ชานด์เลอร์ กว๋อ เป็นผู้บุกเบิกคริปโตเคอร์เรนซี (cryptocurrency) หรือ สกุลเงินดิจิทัลที่ถูกสร้างขึ้นและใช้งานอย่างเป็นอิสระจากธนาคารกลางและรัฐบาล
ในปี 2014 เขาได้ดำเนินการผลิตหนึ่งในสกุลเงินดิจิทัลคือ บิตคอยน์ (Bitcoin) ในสถานที่ที่ไม่เปิดเผยแห่งหนึ่งทางตะวันตกของจีน
"การขุด" บิตคอยน์ เป็นธุรกิจที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก เพราะต้องใช้คอมพิวเตอร์หลายสิบเครื่อง ดังนั้นเขาจึงใช้ไฟฟ้าจากสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำโดยเป็นหุ้นส่วนกับเจ้าหน้าที่ทางการรัฐบาลท้องถิ่น
ในช่วงที่คอมพิวเตอร์ของเขาทำงานหนักที่สุด สามารถผลิตบิตคอยน์ได้ 30% ของทั้งโลก เขาเชื่อว่า สักวันหนึ่ง บิตคอยน์ จะเปลี่ยนโลก และมาแทนที่เงินสกุลดอลลาร์
แต่ตอนนี้เขากำลังเห็นความพยายามใหม่ของทางการจีนในการสร้างระบบการชำระเงินที่รู้จักกันในชื่อ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์สกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency Electronic Payment--DCEP)
มันคือ เงินหยวน สกุลเงินทางการของจีนในรูปแบบดิจิทัล และนายกว๋อ คิดว่า DCEP จะกลายเป็นสกุลเงินที่ครอบงำโลกนี้ "สักวันหนึ่ง ทุกคนในโลกจะใช้ DCEP" เขากล่าว
"DCEP จะประสบความสำเร็จ เพราะว่า มีคนจีนอยู่นอกประเทศจีนจำนวนมหาศาล มีคนจีนประมาณ 39 ล้านคนอาศัยอยู่ในต่างประเทศ"
"ถ้าพวกเขาต้องติดต่อกับจีน พวกเขาจะใช้ DCEP พวกเขาทำให้ DCEP กลายเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศได้"
แต่มีคำถามเกิดขึ้นว่า มันจะประสบความสำเร็จหรือไม่ และมีความกังวลว่า รัฐบาลจีนจะใช้เงินดิจิทัลในการสอดแนมพลเมือง
ไม่ต่างจากบิตคอยน์ DCEP ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) ซึ่งเป็นบัญชีดิจิทัลประเภทหนึ่งที่ถูกใช้ในการตรวจสอบธุรกรรมต่าง ๆ
บล็อกเชน ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการบันทึกธุรกรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นในเครือข่าย และผู้ใช้งานจะร่วมมือกันในการตรวจสอบธุรกรรมใหม่ที่เกิดขึ้น
ในทางปฏิบัติ นั่นหมายความว่า ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องใช้ธนาคาร ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพวกเขาต้องการจ่ายเงินให้กัน ก็อาจจะใช้เพียงแค่โทรศัพท์
จีนวางแผนที่จะออก DCEP ในปีนี้ แต่จนถึงตอนนี้ ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ยังไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนสำหรับการเปิดตัวทั่วประเทศ
จีนได้เริ่มทดสอบสกุลเงินดิจิทัลแล้วในปีนี้ตามเมืองหลายแห่ง เมื่อมีการใช้งาน จีนจะอนุญาตให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์มาไว้ในบัตรธนาคาร เพื่อโอนเงินและทำธุรกรรมต่าง ๆ
"มันยากที่จะทำนายลำดับเวลา แต่ธนาคารกลางกำลังเผชิญแรงกดดันอย่างหนักให้เร่งพัฒนา เพราะพวกเขาไม่อยากอยู่ในโลกที่ลิบรา(Libra สกุลเงินดิจิทัลของเฟซบุ๊ก) กลายเป็นสกุลเงินของโลก ซึ่งพวกเขาคิดว่า จะเลวร้ายยิ่งกว่าระบบการเงินโลกในปัจจุบันที่ถูกควบคุมโดยสหรัฐฯ" หลิงเหา เป่า นักวิเคราะห์จากทริเวียม (Trivium) ที่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง กล่าว
ผู้สังเกตการณ์หลายคนบอกว่า จีนต้องการทำให้เงินหยวนเป็นสากล เพื่อที่จะได้แข่งขันกับดอลลาร์ได้
"รัฐบาลจีนเชื่อว่า ถ้าบางประเทศสามารถใช้สกุลเงินของจีนได้ด้วย ก็จะสามารถทำลายอธิปไตยทางการเงินของสหรัฐฯ ได้ สหรัฐฯ ได้สร้างเครื่องมือและระบบการเงินของโลกในปัจจุบัน" ผู้สังเกตการณ์สกุลเงินดิจิทัลของจีนที่ไม่เปิดเผยตัวตนและรู้จักกันในชื่อว่า บิตฟูล (Bitfool) กล่าว
บิตฟูล สนใจด้านเทคโนโลยี เคยทำงานในภาคการลงทุนในกิจการที่มีความเสี่ยง ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับบริษัทอินเทอร์เน็ตของจีนหลายแห่ง เขาเริ่มศึกษาบิตคอยน์และเชื่อว่า สกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ เป็นสกุลเงินแห่งอนาคต
เรื่องที่คุณอาจสนใจ:
"ระบบธนาคารแบบดั้งเดิมบางแห่ง ไม่สามารถให้บริการในประเทศที่มีความยากจนได้ ในระบบเดิม ถ้าคุณมีเงินเพียง 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 300 บาท) ธนาคารไม่สามารถทำเงินได้จากคุณ แต่สกุลเงินดิจิทัล ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาได้ ขีดจำกัดของการเข้ามาต่ำมาก" เขากล่าว
แม้ว่าเฟซบุ๊กได้ปรับลดขนาดแผนการออก ลิบรา (Libra) สกุลเงินดิจิทัลของตัวเองลง แต่ก็ยังสร้างความกังวลให้แก่จีน ยักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียแห่งนี้วางแผนที่จะออกกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ชื่อว่า โนวี (Novi) ในปีนี้ โดยมันจะทำงานเหมือนกับแอปพลิเคชันหนึ่งที่แยกตัวออกมา แต่สามารถใช้งานได้ในเมสเซนเจอร์ (Messenger) และวอตส์แอปป์ (WhatsApp)
"ทั้งสองฝ่ายต่างเข้าร่วมสงครามการเงินแน่ แม้ว่าจะยังไม่ได้มีการเผชิญหน้ากันมากนัก" หลิงเหา เป่า กล่าว
ผู้สังเกตการณ์อย่าง บิตฟูล เชื่อว่า จีนนำหน้าสหรัฐฯ ไปแล้ว ในเรื่องของการต่อสู้กันด้านเงินแห่งโลกอนาคต
ผู้คนในวงกว้างมองว่า ระบบการชำระเงินของจีนมีความทันสมัยที่สุดในโลก
จีนกำลังเข้าใกล้การเป็นสังคมไร้เงินสด โดยในปี 2019 การชำระเงินของจีน 4 ใน 5 ทำผ่าน วีแชตเพย์ (WeChat Pay) ของเทนเซ็นต์ (Tencent) หรือไม่ก็อาลีเพย์ (Alipay) ของอาลีบาบา (Alibaba)
"อเมริกาเป็นผู้นำระบบการเงินโลก แต่พวกเขาไม่มีแรงจูงใจเหมือนจีนในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง [กับสกุลเงินดิจิทัล]" บิตฟูล กล่าว
"จีนต้องการแบ่งอำนาจนี้ แต่สำหรับอเมริกา ลิบราเป็นเพียงแค่แผนสำรอง"
"ในประเทศที่ยากจน และในจีนด้วย มีผู้คนจำนวนมากที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้าน พวกเขาไม่ได้มีเงินมาก แต่พวกเขาใช้สมาร์ตโฟน ถ้าคุณซื้อสมาร์ตโฟนได้ คุณก็ใช้ DCEP ได้"
อย่างไรก็ตาม DCEP จะยังคงถูกรวมศูนย์และบริหารจัดการโดยทางการ ต่างจากบิตคอยน์ หรือ อีเธอเรียม (Ethereum) ที่เป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐ
ผู้ที่สนใจในบิตคอยน์จำนวนมาก เกรงว่า พรรคคอมมิวนิสต์จีนจะใช้ DCEP เป็นเครื่องมือในการควบคุมพลเมืองของตัวเองให้มากขึ้นผ่านการสอดแนม เจ้าหน้าที่ทางการจะสามารถตรวจสอบได้ว่า มีการใช้เงินมากแค่ไหนในแต่ละเวลาในขณะนั้น พวกเขาจะควบคุม DCEP ได้ไม่ต่างจากการควบคุมเงินหยวน
รัฐบาลจีนควบคุมเงินหยวนอย่างเข้มงวด และอัตราการแลกเปลี่ยนเงินหยวนก็เป็นต้นตอของความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนด้วย สหรัฐฯ กล่าวหาจีนว่า ทำให้เงินหยวนอ่อนค่าเพื่อให้เป็นผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของจีนเอง
"DCEP เป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับบิตคอยน์ เป้าหมายสูงสุดของสกุลเงินดิจิทัลคือ การแยกออกมาจากเงินและรัฐ" สจ๊วต แม็กเคนซี ผู้เชี่ยวชาญด้านสกุลเงินดิจิทัล ที่อยู่ในฮ่องกง กล่าว "พวกเขาพูดง่าย ๆ ว่า มันเหมือนกับบิตคอยน์ ทั้งที่จริงแล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง"
หลิงเหา เป่า เห็นด้วย "DCEP ถูกสร้างขึ้นมาจากแนวคิดที่ต้องการควบคุมจากศูนย์กลาง แต่คุณค่าของบิตคอยน์อยู่ที่ การกระจายอำนาจ และการแยกตัวออกมาจากระบบการเงิน" นายเป่า กล่าว
"ผมไว้ใจบิตคอยน์มากกว่า เพราะมันเป็นของผมจริง ๆ" บิตฟูล กล่าว
"มันใช้งานได้" - Google News
September 26, 2020 at 12:45PM
https://ift.tt/3mV92hm
DCEP สกุลเงินดิจิทัลของจีนจะครองโลกหรือไม่ - บีบีซีไทย
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "DCEP สกุลเงินดิจิทัลของจีนจะครองโลกหรือไม่ - บีบีซีไทย"
Post a Comment