Search

The Art Screen Time ศาสตร์และศิลป์การอยู่ในโลกยุคดิจิทัล - กรุงเทพธุรกิจ

soho.prelol.com
The Art Screen Time ศาสตร์และศิลป์การอยู่ในโลกยุคดิจิทัล

14 กันยายน 2563

0

เมื่อหน้าจอคือส่วนหนึ่งของชีวิตของคนทุกช่วงวัย พ่อแม่บางคนมักตระหนกว่า หน้าจอ และ “สื่อดิจิทัล” ทั้งหลายอาจเป็นยาพิษของลูกๆ แต่ในโลกปัจจุบันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงหน้าจอไม่ได้ ดังนั้นทางออกคือ ต้องอยู่กับอย่างไรให้สื่อเป็นมิตรในวันที่สื่อคืบคลานเข้ามาทุกช่องทาง และกำลังแย่งเวลาจากลูกเราไป

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ภายใต้โครงการขับเคลื่อนความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาวะเด็กและครอบครัว และการพัฒนาศักยภาพเยาวชน ร่วมกับ สำนักพิมพ์ bookscape  จึงเปิดประเด็นจัดเสวนาสาธารณะ พร้อมเปิดตัวหนังสือ “The Art Screen Time –หน้าจอ-โลกจริง : สมดุลใหม่ของครอบครัวยุคดิจิทัล” หวังช่วยให้พ่อแม่รู้ทันแก้ปัญหาการใช้หน้าจอของลูกอย่างมีศาสตร์และศิลป์

ดิจิทัล โลกที่เด็กมีอำนาจเป็นผู้เลือก

“สื่อกระแสหลักอย่างทีวี ทำให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองมีตัวตนและเป็นพื้นที่ของเค้าน้อยกว่าโลกอินเตอร์เน็ตออนไลน์” ดร.วิลาสินี  พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย(ส.ส.ท.) เอ่ยถึงสถานการณ์การใช้สื่อของเด็กยุคนี้

โดยข้อมูลของประเทศอังกฤษได้สำรวจสถานะการใช้สื่อของเด็กอังกฤษ เปรียบเทียบปี 2015 กับ 2019 พบว่า อัตราการดูรายการโทรทัศน์ของเด็กไม่ได้น้อยลงในเรื่องของการดูเนื้อหา แต่ไม่ได้ดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์เท่านั้น เป็นดูผ่านอุปกรณ์อื่น อย่างแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะดูผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น หากเปรียบเทียบกับเด็กไทยพบว่า ไม่แตกต่าง ยังมีการดูเนื้อหาที่นำเสนอ แต่ไม่ดูผ่านหน้าจอโทรทัศน์เช่นกัน

“จากการวิจัยเราพบคอนเทนท์ไม่ใช่ปัญหา แต่สื่อในโลกออนไลน์ทำให้เด็กมีอิสระในการเลือกดูสิ่งที่เขาต้องการมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่สื่อเก่าอย่างเช่น ทีวี ไม่สามารถทำได้” ดร.วิลาสินีกล่าวต่อว่า

“มีผลวิจัยว่าเด็กเลือกที่จะดู YouTube มากกว่าเพราะเขาไม่อยากนั่งรอผังรายการหรือรอเวลา แม้เด็กเล็กยังคงดูทีวีเป็นอันดับต้นต้น แต่เมื่อเข้าสู่วัยเรียนแล้วก็จะเริ่มใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือโดยเฉพาะ YouTube มากขึ้น”

พร้อมเสนอแนะว่าพ่อแม่ไม่ควรที่จะปฏิเสธการใช้สื่อของเด็กอย่างสิ้นเชิง รวมถึงไม่ควรปล่อยตามใจ แต่พ่อแม่จะต้องทำหน้าที่เป็นนักจัดการสื่อ ไม่ใช่คนควบคุม กำกับ หรือบังคับให้ลูกเล่นหรือไม่ให้เล่น

มอง “สื่อ”สองมุม

ขณะที่พ่อแม่อังกฤษมีวิตกกังวลว่า การอยู่แต่กับหน้าจอจะสร้างปัญหาให้กับลูก แต่พ่อแม่คนไทยบางกลุ่มกลับมองว่าหน้าจอ คือตัวช่วยในการเลี้ยงลูกและเป็นการชดเชยที่ไม่มีเวลาให้

“พ่อแม่หรือผู้ปกครองคนไทยมักมีค่านิยมว่า ลูกที่ใช้มือถือได้ เป็นเด็กที่ฉลาด เพราะใช้เทคโนโลยีเป็นจึงปล่อยลูกไว้กับอุปกรณ์เหล่านี้” เสียงสะท้อนจาก เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

เข็มพรเปรียบเทียบว่าสื่อยุคนี้ทำให้สมาชิกในครอบครัวแต่ละช่วงวัยมีโลกคนละใบ แยกส่วนกัน เช่น เด็กก็อยู่แพลตฟอร์มหนึ่ง ในผู้ใหญ่ก็อยู่อีกแพลตฟอร์ม ผู้สูงอายุก็อยู่แพลตฟอร์มหนึ่ง

ผศ.พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร หรือหมอโอ๋ กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี และเจ้าของเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน เสริมว่า ในสังคมไทยมีความสุดโต่งของพ่อแม่สองฝั่ง ขณะที่อีกฝั่งมองว่าหน้าจอหรือมือถือเป็นพี่เลี้ยงลูก อีกด้านหนึ่งมองว่าการใช้มือถือหรือสื่อเหล่านี้เป็นอันตรายใหญ่หลวงถึงขั้นห้าม ปิดกั้นไม่ให้ลูกดูหรือเสพย์สื่อ จนลูกอาจตามไม่ทัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับกลุ่มพ่อแม่ชนชั้นกลางในเมืองหลวง

“พ่อแม่กลุ่มที่ให้ลูกอยู่กับหน้าจอ อาจลืมไปว่า เด็กถูกช่วงชิงเวลาในการการเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ เช่น EF ไปอยู่กับหน้าจอ ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้ลูกรู้จักควบคุมตัวเอง มีความอดทน หรือเรียนรู้การรับมือเวลาเกิดปัญหา เหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึก ส่วนพ่อแม่ที่ห้ามไม่ให้ลูกเสพสื่อ การปิดกั้นตรงนี้ อาจทำให้ลูกไม่มีทักษะเรียนรู้ในการอยู่กับโลกความเป็นจริง เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกทุกวันนี้สื่อออนไลน์เป็น ดังนั้น มองว่าการใช้อย่างสมดุลจึงเป็นทางออก”

เธอเสริมว่า การยอมให้ลูกอยู่กับหน้าจออีกมุมหนึ่ง หากเราบาลานซ์มันได้ ไม่มองว่าเป็นพิษภัย แต่มองว่าเราใช้ประโยชน์อย่างไร เช่น การเสริมทักษะให้ลูกฝึก self control กับสิ่งยั่วยวนใจ ทำให้เขารู้จักบังคับจิตใจตัวเองได้ว่าควรจะหยุดเล่นเวลาไหนได้หรือไม่ และบางครั้งสื่อก็ช่วยสร้างสังคมแบ่งปัน สร้างให้เขาอยากคอนทริบิวท์ (ช่วยเหลือ) คนอื่น

“เรามองว่า ไม่ใช่เรื่องการใช้หน้าจอแต่เป็นการจัดสรรเวลา ซึ่งหน้าที่ของพ่อแม่ที่สำคัญคือต้องบริหารจัดการและจำกัดเวลาการใช้หน้าจอของลูกอย่างเหมาะสม”หมอโอ๋แนะนำ

พ่อแม่ต้องเป็นนักจัดการสื่อ

“ เรากังวลว่าเด็กจะอยู่กับหน้าจอมากเกินไป แต่รู้หรือไม่ เราเองที่เป็นผู้ใหญ่ก็อยู่กับสื่อตลอดเวลา ผู้ใหญ่ควรปรับทัศนคติ มองในมิติของการเท่าทันสื่อ รู้จักเลือกใช้สื่อให้มีประโยชน์สร้างสรรค์ชีวิต เป็นเครื่องมือนำทางในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูก แทนที่จะห้ามปราม ออกกฎระเบียบ เราควรให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคม ออกแบบการใช้สื่อในเชิงบวก” เข็มพรร่วมสนับสนุนประเด็น

เข็มพรมองว่าในโลกยุคใหม่ การเรียนรู้ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน และมีหลายเรื่องก็ต้องมาเรียนรู้ใหม่ เช่น ความเห็นอกเห็นใจคนอื่น (Empathy)

“มันไม่ใช่แค่เรื่องสกรีนไทม์ แต่มิติใหญ่มาก ควรมองว่าทั้งระบบจะมีปัจจัยแวดล้อมอะไรที่ต้องมาสนับสนุนด้านนี้ ที่ออสเตรเลียมีการศึกษาเรื่องการใช้สื่อหลากหลายตั้งแต่ ในวัยอนุบาลจะไม่มีการเรียนหรือวิชาการ แต่ให้เรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เช่นสอนเรื่องความเห็นอกเห็นใจ การช่วยเหลือตัวเอง พร้อมตั้งคำถาม ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าอินเตอร์เน็ต สอนความเป็นพลเมืองโลก เช่นว่าหากมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นโลก ออสเตรเลียมีบทบาทอย่างไรบ้าง” เข็มพรเล่า

ด้านดร.วิลาสินีช่วยเสริมว่า พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือแม้แต่ครูจะมีบทบาทที่สามารถสร้างความสมดุล และปฏิสัมพันธ์ระหว่าง “สื่อ” “เด็ก”และ “สังคม” ได้หรือไม่

 “หากพ่อแม่เป็นนักจัดการสื่อที่ดี สร้างปฏิสัมพันธ์ให้กับลูกและสังคม ให้เขารู้จักการมีความเห็นอกเห็นใจและความเข้าอกเข้าใจคนอื่น เราเชื่อว่าจะทำให้เด็กไม่ลุกขึ้นไปทำความรุนแรงกับใคร”

“พ่อแม่ต้องสร้างครอบครัวที่มีศักยภาพในการที่จะส่งเสริมให้ลูกสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้ สอง คือการเลี้ยงลูกเชิงบวก รู้จักนำหรือใช้สื่ออันทรงพลังมาส่งเสริมการสร้างปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างผู้เลี้ยงดูและเด็ก”

สื่อหลักต่อไปยังไงในโลกดิจิทัล?

“ไทยพีบีเอสเชื่อว่าต้องสร้างความสมดุลของสื่อ วันนี้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อใหม่ๆ กำลังเข้ามาทุกช่องทาง เราเองมีการร่วมกับสถาบกันการศึกษาและหน่วยงานหลายแห่ง จัดตั้งมีเดียแล็บ (Media Lab) ร่วมวิจัยกับหลายกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาคอนเทนท์ รูปแบบการนำเสนอของสื่อในแบบที่เด็กต้องการ ไปจนถึงสิ่งที่ไม่ควรทำ”ดร.วิลาสินีเอ่ย

ส่วนหนึ่งของการต่อยอดที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็น “เอแอลทีวี” ( ALTV ) มัลติแพล์ตฟอร์มใหม่ที่เกิดขึ้น โดยมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมระบบนิเวศของสังคมไทยคือ บ้าน พ่อแม่ โรงเรียน ครูและเด็ก แข็งแรงขึ้น ด้วยการนำรูปแบบ อินเตอร์แอคทีฟเลิร์นนิ่ง (Interactive Learning) มาใช้

“ในฐานะสื่อหลัก คิดว่าควรมี 3 สิ่งที่จำเป็นในการขับเคลื่อนสื่อที่มีคุณภาพ นั่นคือ Consumer driven สังคมหรือคนใช้สื่อต้องเป็นแรงผลักสำคัญที่อยากให้เกิดหรือมีสื่อประเภทไหน Principle Driven สื่อเองต้องปักธงว่าเราทำสื่อเพื่ออะไร และ Policy Driven เราต้องการโครงสร้าง การส่งเสริมที่อำนวยให้เกิดสื่อที่ดีเหมาะสม” ดร.วิลาสินีกล่าว

หาโอกาสแย่งซีนจากหน้าจอ

ดร.ก้อง หรือพณชิต กิตติปัญญางาม CEO-Co-Founder ZTRUS, บอร์ดบริหาร DPU X มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอดีตนายกสมาคม Thailand Tech Startup Association ช่วยกะเทาะภาพสื่อในสังคมไทยว่า ความน่าห่วงใยเรื่องแรกคือ ประเทศไทยังแยกระหว่าง “มีเดีย” กับ “คอนเทนท์” ไม่ออก นอกจากนี้เรายังไม่มี สื่อที่ตอบโจทย์ด้วยคอนเทนท์ที่มีคุณภาพ

ดร.ก้องอธิบายต่อว่า ในโลกสื่อยุคนี้เป้าหมายสำคัญของสื่อ คือการให้ทุกคนติด (Addicted)  โดยการหา pain point จากความต้องการ หรือความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์มาใช้โน้มน้าว ดึงดูดให้เข้ามาสนใจทุกทาง เช่น ความต้องการการยอมรับทางสังคม  การชื่นชม เป็นต้น ดังนั้น ผู้ปกครองต้องคิดว่าจะวางกลยุทธ์อย่างไรเพื่อแย่งซีน screen time ของลูกจากหน้าจอ

“เมื่อระบบเขาตั้งใจออกแบบมาเป็นแบบนั้น เราต้องหาว่าทำไมเขาอยากได้สิ่งนั้น มันเป็นหลักการจัดการจิตใจ”

ส่วนในอนาคต ดร.ก้องวิเคราะห์ไว้ว่า Digital-Bio-Physical จะเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างแยกไม่ออก สิ่งที่ท้าทายคือเรามีวิธีจัดการกับสถานการณ์หรือการตัดสินใจอย่างไร โดยเฉพาะ AI จะมากระทบเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของการจ้างงานลูกหลานเราโดยตรง ต้องคิดว่าทำอย่างไรจะพัฒนากระบวนการองค์ความรู้ให้เท่าทัน

อวดลูกลงโซเชียล ผิดไหม?

อีกสถานการณ์ที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือ พ่อแม่มักโชว์รูปลูกตัวเองในพื้นที่สื่อออนไลน์ หมอโอ๋ได้ให้มุมมองว่า

“เราเข้าใจมันเป็น therapy ของพ่อแม่บางคนที่ได้ลงรูปลูก แล้วมีคนกดไลค์ มาชื่นชมลูกเรา มันเหมือนกับได้เยียวยาตัวเอง ตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ หรือได้ชดเชยความเหนื่อยล้าในชีวิตตัวเอง

แต่สิ่งที่ต้องระวังคือต้องยอมรับว่า มันเป็นการอวดของพ่อแม่รูปแบบหนึ่ง เวลาเราโพสต์ส่วนใหญ่คือมักมีแต่สิ่งทีเป็นโพสิทีฟ ก็ต้องระวังว่ามันจะเป็นการสร้างอีกตัวตนหนึ่งในลูกในโลกเสมือนหรือไม่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อชีวิตจริงของเขาหรือเปล่า รวมถึงพ่อแม่ต้องแยกแยะให้ได้ว่าลูกในชีวิตจริงไม่ได้มีแต่ด้านดีเหมือนลูกที่เราสร้างไว้ในโซเชียล

อย่างหมอเองก็มีการโพสต์เรื่องราวหรือลงรูปลูกในพื้นที่ออนไลน์เหมือนกัน ตอนแรกเราเองก็คิดมากว่าเราจะบาลานซ์ตรงนี้ยังไง แต่มองว่าบางเรื่องมี benefit บางอย่างให้กับสังคมได้ แต่พอลูกโตแล้ว เราจะถามเขาก่อนทุกครั้งเวลาที่เราจะลงอะไร เราจะให้เขาอ่านก่อนว่าเขาโอเคหรือเปล่าเสมอ”

ด้าน ดร.ก้อง แนะว่า “แม้เราจะมองว่ามันเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา แต่เราต้องคิดก่อนโพสต์ เพราะสิ่งที่เราโพสต์ ถ้าอยู่ตรงนั้นแล้วมันจะอยู่บนนั้นอีกนาน เปรียบเหมือนเราเอาเรื่องราวหรือตัวเขาไปโพสต์กลางสี่แยก เรื่องนี้หากคุณเป็น AI มันก็ไม่เป็นไร พอเสร็จแล้วปิดเครื่องก็จบ แต่สำหรับมนุษย์ เมื่อโพสต์ไปแล้วต้องรับผลการกระทำของเราเองต่อในชีวิตจริงด้วย”

“เกม” อาจไม่ใช่จำเลยสังคมตัวจริง

ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เอ่ยถึงประเด็นที่เกมมักถูกมองว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เด็กมีปัญหาความรุนแรงหรือก่ออาชญากรรมเสมอว่า หากมองจากการวิจัยที่เกี่ยวกับสถานการณ์ติดเกม ในปัจจุบันยังมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 4.7% ถึง 5% ซึ่งเป็นอัตราคงที่ตลอดสองศตวรรษที่ผ่านมา รวมถึงในสหรัฐอเมริกายังสำรวจพบเด็กอายุ 2-17 ปี เล่นเกมดิจิทัลมากถึง 91% หรือคนทั่วโลกเล่นเกมเหมือนกัน แต่มีเพียงสอง 15% เท่านั้นที่มีแนวโน้มติดเกม

“อัตราคนติดเกมไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากขึ้นอย่างที่คิด แม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้เกมเข้าถึงง่ายขึ้น สนุกขึ้น แต่สถิติคนติดเกมยังไม่แตกต่างจากอดีตมากนัก”

แต่ปัญหาคือสังคมไทย เมื่อเวลามีข่าวเกี่ยวกับเยาวชนใช้ความรุนแรงก็จะพุ่งเป้าไปสู่ข้อสรุปเร็วเกินไปว่าเกิดจากการติดเกมเสมอ ซึ่งหากเทียบกับสื่อกระแสหลักอย่างทีวีหรือหนังสือพิมพ์ที่นำเสนอเรื่องราวการฆาตกรรม รุนแรงในสื่อบ่อยๆ ทำไมถึงไม่ทำให้คนไทยกว่าหกสิบล้านคนเป็นอาชญากรหรือก่อความรุนแรงตามไปด้วย

“บางครั้งไม่ควรสรุปในทันที แต่ควรหาข้อพิสูจน์ที่สาวลึกถึงสาเหตุมากกว่านั้น ปัญหาของการติดเกมที่แท้จริงคือเด็กขาดวินัย ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ จึงมองว่าน่าจะอยู่ที่การเลี้ยงดู ซึ่งเป็นบทบาทของพ่อแม่ที่ควรจะสร้างวินัยตรงนี้ให้ลูก”

ด้านหมอโอ๋เสริมถึงประสบการณ์ส่วนตัวที่ยอมให้ลูกเล่นเกมออนไลน์ตั้งแต่วัยเจ็ดขวบว่า

“เป็นความท้าทายของเราเหมือนกันที่ตัดสินใจแบบนั้น แต่เรามองเห็นอะไรบางอย่างในลูกเรา จึงไม่ห้ามแต่เลือกใช้วิธีการวางกติกาให้เขาแทน โดยจะดูว่าการใช้มือถือหรือตอนอยู่กับหน้าจอนั้น มันเบียดบังโอกาสการเรียนรู้พัฒนาการด้านอื่นของเขาหรือไม่ หรือส่งผลต่อภาวะเนือยนิ่ง การไม่เคลื่อนไหวของเขา เวลาที่จะมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในครอบครัว หรือปัญหาความก้าวร้าว ถ้ามันมากเกินไปก็ต้องลด”

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
September 14, 2020 at 01:57PM
https://ift.tt/3iowOQe

The Art Screen Time ศาสตร์และศิลป์การอยู่ในโลกยุคดิจิทัล - กรุงเทพธุรกิจ
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "The Art Screen Time ศาสตร์และศิลป์การอยู่ในโลกยุคดิจิทัล - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.