Search

ชำแหละงบสำนักนายกฯ ซ้ำซ้อนหลายหน่วยงาน-ล้มเหลว-ไร้ผลงาน "สาทิตย์"ตอก สภาพัฒน์ฯทำตัวเป็นอาจารย์ตรวจข้อสอบเองตีกลับโครงการสู้ภัยโควิด - สยามรัฐ

soho.prelol.com

เมื่อวันที่ 16 ก.ย.ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาร่างพรบ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 64 ต่อมานพ.
วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล  กล่าวว่า งบประมาณของสำนักนายกรัฐมนตรีลดไป 5 % เท่านั้น ทั้งที่สามารถลดลงได้ เช่น สำนักเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรีมีงบประมาณประชาสัมพันธ์ มีงบประมาณทำไลน์ ออฟฟิสเชียล 7,500,000 บาท ต้องการส่งข้อความที่มากเกินไป เพื่อให้ถึงประชาชนที่แอดไลน์ไทยคู่ฟ้ากว่า 4,700,000 คน แบ่งเป็น 4 ไตรมาส รวม 1,140 ข้อความ เทียบกับค่าบริการของไลน์ ถ้าสมัครแบบโปรอยู่ที่เดือนละ 1,500 บาท แต่ถ้าเทียบกับงบประมาณของสำนักนายกฯ เดือนละ 625,000 บาทต่อเดือน คิดตามค่าบริการของไลน์คือจะส่งข้อความได้ถึง 175 ล้านคน ซึ่งความจริงสามารถปรับลดราคาได้มาก, อีกส่วนหนึ่งคือ กอ.รมน. งบประมาณ 9,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ที่งบกำลังพล ทั้งที่มีงบประมาณบุคลากรอยู่แล้ว 80 ล้านบาท แต่กลับใช้เพิ่มในส่วนนี้อีก 4,000 ล้านบาทเพื่อจ่ายเงินให้ทหาร แล้วจุดประสงค์ในการตั้ง กอ.รมน. คือเสริมสร้างความตระหนักรู้ในเยาวชน ทั้งที่กระทรวงศึกษาธิการก็น่าจะทำภารกิจนี้ได้  นอกจากนี้ยังมีการผลิตสื่อโทรทัศน์ อยู่ที่ 17,250,000 บาท ต่องาน ซึ่งตนคิดว่าสามารถปรับลดงบประมาณลงมาได้ แต่ของ กอ.รมน. สามารถลดขนาด หรือไม่ก็ควรยุบหน่วยงานของกระทรวงต่างๆ ที่ทับซ้อนออกไป

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย เสนอปรับลด 10% เนื่องจากหน่วยงานนี้ยังไม่เห็นผล ได้แก่ การปฏิรูปประเทศ เช่น การปฏิรูปตำรวจล้มเหลว โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้าย บุคลากรตำรวจบางคนได้เลื่อนตำแหน่งทั้งที่ความอาวุโสในการรับราชการยังไม่ถึง หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้มาแล้ว 3 ปีแต่ยังไม่เห็นผล, การปฏิรูปการศึกษา จะเห็นชัดเจนว่าการศึกษาไทยยังไม่ไปถึงไหน ยังมีความเหลื่อมล้ำในการเรียนมัธยมยังไม่ตอบโจทย์การสอบเข้ามาหวิทยาลัย, ยุทธศาสตร์ชาติ เขียนไม่ทันสถานการณ์โควิด ไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ทั้งที่มีสถาพัฒน์ฯ ยังยังไม่มีการปรับแก้ยุทธศาสตร์ชาติ, ความปรองดอง เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลไม่สามารถสร้างให้เกิดขึ้นในประเทศ เกิดจากการบริหารที่ขาดตกบกพร่อง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ บุคลากรบางส่วนเข้าถึงทรัพยากรได้ บางกลุ่มเข้าถึงไม่ได้ เห็นได้จาก การชุมนุมของนักศึกษา และการชุมนุมเรียกร้องราคาพืชผลการเกษตร, และการจัดการน้ำ การจัดสรรงบประมาณแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างไม่เป็นธรรม ในจังหวัดเดียวกัน บางอำเภอได้ บางอำเภอไม่ได้ เป็นต้น 

นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์  กล่าวว่า ขอเสนอปรับลดงบประมาณ 10 % โดยเน้นที่ พ.ร.บ.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท โดย สภาพัฒน์ฯ เป็นประธานในการกลั่นกรอง และมีระเบียบการใช้จ่ายเงินกู้ให้สภาพัฒน์จัดทำกรอบนโยบายในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศด้วย ซึ่งตั้งแต่ลงพระราชกิจจานุเบกษารวมแล้ว 150 วัน มีโครงการเสนอเข้ามากว่าสี่หมื่นโครงการ แต่ยังเหลือเงินที่ยังไม่อนุมัติกว่าอีกสามแสนล้านบาท และเบิกจ่ายไปได้เพียงกว่าหนึ่งพันล้านบาท ทั้งที่ต้องเร่งใช้จ่าย แต่ผ่านไป 5 เดือน อนุมัติไปได้เพียง 45,000 ล้านบาท เพราะเหตุผลว่าโครงการมีปัญหาไม่เข้าเงื่อนไขตามท้าย พ.ร.ก. และไม่เข้ากรอบที่กำหนด สภาพัฒน์ทำตัวเป็นอาจารย์ตรวจข้อสอบ โครงการไม่ผ่านตีกลับ จึงไม่แปลกว่าทำไมตอนนี้คนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ยังเดือดร้อน เพราะโครงการยังไม่เกิด อีกทั้งในการศึกษาของสภาพัฒน์บอกว่าโครงการเหล่านี้จะจ้างงานได้กว่าแสนคน ทั้งที่มีคนตกงานหลายล้านคน ตนฝากไปถึงรัฐบาลว่าถ้าเหตุการณ์ยังเป็นแบบนี้รัฐบาลต้องตัดสินใจเรื่องการเบิกจ่ายและการตัดสินใจอนุมัติโครงการ ไม่เช่นนั้นสิ้นปีนี้คนได้รับผลกระทบจะอยู่ไม่ได้

Let's block ads! (Why?)



"ล้มเหลว" - Google News
September 16, 2020 at 08:59PM
https://ift.tt/3hBJPEX

ชำแหละงบสำนักนายกฯ ซ้ำซ้อนหลายหน่วยงาน-ล้มเหลว-ไร้ผลงาน "สาทิตย์"ตอก สภาพัฒน์ฯทำตัวเป็นอาจารย์ตรวจข้อสอบเองตีกลับโครงการสู้ภัยโควิด - สยามรัฐ
"ล้มเหลว" - Google News
https://ift.tt/2Kza010
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ชำแหละงบสำนักนายกฯ ซ้ำซ้อนหลายหน่วยงาน-ล้มเหลว-ไร้ผลงาน "สาทิตย์"ตอก สภาพัฒน์ฯทำตัวเป็นอาจารย์ตรวจข้อสอบเองตีกลับโครงการสู้ภัยโควิด - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.