Search

"Black Death" กาฬโรค…คืนชีพ - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

กาฬโรค เป็นหนึ่งในโรคภัยไข้เจ็บที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เกิดจากแบคทีเรียที่ชื่อ “เยอร์ซีเนีย เพสติส” (Yersinia Pestis) ซึ่งอาศัยอยู่ในสัตว์บางชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ฟันแทะขนาดเล็ก เช่น หนู และกระรอก รวมถึงหมัดที่อยู่บนตัวมัน

ส่วนกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ที่เพิ่งพบผู้ป่วยรายล่าสุดในจีนเป็นกาฬโรคชนิดที่พบบ่อยในมนุษย์ ชื่อของมันมาจากอาการที่เกิดจากโรคนั่นคือ อาการอักเสบและปวดบวมที่ต่อมน้ำเหลือง หรือบริเวณขาหนีบ และรักแร้

แม้คนจำนวนมากจะคิดว่า กาฬโรคหมดไปจากโลกแล้ว แต่จริงๆในระหว่างปี ค.ศ. 2010-2015 มีผู้ป่วยกาฬโรค 3,248 รายทั่วโลก ในจำนวนนี้ 584 รายเสียชีวิต

อาการของกาฬโรคต่อมน้ำเหลืองจะเริ่มแสดง หลังจากติดเชื้อแล้วประมาณ 2-6 วัน เริ่มจาก มีไข้และหนาวสั่น รวมถึงปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย และต่อมน้ำเหลืองบวม เจ็บ หรือมีความรู้สึกไว อย่างน้อย 1 จุด เช่น ที่ขาหนีบ รักแร้ หรือคอ ซึ่งอาจจะโต ขนาดประมาณไข่ไก่ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อปอด ทำให้ไอ เจ็บหน้าอก และหายใจลำบากด้วย

โรคนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทัน ท่วงที อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ในร่างกาย และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดก็จะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เนื้อเยื่อถูกทำลาย อวัยวะล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

การติดเชื้อกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกตัวหมัดที่มีเชื้อแบคทีเรียก่อโรคกัด สัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น หนู สูดหายใจเอาละอองฝอยจากการไอจามของคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อเข้าไป สัตว์เลี้ยง เช่น แมว และสุนัข สามารถติดเชื้อกาฬโรคได้จากการถูกหมัดกัดหรือการกินสัตว์ฟันแทะที่ติดเชื้อ โดยเชื้ออาจเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผลเปิดที่ผิวหนัง หากบุคคลนั้นสัมผัสกับเลือดสัตว์ที่ติดเชื้อ

ประกาศเตือนภัยครั้งล่าสุดของจีนได้สั่งห้ามการล่าและกินเนื้อสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค โดยเมื่อเดือน พ.ค.ปีที่แล้ว พบว่ามีผู้ป่วย 2 คน เสียชีวิตด้วยกาฬโรคที่มองโกเลีย จากการติดเชื้อภายหลังรับประทานเนื้อกระรอกดิบ ซึ่งชาวมองโกเลียเชื่อว่าเนื้อกระรอกดิบและไตของมันเป็นยาพื้นบ้านที่ดีต่อสุขภาพ แต่สัตว์ชนิดนี้เป็นพาหะของแบคทีเรียก่อกาฬโรคและที่น่ากลัวไปกว่านั้น ก็คือ ศพของผู้เสียชีวิตจากกาฬโรคสามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ผ่านการสัมผัสใกล้ชิด เช่น ผู้ที่รับหน้าที่เตรียมศพสำหรับการฝัง ฯลฯ การรักษาโรคนี้ สำคัญที่สุดต้องทำอย่างทันท่วงที ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้มักทำให้อาการรุนแรงถึงชีวิตได้ ส่วนการวินิจฉัยโรค ใช้การทดสอบในห้องปฏิบัติการ และการตรวจตัวอย่างเลือดรวมทั้งส่วนอื่นๆ ซึ่งถ้าทำได้รวดเร็ว โอกาสที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้ก็มีมากขึ้น

ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ที่ก็ดูเหมือนจะทำให้โลกทั้งโลกตกอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว การกลับมาของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง ก็ส่งสัญญาณอันตรายไม่แพ้กัน โดยไม่นานมานี้ พบการระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก และมาดากัสการ์ แม้จะไม่ใช่การระบาดใหญ่ แต่ก็เป็นสิ่งที่ยืนยันว่า กาฬโรคยังคงมีอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วโลก

ยิ่งไปกว่านั้น การคืนชีพของกาฬโรค หรือ มฤตยูดำ (Black Death) ยังมีเรื่องราวใหม่ๆให้สะพรึงกลัวมากขึ้น เมื่อผลการศึกษาล่าสุดของ มหาวิทยาลัยออสโลของนอร์เวย์ และมหาวิทยาลัยเฟอร์ราราของอิตาลี ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ PNAS ระบุว่า พบหลักฐานที่ชี้ว่าความเชื่อเรื่องหนูเป็นตัวการแพร่เชื้อกาฬโรคในยุโรปยุคกลางนั้นไม่เป็นความจริง แต่มนุษย์ด้วยกันต่างหากคือพาหะของโรคที่อันตรายยิ่งกว่า

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้วงการวิทยาศาสตร์และประวัติศาสตร์การแพทย์เชื่อว่า หมัดที่อาศัยอยู่กับตัวหนูสามารถกัดและแพร่เชื้อกาฬโรค จนเป็นเหตุให้เกิดโรคระบาดแพร่ไปอย่างรวดเร็ว คร่าชีวิตผู้คนในยุโรปถึง 25 ล้านคน ระหว่างปี 1347-1351

แต่ผลการศึกษาล่าสุด ซึ่งใช้ข้อมูลเรื่องการระบาดและการตายของประชากรในเมือง 9 แห่งของยุโรป ที่มีการจดบันทึกไว้เป็นอย่างดีมาวิเคราะห์ พบว่า มีข้อมูลของเมืองถึง 7 ใน 9 แห่ง ที่สอดรับกับวงจรการระบาดจากตัวหมัดและเหาที่อยู่ตามร่างกายและเสื้อผ้าของมนุษย์เอง

ศ.นีลส์ สเตนเซธ ผู้นำคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยออสโล บอกว่า การติดต่อผ่านปรสิตในมนุษย์จะทำให้เชื้อกาฬโรคระบาดไปได้อย่างรวดเร็วเป็นวงกว้างมากที่สุด เพราะเป็นการแพร่เชื้อจากคนสู่คนโดยตรง ในขณะที่การระบาดจากหมัดหนูจะช้ากว่า เพราะเชื้อต้องไปใช้เวลาผ่านวงจรชีวิตของหนูมาก่อนที่จะมาถึงคน

ปัจจุบันยังคงมีการระบาดของกาฬโรคอยู่บ้างในบางพื้นที่ของภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และบางส่วนของทวีปอเมริกา โดยยังคงมีเชื้อกาฬโรคหลงเหลืออยู่ในประชากรหนูแถบนั้นและเมื่อปี 2001 มีการถอดรหัสพันธุกรรมเชื้อกาฬโรค โดยใช้เชื้อที่ได้จากสัตวแพทย์ผู้เสียชีวิตในสหรัฐฯ เมื่อปี 1992 หลังติดเชื้อกาฬโรคจากแมวที่จามใส่เขา หลังเขาพยายามช่วยมันขึ้นมาจากใต้ถุนบ้าน

และล่าสุดในประเทศไทย เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมามีรายงานการเกิดกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African Horse Sickness-AHS) ทำให้ม้าในฟาร์มหลายแห่งทยอยตายลงไม่น้อยกว่า 100 ตัว โดยยังไม่ทราบสาเหตุการเข้ามาของกาฬโรคม้า ในครั้งนี้.

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
July 11, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2Zi2RdF

"Black Death" กาฬโรค…คืนชีพ - ไทยรัฐ
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to ""Black Death" กาฬโรค…คืนชีพ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.