Search

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แหล่งเงินหลักต่ออายุผู้มีรายได้น้อยจำนวนหนึ่ง - บีบีซีไทย

soho.prelol.com
  • เรื่องโดย ชัยยศ ยงค์เจริญชัย ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
  • วิดีโอโดย ราชพล เหรียญศิริ ผู้สื่อข่าววิดีโอบีบีซีไทย

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

ทุกวันที่ 10 ของเดือน เป็นวันที่นายสุทัศน์ สร้อยศรี ชายวัย 67 ปี ชาวบ้านคลองท้ายเมือง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ตั้งตารอที่สุด เพราะเป็นวันที่เขาจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แต่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมา เขาต้องพบกับความผิดหวังเมื่อภรรยาปั่นรถจักรยานออกจากชุมชนแออัดริมคลองเพื่อไปกดเงินที่ตู้เอทีเอ็มแล้วกลับมาด้วยข่าวร้ายว่าเงินในบัญชียังเป็นศูนย์

"ผมไม่มีรายได้ทางอื่นเลย เงิน 600 คือความหวังของทั้งเดือนเลย ไม่มีใครแจ้งว่าจะออกช้า ทุกครั้งจะได้วันที่ 10 ให้เมียไปกดเงินที่ตู้แต่ไม่มีเงินเข้า มารู้อีกทีก็ตอนเย็น ๆ ค่ำของวันที่ 10 ว่าเงินยังไม่ออกและจะเลื่อนออกไปแบบไม่มีกำหนด" สุทัศน์กล่าวกับบีบีซีไทยคณะที่นั่งอยู่อยู่ที่เฉลียงไม้หน้าบ้านด้วยสีหน้าอันเศร้าสร้อย

บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงของสุทัศน์สร้างอยู่ในชุมชนแออัดที่ตั้งอยู่บนพื้นเลน บ้านของเขาปลูกติด ๆ กันกับบ้านของชาวบ้านหลังอื่น ๆ โดยไม่มีรั้วกั้น ทั้งหมู่บ้านมีสะพานปูนแคบ ๆ เชื่อมหมู่บ้านกับถนนหลักเอาไว้ นอกจากความยากจนและการเดินทางเข้า-ออกอันลำบาก ชาวบ้านคลองท้ายเมืองยังต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมในทุกปี

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

"พอรู้ว่าเลื่อนไปใจก็ห่อเหี่ยว เพราะไม่มีรายได้อะไร พอเงินเข้ามาก็ซื้อข้าวสารมาตุนไว้ กับข้าวก็มีไข่เป็นหลัก ช่วงที่รอเงินมาอยู่ก็ต้องอยู่ไปตามมีตามเกิด" เขากล่าวเสริม

ก่อนหน้าที่สุทัศน์จะเลิกทำงาน เขาทำอาชีพเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างมาตลอดเวลา 40 ปี ก่อนจะมีปัญหาสุขภาพจนต้องเข้ารับการผ่าตัดสมองและทำให้เขาไม่สามารถเดินได้คล่องแคล่วเหมือนแต่ก่อน ด้วยปัญหาสุขภาพที่มีและรายได้ของเขากับภรรยาที่น้อยนิด ทำให้เขาไม่มีเงินเก็บ ก่อนที่จะเลิกทำงาน ลูกหลานของสุทัศน์ก็ไม่สามารถช่วยเหลือเขาได้มากนักเพราะทุกคนต่างก็มีภาระกันหมด หาดพวกเขามีเงินเหลือพอในบางเดือนก็จะช่วยเหลือสุทัศน์โดยการซื้ออาหารแห้งมาให้เขาประทังชีวิตในแต่ละเดือน

ความล่าช้าของการจ่ายเงินมาจากการที่กรมบัญชีกลางประกาศเลื่อนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยคนพิการ สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินไม่เข้าบัญชีผู้รับในวันที่ 10 ก.ย. ตามกำหนด โดยได้ออกมาชี้แจงว่าอยู่ระหว่างดำเนินการแก้ไขอย่างเร็วที่สุดเมื่อเย็นวันนั้น

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

หลังจากที่ถูกวิพากวิจารณ์มาหลายวัน มีรายงานจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยคนพิการ จะจ่ายได้ในวันที่ 17 ก.ย.นี้ โดยกรมบัญชีกลางได้โอนเงินให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น 7 พันล้านบาท ครบถ้วนแล้ว เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา จากเดิมที่มีเงินอยู่เพียง 1,700 ล้านบาท หลังใช้เวลา 5 วันในการตรวจสอบข้อมูล และเบิกเงินคงคลังซึ่งฝากไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อนำไปโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้สูงอายุและผู้พิการที่ได้แจ้งไว้

ล่าสุด เมื่อ 17 ก.ย. น.ส.วิลาวรรณ พยาน้อย รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง แถลงว่า กรมบัญชีกลางได้โอนเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและเบี้ยความพิการประจำเดือนกันยายน 2563 เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้ผู้มีสิทธิในวันที่ 17 แล้ว

แต่ช่วงระหว่างที่ผู้รับเงินจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต้องรอข่าวแบบไร้คำยืนยันที่แน่นอนว่าจะได้รับเงินกันเมื่อไหร่กันแน่ ผู้สูงวัยหลายคนโดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีรายได้อื่นนอกจากเบี้ยยังชีพตัวนี้ต้องเผชิญกับความเดือนร้อนและความกังวลอย่างมาก บางคนต้องไปหยิบยืมคนอื่นเพื่อประทังชีวิตระหว่างรอ ในขณะที่บางคนก็เลือกที่จะอยู่ไปตามยถากรรมจนกว่าเงินจะเข้าบัญชี

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

"เงิน 600 บาทมีความหมายกับป้ามาก เพราะเป็นเงินประทังชีวิตของเราในทุกเดือน บางครั้งซื้อข้าวมากล่องหนึ่งก็ต้องแบ่งกินทีละครึ่งเอาไว้มื้อเช้ากับมื้อเย็นเพื่อให้อยู่รอดไปแต่ละเดือน" ดุษฎี กรวยปรีชา ผู้สูงวัยในชุมชนเดียวกัน ต้องมีชีวิตอยู่ไปตามมีตามเกิดในวัย 62 ปีโดยไร้คนดูแล

เนื่องจากดุษฎีไม่เคยแต่งงาน จึงทำให้เธอไม่มีลูกหลานคอยดูแล โชคยังดีที่เธอมีญาติที่ให้ที่พักอาศัยกับเธอแต่เธอก็เลือกที่จะใช้พื้นที่เล็ก ๆ ที่เจ้าของบ้านแบ่งให้เอาไว้เพื่อหลับนอนเท่านั้น โดยช่วงกลาวงวันจะออกมานั่งที่เพิงขายอาหารข้างถนนเพื่อที่จะได้ไม่ต้องใช้ไฟที่บ้าน เธอจะนั่งอยู่ในเพลิงตั้งแต่เช้าจนเย็นก่อนจะกลับเข้าบ้านไปเพื่ออาบน้ำและเข้านอนทุกวัน

นอกเหนือกจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600 บาท ดุษฎียังพอหารายได้เสริมบ้างจากการรับร้อยพวงมาลัยทุกวันพระ โดยเธอจะได้ค่าตอบแทนอยู่ที่ 350 - 400 บาทต่อวัน และรับนวดตามบ้านบ้างเป็นบางครั้งโดยเธอจะได้ค่าตอบแทนครั้งละ 100 บาท

"รายได้หลักคือเบี้ยสูงอายุ แต่ถ้าเงินไม่พอก็จะมารับจ้างร้อยมาลัย ทำความสะอาดบ้าน นวด ก็แล้วแต่ว่าใครจะให้ไปทำอะไรก็ทำหมด เพื่อจะได้อยู่รอด" ดุษฎีกล่าว

"ตอนนี้ที่เงินเบี้ยยังชีพคนชราออกล่าช้าก็ต้องไปขอยิมเงินเพื่อมา 100 บาท ไม่กล้ายืมมากกว่านี้เพราะกลัวว่าจะไม่มีใช้คืน เรากินอยู่อย่างอดอยาก จะหากินก็ลำบาก" เธอพูดพลางร้องไห้

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ระบุทางเว็บไซต์ว่า แหล่งที่มาของเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มาจากภาษีสรรพสามิต โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เพื่อเพิ่มอำนาจกองทุนผู้สูงอายุในการบริหารจัดการเงินบำรุงจากภาษีดังกล่าว นอกจากนี้ จะมีการรณรงค์ให้ผู้สูงอายุที่มีฐานะดี บริจาคหรือสละสิทธิ์เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยจะมอบเหรียญกษาปณ์ เพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติให้กับผู้สูงอายุที่สละสิทธิ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นสิทธิที่ผู้สูงอายุทุกคนได้รับ โดยคุณสมบัติของผู้สูงอายุที่ได้รับ คือ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ปัจจุบัน เป็นการให้เงินช่วยเหลือแบบขั้นบันได ตามระดับอายุ คือ อายุ 60 - 69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 600 บาท อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 700 บาท อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพ 1,000 บาท

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาชี้แจงเมื่อวันที่ 14 ก.ย. ว่าการจ่ายเบี้ยคนพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ยืนยันว่า ทั้งกรมบัญชีกลาง สำนักงบประมาณ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ดำเนินการจัดสรรงบประมาณสำหรับจ่ายเบี้ยคนพิการและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

หลังจากได้มีการปรับปรุงตัวเลขจากเดิมที่ตั้งเบิกจ่ายไว้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น 184,538 ราย จำนวนผู้พิการเพิ่มขึ้น 265,608 ราย ประกอบกับการพัฒนาการโอนตรงด้วยระบบ E-Payment เพื่อเป็นการจ่ายเบี้ยสู่บัญชีธนาคารของคนพิการและผู้สูงอายุโดยตรง ซึ่งมีสูงถึงร้อยละ 80 ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 20 ซึ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะทำหน้าที่จ่ายเบี้ยเป็นเงินสด

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรียืนยันว่า หลังจากการการปรับปรุงระบบจากนี้ไป การชำระเงินให้กับผู้มีสิทธิจะมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะเมื่อผู้สูงอายุหรือผู้พิการได้ขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปทันทีโดยไม่ต้องรอการประกาศสิทธิ์เหมือนในอดีต

นายอนุชากล่าวเพิ่มเติมถึงความล่าช้าในการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 ตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของผู้สภาผู้แทนราษฎร ในวาระที่ 2 และ 3 ในช่วงสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจมีความล่าช้าไม่เกิน 1 อาทิตย์ และสำนักงบประมาณจะนำเรื่องดังกล่าวแจ้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ เนื่องจากต้องมีการใช้งบประมาณประจำปี 2563 ไปพลางก่อน

ขณะที่นายประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า การจ่ายเบี้ยคนชราและคนพิการที่ล่าช้าไม่ใช่เพราะรัฐบาลมีปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่เกิดจากกระบวนการทางงบประมาณที่ต้องนำงบส่วนอื่นมาชดเชย และการคำนวณจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งในรายละเอียดไม่ได้มีผลกระทบอะไร ยังสามารถเบิกจ่ายได้เหมือนเดิม

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
September 18, 2020 at 03:15PM
https://ift.tt/35L50C3

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แหล่งเงินหลักต่ออายุผู้มีรายได้น้อยจำนวนหนึ่ง - บีบีซีไทย
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แหล่งเงินหลักต่ออายุผู้มีรายได้น้อยจำนวนหนึ่ง - บีบีซีไทย"

Post a Comment

Powered by Blogger.