ปัจจุบันแม้จะมีไวน์หลายประเทศอยู่ในตลาดเมืองไทย แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่หายไปจากตลาดเมืองไทย ด้วยสาเหตุสำคัญคือคนไทยยังยึดติดอยู่กับไวน์ชาติใหญ่ ๆ อย่าง ฝรั่งเศส อิตาลี เป็นต้น โดยหนึ่งในจำนวนไวน์ที่หายไปจากตลาดเมืองไทยคือ 'ไวน์บัลแกเรีย'
บัลแกเรีย (Bulgaria) เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ปลูกองุ่นมานับพันปี ตั้งแต่ยุคธราเชียน (Thracians) ซึ่งมาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำดานูบตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 กระทั่งเป็นผู้ผลิตไวน์รายใหญ่เคียงบ่าเคียงไหล่ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกรีซ โดยไวน์บัลแกเรียที่คอไวน์ทั่วโลกรู้จักกันดีคือแกมซา (Gumza) ดีมีท (Dimiat) ปามิด (Pamid) มุสแคท (Muscat) มิสเกต (Misket) มาฟรัด (Mavrud) และเมลนิก (Melnik)
ประเทศบัลแกเรียตั้งอยู่บนเนินสูงของแหลมบอลข่าน อากาศอบอุ่น แสงแดดดี มีฝนเฉลี่ย 47-95 เซนติเมตรต่อปี ไร่องุ่นอยู่ตามไหล่เขาซึ่งมีดินดำผสมดินน้ำตาล และบางส่วนเป็นดินทราย ภูมิประเทศยังอุดมไปด้วยป่าไม้ที่ให้ความชุ่มชื้นตลอดปี
องุ่นของบัลแกเรีย ได้แก่ องุ่นแดงพันธุ์พื้นเมืองที่โดดเด่น ส่วนใหญ่เป็นองุ่นพันธุ์โบราณทั้งสิ้นคือ แกมซา (Gamza / Gumza) ซึ่งก็คือองุ่นกาดาร์กา Kadarka ที่ปลูกมากในฮังการีนั่นเอง, Mavrud, Pamid, Melnik และ Rubin ที่ผสมสายพันธุ์มาจาก Nebbiolo และ Syrah เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการปลูกองุ่นพันธุ์คลาสสิก เช่น แมร์โลต์, กาแบร์เนต์ โซวีญยง และชาร์โดเนย์ เป็นต้น
ส่วนองุ่นเขียวประกอบด้วย รัตสิเตลี (Rkatsiteli) ซึ่งเมื่อทำไวน์แล้วจะให้แอสิดสูง สไปซี่ และดอกไม้ ปลูกมากในจอร์เจียและรัสเซียด้วย นอกนั้นก็มีเรด มิสเกต (Red Misket) องุ่นแดงที่ใช้ทำไวน์ขาว Temenuga และ Dimyat ส่วนองุ่นพันธุ์คลาสสิกที่ปลูก เช่น โซวีญยง บลอง, ชาร์โดเนย์ และมุสแคท เป็นต้น
วันที่ 13 กรกฎาคม 1960 รัฐบาลบัลแกเรีย ประกาศแบ่งเขตผลิตไวน์ออกเป็น 5 เขตดังนี้
Danube River Plains (Northern Region) อยู่ทางใต้ของแม่น้ำดานูบ (Danube) อากาศแบบคอนติเนนตัล ฤดูร้อนอากาศร้อนจัดและมีแดดตลอดทั้งปี เป็นเขตที่เก่งในการทำไวน์ขาว องุ่นพันธุ์หลักคือ Muscat Ottonel, Cabernet Sauvignon, Merlot, Chardonnay, Aligoté, Pamidl และ Gamza
Black Sea Coastal (Eastern Region) เป็นเขตที่ผลิตไวน์ 30% ของประเทศ สภาพอากาศค่อนข้างเย็น เหมาะกับการปลูกองุ่น ไวน์ขาวระดับคุณภาพเยี่ยม ผลิตที่นี่ (53% ) ไวน์ที่โดดเด่นจะทำจาก Dimyat, Riesling, Muscat Ottonel, Ugni blanc, Sauvignon Blanc, Traminer และ Gewürztraminer
Valley of the Roses (Sub-Balkan Region) อยู่ทางใต้ของเทือกเขาบัลข่าน (Balkan Mountains) แบ่งเขตย่อยออกไปเป็นเขตตะวันออกและตะวันตก ผลิตไวน์จากองุ่น Muscatel, Riesling, Rkatsiteli, Cabernet Sauvignon และ Merlot ส่วนใหญ่ผลิตไวน์ขาวดรายมากกว่าไวน์แดง
Thracian Valley (Southern Region) เป็นเขตที่ทำไวน์แดงได้ดี เพราะมีสภาพอากาศแบบคอนติเนนตัล ประกอบกับดินที่เหมาะกับไวน์แดงในเขต lowlands ของ Upper Thrace และภูเขา Sakar และมีเทือกเขา Balkan ช่วยบล็อกอากาศเย็นจากรัสเซีย ผลิตไวน์จากองุ่นพื้นเมือง Mavrud และ Pamid นอกนั้นก็มี Merlot, Cabernet Sauvignon และ Muscatel
Struma River Valley (Southwestern Region) เขตนี้ครอบคลุมพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของบัลแกเรีย หุบเขาริมแม่น้ำ Struma ในเขตประวัติศาสตร์ Macedonia เป็นเขตเล็ก ๆ แต่สภาพอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน และดินเหมาะสมกับการทำไวน์ โดยเฉพาะในสไตล์ Shiroka Melnishka Loza ซึ่งรสชาติหวานปานกลาง จากองุ่น Cabernet Sauvignon และ Merlot
เกรดไวน์บัลแกเรีย ประเทศบัลแกเรียมีกฎหมายแบ่งเกรดไวน์อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1978 ดังนี้
1.Standard Wines – ไวน์เกรดธรรมดา ๆ
2.High Quality Wines – ไวน์เกรดนี้โดยทั่วไปจะไม่ระบุแหล่งผลิต แต่ปิดฉลากขายด้วยยี่ห้อ
3.Special Wines – ประเภทสปาร์คกลิ้งและฟรุตไวน์
4.High quality wine - ไวน์คุณภาพสูงสามารถแบ่งเป็น 2 เกรดย่อยคือ
4.1. Vino ot Deklariran Geograski Origin หรือ เกรดคุณภาพ (Quality Wines) หรือ Declared Geographical Origin ใช้คำย่อว่า DGO เทียบกับระดับ Crus ของฝรั่งเศสหรือ DOCG ของอิตาลี ไวน์เกรดนี้ต้องมาจาก 43 เขตควบคุม Declared Geographical Origin (DGO) จะไม่พิมพ์ในฉลาก แต่จะพิมพ์เขตผลิต เช่น ‘Russe Welshriesling’ (Russe เป็นชื่อแหล่งผลิต ที่อยู่ตอนเหนือของประเทศ เป็นที่รู้กันว่าเป็นเขต DGO)
4.2.Controliran เป็นเกรดที่เหนือกว่า DGO เทียบได้กับ AOC ของฝรั่งเศส มี 27 เขต ไวน์ที่ผลิตจากเขตนี้จะต้องมาจากองุ่นที่ปลูกในเขตที่กำหนดไว้เท่านั้น ในฉลากต้องระบุพันธุ์องุ่น และเขตผลิต ที่สำคัญต้องผ่านการชิมทดสอบแบบ Panel Tasting ซึ่งไวน์อาจจะได้รับรางวัลสามารถนำไปอ้างอิงหรือติดบนฉลากได้ด้วย และสามารถพิมพ์คำว่า ‘Controliran’ บนฉลากได้
คำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของไวน์ และอาจจะพบเห็นในฉลากไวน์ เช่น
Reserve ไวน์ DGO และ Controliran สามารถที่จะพิมพ์คำว่า Reserve บนฉลากได้ แต่มีกฏว่าไวน์ขาวต้องบ่มในถังโอ๊คอย่างน้อย 2 ปี ส่วนไวน์แดงต้องบ่มในถังโอ๊คอย่างน้อย 3 ปี
Country Wine ไวน์ประเภทนี้ทำจากองุ่นมากกว่า 1 พันธุ์ ในสไตล์ดื่มง่ายๆ ขณะที่เป็นไวน์ใหม่ (Young Wine) เทียบกับฝรั่งเศสคือ Vins de Pays’
บัลแกเรียมี พิพิภัณฑ์ไวน์ (Wine Museum หรือ Muzey na Vinoto) ) อยู่ที่เมืองเปลเวน ( Pleven) ซึ่งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศ เปิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2008 ลักษณะเป็นถ้ำอยู่ในสวน Kaylaka ห่างจากใจกลางเมือง Pleven ประมาณ 3.1 กม. ออกแบบโดยสถาปนิกชาวบัลแกเรียและฝรั่งเศส ภายในมีเรื่องราวของการทำไวน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมด้วยไวน์กว่า 6,000 ขวดจากทั่วประเทศให้เลือกชิม ถูกใจก็สามารถซื้อได้เลย ที่น่าสนใจคือมีไวน์เก่า ๆ อายุประมาณ 30-90 ปี อยู่กว่า 7,000 ขวด
ขณะที่ The Buyer นิตยสารออนไลน์ ที่ให้ข้อมูลการค้าด้านต่าง ๆ ได้จัดอันดับ “The Top 10 wines you need to have on your radar” ของไวน์บัลแกเรีย ล่าสุดเมื่อกลางเดือนสิงหาคม 2563 ที่ผ่านมาดังนี้
Orbelus Orelek Chardonnay, Viognier 2016 / Rossidi Orange Gewürztraminer 2017 / Rossidi Chardonnay Egg-Fermented 2016 / Ivo Varbanov, Poissons D’Or Chardonnay 2015 / Borovitza , Ogy’s Legacy, Bouquet, Gamza, Evmolpia, Rubin, Cabernet Franc 2013 / Orbelus, Hrumki Merlot, Early Melnik, Syrah, Marselan, Grenache Noir 2015 / Bratanov, South Sakar Selection, Merlot & Syrah 2015 / Ivo Varbanov ,The Firebird, Syrah 2013 / Rossidi, Syrah 2015
บัลแกเรีย นับเป็นไวน์คุณภาพเกินราคาอีกเจ้าหนึ่งที่หายไปจากตลาดเมืองไทย เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง..!!
"หายไป" - Google News
August 28, 2020 at 07:56AM
https://ift.tt/3gBclG7
'บัลแกเรีย' ไวน์ดีที่หายไปจากเมืองไทย - กรุงเทพธุรกิจ
"หายไป" - Google News
https://ift.tt/3bJg2bb
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "'บัลแกเรีย' ไวน์ดีที่หายไปจากเมืองไทย - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment