แฟนหนัง “ฅนเหล็ก” โดยเฉพาะ “ฅนเหล็ก 2029” ภาค 2 ที่โด่งดังมากในปี พ.ศ.2534 ซึ่งหุ่นยนต์ตัวร้ายนักฆ่าถูกส่งมาจากโลกอนาคต สามารถแปลงร่างเป็นใครก็ได้ ถึงจินตนาการเรื่องการข้ามมิติเวลานั้นยังไม่มีทางเป็นจริง แต่การสร้างโลหะเหลวที่เปลี่ยนรูปร่างได้แบบในหนังก็ใกล้ความจริงแล้ว
เมื่อเร็วๆนี้ พู จาง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมเครื่องกลที่มหาวิทยาลัยบิงแฮมตัน ในสหรัฐอเมริกา เผยว่า แม้เขาจะไม่เคยดูหนังเรื่องนี้เลย แต่ก็กำลังทำงานร่วมกับ 2 นักศึกษาปริญญาเอก พัฒนาสิ่งที่เรียกว่า “ตาข่ายโลหะเหลวชิ้นแรกของโลก” ทำจากโลหะที่รู้จักในชื่อ Field’s alloy มักใช้เป็นสารหล่อเย็นโลหะเหลวในวิศวกรรมนิวเคลียร์ Field’s alloy นำมาผสมกับธาตุบิสมัท อินเดียม และดีบุก กลายเป็นของ เหลวที่จุดหลอมเหลวค่อนข้างต่ำ ผ่านกระบวนการผลิตแบบไฮบริด ที่รวมการพิมพ์ 3 มิติ การหล่อสุญญากาศ การเคลือบตามมาตรฐานที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อป้องกันความชื้นฝุ่น สารเคมี และอุณหภูมิที่สูงมาก
ทีมเผยว่าเมื่อโลหะเหลวอยู่ในสถานะของแข็งจะปลอดภัยและแข็งแรงมาก มันดูดซับพลังงานได้มาก หลังจากที่โดนความร้อนและความเย็น มันจะกลับสู่รูปร่างดั้งเดิมและนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การวิจัยโลหะเหลวใหม่นี้มีความเป็นไปได้ต่อการใช้งานในอวกาศ เช่น ออกแบบดาวเทียมที่บรรจุโครงข่ายใยแมงมุมลงในแพ็กเกจขนาดเล็ก แล้วคลี่ออกเป็นเสาอากาศเมื่ออยู่ในวงโคจร หรืออาจใช้กับโครงสร้างการตั้งถิ่นฐานบนดวงจันทร์หรือดาวอังคารในอนาคต โดยอาจใช้พื้นที่น้อยกว่าบนยานสำรวจและขยายออกได้เมื่อนักบินอวกาศไปถึงจุดหมายปลายทาง พู จาง เผยว่า ความฝันของตนคือการสร้างหุ่นยนต์โลหะเหลวที่เงางาม และไม่ใช่ตัวร้ายแบบในหนังดัง.
Credit : Pu Zhang
อ่านเพิ่มเติม...
"มันใช้งานได้" - Google News
May 18, 2020 at 08:01AM
https://ift.tt/2WCSj7o
วิจัยโลหะเหลวกับการใช้งานในอวกาศ - ไทยรัฐ
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "วิจัยโลหะเหลวกับการใช้งานในอวกาศ - ไทยรัฐ"
Post a Comment