Search

สงครามโลกครั้งที่ 2: ระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่มิชิโกะเกือบไปขึ้นรถไฟไม่ทัน - บีบีซีไทย

soho.prelol.com

Michiko (on right) and friends

เช้าวันที่ 6 ส.ค. ปี 1945 มิชิโกะตื่นสาย

"ฉันจำได้ว่า ตอนนั้นฉันคิดว่า 'ขึ้นรถไฟอีกเที่ยวก็ยังไปทำงานทัน แต่ถ้าวิ่งไปสถานีรถไฟก็อาจจะได้ขึ้นรถไฟเที่ยวประจำ' "

ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจวิ่งไปขึ้นรถไฟเที่ยวเดิม การวิ่งในครั้งนั้นช่วยชีวิตเธอไว้ เพราะขณะที่เธอไปถึงที่ทำงาน เมืองฮิโรชิมาที่เธออาศัยอยู่ก็ถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลก

ในวัย 14 ปี มิชิโกะ โยชิตสุกะ เรียนโรงเรียนหญิงล้วนที่ใจกลางเมืองฮิโรชิมา แต่ขณะนั้นทางการให้เด็กนักเรียนไปช่วยผลิตอาวุธให้กองทัพญี่ปุ่น โรงงานที่มิชิโกะทำงานอยู่อยู่ห่างจากใจกลางเมืองไปทางตะวันออกราว 8 กิโลเมตร

เวลา 8.15 น. กองทัพสหรัฐฯ ทิ้งระเบิดที่พวกเขาเรียกว่า "ลิตเติลบอย" (Little Boy) คาดกันว่ามีผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมา 140,000 ราย บ้างเสียชีวิตทันที บ้างก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา

Ground crew of the Enola Gay

ภูเขาฮิจิยามาซึ่งตั้งอยู่ระหว่างโรงงานและใจกลางเมืองช่วยบรรเทาแรงทำลายล้างของระเบิดปรมาณูไว้ ทำให้เธอรอดชีวิตมาได้

หลังจากนั้น เธอเดินไปบ้านญาติในเขตกิออน ต้องผ่านซากศพมากมาย บ้างถูกไฟเผาไหม้ บ้างก็มีอวัยวะภายในทะลักออกมาจากร่างกาย

"ตอนฉันเดินอยู่ มีคนคนหนึ่งคว้าข้อเท้าฉันและร้องขอว่า 'หนู ขอน้ำหน่อยได้ไหม' ฉันปัดมือนั้นทิ้งและพูดว่า 'หนูขอโทษ! หนูขอโทษ!' ฉันกลัวมากและเดินหนีไป"

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

แม่ของมิชิโกะรอดตาย แต่พี่ชายของเธอที่เป็นทหารและอยู่ใกล้จุดที่ระเบิดลง เสียชีวิตและก็ไม่มีใครพบร่างเขาอีกเลย

แม้รอดมาได้ แต่มิชิโกะก็เริ่มล้มป่วยซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากรังสีระเบิดปรมาณู ไม่ว่าจะเป็นอาการเลือดออกที่เหงือก จมูก ท้องร่วงรุนแรง ผมร่วง และมีตุ่มสีม่วงขึ้นทั่วร่างกาย แต่สุดท้ายก็รอดชีวิตมาได้

3 วันหลังระเบิดที่ฮิโรชิมา สหรัฐฯ ได้ทิ้งระเบิดปรมาณูอีกลูกลงที่เมืองนางาซากิ ทำให้ญี่ปุ่นยอมยุติสงคราม และถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง

Mushroom cloud over Hiroshima on 6 Aug 1945

หลังจากนั้นเป็นต้นมา เมืองฮิโรชิมาก็พยายามฟื้นฟูตัวเองขึ้นใหม่ ภายใน 3 วันหลังจากการทิ้งระเบิด รถไฟ รถราง และรถเมล์ กลับมาวิ่งอีกครั้ง และภายใน 2 เดือน โรงเรียนก็กลับมาให้มีการเรียนการสอนในตึกที่ถูกทำลายเสียหาย หรือไม่ก็ที่บริเวณกลางแจ้ง

มิชิโกะเองก็พยายามสร้างชีวิตใหม่เช่นกัน

ปี 1948 ขณะอายุ 18 ปี เธอคลอดลูกสาว แต่ลูกสาวก็เสียชีวิต 2 สัปดาห์หลังจากนั้น ซึ่งเธอเชื่อว่าเป็นผลข้างเคียงจากรังสีระเบิดปรมาณู

ต่อมา เธอคลอดลูกอีกสองคนซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงดี แต่กลับต้องเผชิญปัญหาอื่นในชีวิต สามีเธอชอบหายไปใช้เวลาอยู่กับผู้หญิงอื่นพร้อมกับเอาเงินที่เธอทำงานมาได้ไปด้วย

มิชิโกะมักเอาลูก ๆ ไปฝากให้ญาติเลี้ยงแทน เพราะทั้งอ่อนล้าจากอาการป่วยจากรังสีระเบิดปรมาณู ทั้งไม่พอใจที่สามีไปมีผู้หญิงอื่น และก็อยากมีชีวิตเป็นอิสระ และพอลูก ๆ กลับมา เธอก็มักจะเอาความหงุดหงิดไปลงกับซาเนะ ลูกสาวของเธอ

หลังจากแม่มิชิโกะเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเมื่อปี 1964 รัฐบาลญี่ปุ่นก็หยุดให้เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวที่สูญเสียสมาชิกที่ไปรบ

Michiko in her 20s

ในที่สุด สามีเธอก็แยกทางไปอยู่กับผู้หญิงคนใหม่ เมื่อไม่มีเงินช่วยเหลือจากสามี มิชิโกะไปทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารญี่ปุ่น เป็นร้านแบบดั้งเดิมซึ่งเธอต้องใส่ชุดกิโมโนดูแลลูกค้าไปจนดึกดื่น

วันที่ 6 ส.ค. ของทุกปี ฮิโรชิมาจะจัดพิธีรำลึกสันติภาพ (Peace Memorial Ceremony) ซึ่งมีบุคคลดังอย่าง แม่ซีเทเรซา ฟิเดล คาสโตร และมิคาอิล กอร์บาชอฟ มาร่วมงาน แต่เธอไม่สามารถทำใจไปร่วมงานในช่วงเช้าได้เพราะคำปราศรัยถึงสันติภาพช่างขัดกับภาพเหตุการณ์ที่เธอเห็นด้วยตัวเอง

เธอจะไปร่วมงานในตอนเย็นที่มีพิธีลอยโคมไฟในแม่น้ำโมโตยาสุ เป็นสัญลักษณ์แทนวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับ

เมื่อซาเนะ ลูกสาวของเธอ มีลูกผู้ชายและผู้หญิงเป็นของตัวเอง ความสัมพันธ์ของมิชิโกะและลูกที่เคยห่างเหินก็เริ่มพัฒนาดีขึ้น

เวลารวมตัวกันในเทศกาลประจำปีและดูละครทีวีที่จำลองเหตุการณ์ระเบิดประมาณู คนในครอบครัวของมิชิโกะเล่าว่าเธอชอบพูดว่า "มันไม่ใช่อย่างนั้นซะหน่อย"

Painting of the Hiroshima peace memorial by Kaori, Michiko's granddaughter

เกือบตลอดชีวิต มิชิโกะไม่ค่อยบอกเล่าประสบการณ์ที่เธอต้องเผชิญเมื่อปี 1945 แต่มาในปี 1995 ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ 50 ปี เหตุทิ้งระเบิดปรมาณู หมอของเธอแนะนำให้เธอเขียนบอกเล่าประสบการณ์ตัวเองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปล่อยวางความทรงจำร้าย ๆ

ตอนแรกเธอไม่เต็มใจจะลงมือเขียนนัก แต่ก็กลัวว่าความทรงจำเหล่านั้นจะหายไปตลอดกาล

Michiko later in life with her daughter, Sanae, and Sanae's husband, Nobuo Hamada

ในเวลาต่อมา เธอเริ่มมีอาการสมองเสื่อมก่อนที่จะย้ายเข้าไปอยู่ในบ้านพักคนชรา และเสียชีวิตเมื่อเดือน ม.ค. ปี 2012

ตอนนี้ ความเรียงบอกเล่าประสบการณ์ของเธอถูกเก็บไว้ในหออนุสรณ์สันติภาพสำหรับเหยื่อระเบิดปรมาณู (Peace Memorial Hall) ที่เมืองฮิโรชิมา

สิ่งที่เธอเขียนในปี 1995 ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์มีความสามารถที่จะต่อสู้กับอุปสรรคและสร้างชีวิตขึ้นใหม่ได้

"ตอนนี้ ครบรอบ 50 ปี เหตุทิ้งระเบิดปรมาณู ฉันรู้สึกใหม่อีกครั้งถึงคุณค่าของชีวิต"

Let's block ads! (Why?)



"หายไป" - Google News
August 07, 2020 at 07:21AM
https://ift.tt/30xnyCY

สงครามโลกครั้งที่ 2: ระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่มิชิโกะเกือบไปขึ้นรถไฟไม่ทัน - บีบีซีไทย
"หายไป" - Google News
https://ift.tt/3bJg2bb
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "สงครามโลกครั้งที่ 2: ระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาในวันที่มิชิโกะเกือบไปขึ้นรถไฟไม่ทัน - บีบีซีไทย"

Post a Comment

Powered by Blogger.