต่ตอนนี้ ผู้หญิงบางคนเริ่มการต่อสู้เรียกร้องสิทธิที่จะเปิดเผยชื่อตัวเองแล้ว
การเคลื่อนไหว WhereIsMyName?
ปัญหาเรื่องการเปิดเผยชื่อเริ่มมาตั้งแต่ตอนเด็กผู้หญิงเกิด โดยจะใช้เวลานานมากกว่าจะมีคนตั้งชื่อให้เด็กผู้หญิงแต่ละคน
พอแต่งงาน ก็ไม่มีชื่อผู้หญิงปรากฏในบัตรเชิญ พอล้มป่วย ชื่อผู้หญิงก็ไม่ปรากฏอยู่ในใบสั่งยาของหมอ
นี่คือเหตุผลที่ผู้หญิงอัฟกานิสถานกลุ่มหนึ่งกำลังเรียกร้องที่จะใช้ชื่อตัวเองอย่างอิสระ และสโลแกน WhereIsMyName? หรือ ชื่อฉันอยู่ไหน? ก็ถูกใช้ไปทั่วทั้งบนโปสเตอร์และในโซเชียลมีเดีย
เกียรติของพี่ชาย พ่อ และคู่หมั้นฉัน
ผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่คุยกับบีบีซีก็ไม่อยากให้เปิดเผยชื่อจริงเช่นกัน เธอบอกว่าความคิดของผู้ชายสมเหตุสมผลแล้ว
"เมื่อคนถามชื่อฉัน ฉันต้องคิดเรื่องเกียรติของพี่และน้องชาย พ่อ และคู่หมั้นฉัน และฉันก็ปฏิเสธไม่บอกชื่อตัวเอง"
"ฉันจะไปทำให้ครอบครัวอารมณ์เสียทำไม พูดชื่อฉันไปแล้วได้อะไร"
เธอบอกว่าอยากถูกอ้างอิงถึงในฐานะลูกสาวของพ่อ น้องสาวของพี่ชาย "และในอนาคตก็อยากจะถูกอ้างอิงในฐานะภรรยาของสามีฉัน และก็แม่ของลูกชายฉัน"
นี่เป็นเรื่องที่น่าตกใจ แต่ก็ไม่ได้แปลก ในหลายพื้นที่ในอัฟกานิสถาน การเอ่ยชื่อผู้หญิงถือว่าเป็นการดูถูกเลยด้วยซ้ำ ผู้ชายอัฟกานิสถานหลายคนไม่เต็มใจที่จะเอ่ยชื่อพี่และน้องสาว ภรรยา และแม่ ในที่สาธารณะเพราะว่าถือเป็นเรื่องน่าอับอายและเสื่อมเสียเกียรติ
กฎหมายอัฟกานิสถานระบุว่า ให้ระบุชื่อพ่อเท่านั้นในใบแจ้งเกิดของเด็ก
การไม่เอ่ยชื่อสร้างความยากลำบากทั้งในเชิงปฏิบัติและความรู้สึกด้วย
ฟารีดา ซาดัต แต่งงานตั้งแต่ยังเด็กและมีลูกคนแรกตั้งแต่อายุ 15 ปี ต่อมา เธอแยกทางกับสามีและย้ายไปอยู่เยอรมนีกับลูก 4 คน

ที่มาของภาพ, Farida Sadaat
เธอบอกว่าสามีไม่เคยมามีส่วนร่วมในชีวิตครอบครัวเลย เธอจึงคิดว่าสามีไม่มีสิทธิจะมามีชื่อตัวเองบนบัตรประจำตัวลูก
"ฉันเลี้ยงลูกคนเดียว สามีไม่ยอมหย่ากับฉันเพื่อที่ฉันจะได้ไม่สามารถไปแต่งงานใหม่ได้"
"ฉันขอเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอัฟกานิสถานเปลี่ยนกฎหมาย และระบุชื่อแม่ลงไปในใบแจ้งเกิด"
เริ่มการรณรงค์

ที่มาของภาพ, Laleh Osmany
ลาเลห์ ออสเมนี เป็นผู้หญิงอีกคนหนึ่งที่ไม่พอใจกับธรรมเนียมแบบนี้ และเป็นคนริเริ่มการเคลื่อนไหว WhereIsMyName? เพื่อช่วยให้ผู้หญิงได้สิทธิพื้นฐานที่สุดข้อนี้
เธอบอกว่าการเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระบวนการเรียกร้องให้รัฐบาลกำหนดให้ใส่ชื่อแม่ในใบแจ้งเกิดสำเร็จไปอีกก้าวหนึ่ง
ลาเลห์ บอกว่า การทำข่าวการรณรงค์เคลื่อนไหวนี้ของบีบีซีแผนกภาษาอัฟกันทำให้ มาร์ยัม ซามา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอัฟกานิสถาน เอาเรื่องนี้ไปอภิปรายในรัฐสภา โดยเรียกร้องให้กฎหมายกำหนดให้ใส่ชื่อแม่ลงไปในใบแจ้งเกิด
อย่างไรก็ดี ก็มีกระแสตอบรับในเชิงลบเช่นกันหลังจากมีการโพสต์วิดีโอที่ออสเมนีให้บีบีซีสัมภาษณ์ลงเฟซบุ๊ก บางคนล้อเลียนเธอโดยบอกให้ใส่ชื่อญาติทั้งหมดลงไปในใบแจ้งเกิดด้วย ขณะที่ผู้ชายบางคนบอกว่าเธอออกมาเรียกร้องเพราะเธอไม่รู้ว่าใครเป็นพ่อตัวเอง

ที่มาของภาพ, Getty Images
อย่างไรก็ดี ออสเมนีก็ได้รับแรงสนับสนุนจากคนมีชื่อเสียงในอัฟกานิสถาน ไม่ว่าจะเป็นนักร้องและผู้ผลิตเพลงอย่าง ฟาร์ฮัด ดาร์ยา และนักร้องและนักแต่งเพลงอย่าง อาร์ยานา ซายีด
ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังไม่ได้เห็นเธอ
อาลี คาเวห์ นักมานุษยวิทยาอัฟกานิสถานบอกว่า สังคมชายเป็นใหญ่เป็นเหตุผลหลักในการทั้งปิดบังชื่อ และปกปิดร่างกายของผู้หญิงด้วย
"ในสังคมอัฟกานิสถาน ผู้หญิงที่ดีที่สุดคือคนที่ไม่เคยมีใครได้เห็นและได้ยินถึง จากคำกล่าวที่ว่า "ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ยังไม่ได้เห็นเธอ"..."

ที่มาของภาพ, Shakardokht Jafar
เขาบอกว่าผู้ชายที่เข้มงวดที่สุดคือคนที่ได้รับความเคารพและมีเกียรติสูงสุดในสังคม หากสมาชิกผู้หญิงในครอบครัวมีแนวคิดและพฤติกรรมแบบเสรีนิยม พวกเขาก็จะพลอยเสื่อมเสียเกียรติไปด้วย
ชาการ์ดอคต์ จาฟารี นักฟิสิกส์การแพทย์ชาวอัฟกานิสถานที่ทำงานอยู่ในสหราชอาณาจักรบอกว่า การที่ผู้หญิงจะใช้ชื่อตัวเองได้อย่างเป็นอิสระ พวกเธอต้องมีอิสระทางการเงิน ทางสังคม และทางอารมณ์ด้วย และรัฐบาลควรจัดการผู้ที่กีดขวางไม่ให้ผู้หญิงมีสิทธิ์นี้
เธอบอกว่าในสังคมที่ชายเป็นใหญ่อย่างในอัฟกานิสถาน รัฐบาลต้องใช้กฎหมายเป็นวิธีในการต่อสู้กับความรู้สึกเกลียดชังผู้หญิง
"อยู่บน" - Google News
July 18, 2020 at 05:05PM
https://ift.tt/3eB4HKY
ผู้หญิงอัฟกานิสถานริเริ่มการเคลื่อนไหว WhereIsMyName? เรียกร้องสิทธิในการเปิดเผยชื่อตัวเอง - บีบีซีไทย
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ผู้หญิงอัฟกานิสถานริเริ่มการเคลื่อนไหว WhereIsMyName? เรียกร้องสิทธิในการเปิดเผยชื่อตัวเอง - บีบีซีไทย"
Post a Comment