Search

40 ปี "ซี-130 เฮอร์คิวลิส" จอมพลังทัพฟ้า สัญลักษณ์แห่งความหวังคู่คนไทย - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

นับตั้งแต่ต้นแบบจนถึงรุ่นล่าสุด มีเครื่องบิน ซี-130 ที่ออกจากสายการผลิต ของโรงงานล็อกฮีด ส่งมอบให้ลูกค้ากองทัพชาติต่างๆ มากมายหลายรุ่น ได้แก่

ส.ค.ปี 1954 เที่ยวบินแรกของเครื่องต้นแบบ วายซี-130 เอ

ธ.ค.ปี 1956 ซี-130 เอ เข้าประจำการ (ผลิตมาทั้งสิ้น 231 ลำ)

พ.ย.ปี 1958 ซี-130 บี เข้าประจำการ (ผลิตมาทั้งสิ้น 230 ลำ)

มิ.ย.ปี 1961 ซี-130 อี เข้าประจำการ (ผลิตมาทั้งสิ้น 491 ลำ)

ก.พ.ปี 1965 แอล-100 (ซี-130 รุ่นพลเรือน) ผ่านการรับรองของเอฟเอเอ มี แอล-100 ถูกผลิตและส่งมอบให้ลูกค้า 115 ลำ

มี.ค.ปี 1965 ซี-130 เอช เข้าประจำการ (ซี-130 เอช ผลิตมาทั้งสิ้น 1,202 ลำ ถือเป็นรุ่นที่ขายดีมากที่สุด)

ต.ค.ปี 1968 แอล-100-20 ถูกส่งมอบให้ลูกค้าใช้งาน

ธ.ค.ปี 1970 แอล-100-30 ถูกส่งมอบให้ลูกค้าใช้งาน

ก.ย.ปี 1980 ซี-130 เอช-30 (C-130 H-30) เข้าประจำการ ซี-130 รุ่นนี้จะมีลำตัวยาวกว่า ซี-130 เอช รุ่นปกติ

เม.ย.ปี 1996 เที่ยวบินแรกของ ซี-130 เจ ซุปเปอร์เฮอร์คิวลิส โดยบินขึ้นจากโรงงานในมาริเอต้า จอร์เจีย

พ.ย.ปี 1998 เริ่มผลิต ซี-130 เจ ซุปเปอร์เฮอร์คิวลิส ที่โรงงานเพื่อส่งให้กับลูกค้า (ถึงปี 2018 ผลิตไปแล้วกว่า 400 ลำ)


ซี-130 ในกองทัพอากาศไทย

นับตั้งแต่วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2523 หรือเมื่อ 40 ปีที่เเล้ว เครื่องบินลำเลียงแบบ ซี-130 เฮอร์คิวลิส (C-130H HERCULES) ลำแรกได้เดินทางถึงประเทศไทย เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงขนาด 2 เครื่องยนต์แบบ ซี-123 โพรไวเดอร์ จนถึงปัจจุบันซี-130 มีชั่วโมงบินกว่า 140,000 ชม. ที่รับใช้ในกองทัพอากาศ ซี-130 อยู่ในทุกเหตุการณ์สำคัญของคนไทยมาตลอด 

เครื่องบิน C-130H ได้ปฏิบัติภารกิจสำคัญหลากหลายภารกิจ อาทิ เป็นเครื่องบินพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เพื่อเสด็จฯ เยี่ยมสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งประชวรอยู่ที่ พระตําหนักดอยตุง จ.เชียงราย ภารกิจลำเลียงทางอากาศรับคนงานไทยในประเทศสาธารณรัฐเกาหลี การส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ การควบคุมไฟป่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติภารกิจเพื่อช่วยเหลือประชาชน สนับสนุนการลำเลียงสิ่งของและคณะค้นหาช่วยชีวิตจากหน่วยงานต่างๆ ในภารกิจช่วยเหลือ “ทีมหมูป่า” ณ ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย การเสริมสร้างสันติสุขใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ภารกิจลำเลียงของบริจาคเพื่อเยียวยาผู้ประสบภัย ลำเลียงผู้บาดเจ็บและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนทั้งในและต่างประเทศ


พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) กล่าวถึงเครื่องบิน ซี-130 ตอนหนึ่งว่า ตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมาที่ ซี-130 หรือ Lucky เข้าประจำการภารกิจทั้งในและต่างประเทศ เช่น การรับส่ง วีไอพี การปฏิบัติการทางทหารตลอดจนถึงการบรรเทาภัยพิบัติ ในปัจจุบันยังคงทำหน้าที่เป็นกำลังหลัก ในการสนับสนุนภารกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การช่วยเหลือประชาชน ลำเลียงสิ่งของไปมอบให้ประชาชนเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข


อัปเกรดใหญ่เพื่อรองรับอนาคต

ปัจจุบัน ซี-130 ก็ยังคงรับใช้คนในกองทัพอากาศในทุกกองบิน ในครั้งแรกที่ได้เข้าร่วมพัฒนาขีดความสามารถของซี-130 ในปี 2548 โดยการอัปเกรด และ รีเฟอร์บิช เป็นครั้งใหญ่ จนถึงปัจจุบันจึงต้องพัฒนาขีดความสามารถโดยเฉพาะหน้าจอหน้าที่นั่งนักบินที่เสื่อมสภาพลง ก็จะมีการเปลี่ยนใหม่ ให้เป็นดิจิทัลกลาสค็อกพิท โดยการปรับปรุงนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปใส่ รวมถึงระบบช่วยทำการบิน ที่จากนี้ต้องดำเนินการต่อเนื่องต่อไป รวมทั้งการเพิ่มความแข็งแรงให้กับโครงสร้าง เพื่อยิดอายุการใช้งานให้นานที่สุด

โดยเมื่อปี 2562 ได้มีการอนุมัติโครงการอัปเกรดเครื่องยนต์ใหม่ชุดแรกให้กับซี-130 แบบ Rolls-Royce T56 Series 3.5 เป็นเครื่องยนต์รุ่นที่ปรับปรุงให้เครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules โดยเครื่องยนต์รุ่นนี้มีคุณสมบัติ

1. ประหยัดเชื้อเพลิงและค่าปฏิบัติการการบินขึ้นอีก 10-12%
2. รองรับการปฏิบัติการในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูงแบบประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เนื่องจากประหยัดเชื้อเพลิง จึงเพิ่มพิสัยการบินจากเครื่องยนต์รุ่นเดิม 10%

พล.อ.อ.มานัต วงษ์วาทย์ ผบ.ทอ. กล่าวว่า ทอ.ไทย ได้วางแผนระยะยาวก่อนถึงปี 2580 โดย ซี-130 ก็จะอยู่กับพวกเราตลอดไป โดยจะมีการพัฒนาความสามารถของดาต้าลิงก์ให้มากขึ้น เพื่อให้การปฏิบัติภารกิจมีความแม่นยำ จากประสบการณ์การดับไฟป่า รวมถึงการทิ้งสิ่งของลงมา โดยกองทัพอากาศได้พัฒนาระบบ จีพีเอส รางคู่ ที่ต้องการความแม่นยำมากขึ้น โดยจะมี Data Link ที่เป็น Link Thailand จะถูกใส่ลงไปอีก 5 ปีนับจากนี้

ก่อนหน้านี้ จากการที่กองทัพอากาศ เผยแพร่ สมุดปกขาว พ.ศ.2563หรือ RTAF White Paper 2020 โครงการจัดหายุทโธปกรณ์ในระยะ 10 ปีอย่างชัดเจน ในส่วนของเครื่องบินลำเลียง ในปีงบประมาณ 65 และ 67 มีแผนจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทนอยู่ด้วยเช่นกัน หลายฝ่ายจึงเชื่อว่า การที่กองทัพอากาศมาปรับปรุง ซี-130 ที่มีอยู่อาจหมายความว่า การซื้อเครื่องบินทดแทนน่าจะต้องเลื่อนออกไป จนกว่าจะได้เวลาที่เหมาะสม

การที่ ซี-130 จะอยู่คู่ท้องฟ้าไทยไปอีก 20 ปี ทำให้กองทัพอากาศจึงมีการประคบประหงมดูแลบำรุงรักษาเครื่องบินให้ได้สม่ำเสมอ เพื่อที่จะใช้งานไปได้จนโครงสร้างเครื่องบินหมดอายุ ทั้งนี้ต้องชื่นชมเจ้าหน้าที่ช่างซ่อมบำรุง และผู้เกี่ยวข้องของฝูงบิน 601 ที่ดูแลเฮอร์คิวลิสจอมพลังเป็นอย่างดี ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 12 ลำอยู่กันครบ พร้อมปฏิบัติงานในทุกสถานการณ์ จนผู้เขียนขอยกให้ ซี-130 คือ เครื่องบินลำเลียงที่ดีที่สุด เท่าที่ไทยเคยมีมาและเชื่อได้ว่าไม่ว่าจะประเทศจะเกิดเหตุการณ์ใดๆ หรือจะเป็นภัยพิบัติที่ชาวบ้านเดือดร้อน เมื่อนั้นเราจะเห็น ซี-130 ติดเครื่องบินขึ้นฟ้า และโอกาสและความหวังจะมีให้เราเห็นเสมอ.

ผู้เขียน : จุลดิส รัตนคำแปง

ที่มา      : วิกิพีเดีย

           : ล็อกฮีดมาร์ติน

           :  ไทยรัฐออนไลน์

ภาพโดย : ศูนย์ข้อมูลไทยรัฐ

Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
September 26, 2020 at 11:20AM
https://ift.tt/3jbd82U

40 ปี "ซี-130 เฮอร์คิวลิส" จอมพลังทัพฟ้า สัญลักษณ์แห่งความหวังคู่คนไทย - ไทยรัฐ
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "40 ปี "ซี-130 เฮอร์คิวลิส" จอมพลังทัพฟ้า สัญลักษณ์แห่งความหวังคู่คนไทย - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.