Search

คุยกัน7วันหน : เปิดนโยบาย 'ชินโสะ อาเบะ' สำเร็จ หรือ ล้มเหลว? - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

soho.prelol.com

วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 07.30 น.

เป็นนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุด รวมวันศุกร์ ด้วยก็ 2804 วันแล้ว อยู่ๆชินโสะ อาเบะ มาประกาศลาออกจากตำแหน่งเพราะปัญหาสุขภาพแน่นอนว่าทำเอาคนในแวดวงการเมืองและข่าวต่างประเทศตกอกตกใจไปตามๆ กัน เพราะที่ผ่านมา ถือว่าอาเบะเป็นผู้นำโลกแถวหน้า ที่ผู้คนจดจำและกล่าวถึงมาต่อเนื่อง

ลองมาดูกันว่า ตลอดวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่ผ่านมา 7 ปี 8 เดือน นายอาเบะดำเนินนโยบายอะไรที่สำเร็จ หรือล้มเหลวบ้าง

อาเบะเป็นนายกรัฐมนตรีสายอนุรักษ์นิยมและชาตินิยม เดินหน้านโยบายหลายอย่าง โดยเฉพาะ Abenomics คือ นโยบายด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ Womenomics คือการผลักดันให้ผู้หญิงมีความโดดเด่นมากขึ้นและ Comfort Women หรือหญิงบำเรอกาม ในสมัยสงครามโลก

สำหรับนโยบาย Abenomics คือกลยุทธ์ ธนู 3 ดอก ทางเศรษฐกิจนับเป็นตัวเรียกคะแนนนิยมจนก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำได้สำเร็จเช่น กำหนดอัตราเงินเฟ้อในประเทศไว้ที่ 2% ต่อปี ออกมาตรการเพื่อให้เงินเยนอ่อนค่าลง การตั้งอัตราดอกเบี้ยติดลบ การขึ้นภาษีบริโภคที่ถูกวิจารณ์หนักถึง2 ครั้ง ในปี 2014 และปี 2019 แต่ดูเหมือนว่านโยบายนี้ยังไม่ส่งผลดีต่อประเทศญี่ปุ่นเท่าไหร่นักธนาคารโลกถึงกับบอกว่า ดูแล้วนโยบาย Amenomics นั้น ขาดความมุ่งมั่นเพียงพอในการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง

นโยบาย Womenomics นับเป็นอีกนโยบายของอาเบะ ที่ต้องการผลักดันให้สตรี มีโอกาสฉายแสงมากขึ้นในวงการต่างๆ แต่กลับพบว่า ผู้นำองค์กร หรือหัวหน้า ที่เป็นผู้หญิง กลับมีน้อย อีกทั้งในคณะรัฐมนตรี พบว่ามีสตรีเพียงไม่กี่คน และสภาล่าง มี สส.หญิงเพียง 10% เท่านั้นและไม่เคยมีตำแหน่งระดับบนดังนั้น บทสรุปของนโยบายนี้ ก็ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน

พูดถึงนโยบายด้านต่างประเทศกับเพื่อนบ้าน สมัยที่นายอาเบะ เข้ามาดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2012 ได้มรดกเรื่องความสัมพันธ์กับจีนที่ย่ำแย่ กับกรณีพิพาทหมู่เกาะเซนกากุ แต่ประเด็นดังกล่าว นายอาเบะกลับได้รับคำชื่นชมอย่างมาก ที่สามารถจัดการความสัมพันธ์ให้ดีขึ้นได้ และกำลังจะปิดท้ายเทอมที่ดีด้วยการเดินทางเยือนของประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง ของจีนด้วย แต่กลับต้องเลื่อนจากโควิด-19 แต่ดูเหมือนความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่ระหว่างสหรัฐฯและจีน ก็กำลังทำให้ญี่ปุ่นอยู่ในสภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออกเช่นกัน

ส่วนความสัมพันธ์กับเกาหลีใต้ กลับเป็นไปในทางตรงกันข้าม โดยเฉพาะประเด็นพิพาทกันมาโดยตลอดอย่าง Comfort Women ที่ตกลงกันได้เมื่อปี2015 พร้อมกับการที่นายอาเบะยอมขอโทษและแสดงความสำนักผิดอย่างจริงใจ แต่นายมูน แจ อินกลับไม่สนใจ และศาลเกาหลียังได้สั่งให้บริษัทญี่ปุ่นต้องจ่ายค่าสินไหมชดเชยเพิ่มเติม จนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่น-เกาหลีตกต่ำที่สุด นับตั้งแต่ปี 1965

มาถึงนโยบายการรับมือโควิด-19 ของนายอาเบะ ก็มีความเห็นผสมผสานกันไป โดยเฉพาะตั้งแต่เรื่องการสั่งกักตัวผู้โดยสารเรือไดมอนด์ ปริ้นเซส ตลอดจนการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเดือนเมษายน ที่หลายคนมองว่าช้าเกินไป และหลายคนมองว่าการไม่ยอมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอีกครั้ง เพราะกลัวกระทบเศรษฐกิจ ที่จะทำให้คะแนนนิยมลดน้อยลง

นอกจากนี้ ยังมีความพยายามในการปรับแก้รัฐธรรมนูญ ที่อยากจะให้ญี่ปุ่นมีกองทัพ ทั้งที่ญี่ปุ่นได้ลงนามในสนธิสัญญาหลังสงครามโลกครั้งที่สองว่าจะไม่มีกองทัพของตัวเอง ซึ่งตรงนี้ที่ชาวญี่ปุ่นไม่เห็นด้วย เพราะขัดต่อหลักความสงบสุขของประเทศ

ต้องจับตาดูกันต่อว่า ผู้นำคนใหม่ของญี่ปุ่น จะเรียนรู้บทเรียนการเป็นผู้นำของอาเบะมากน้อยขนาดไหน

Let's block ads! (Why?)



"ล้มเหลว" - Google News
August 30, 2020 at 07:30AM
https://ift.tt/3gFNVeS

คุยกัน7วันหน : เปิดนโยบาย 'ชินโสะ อาเบะ' สำเร็จ หรือ ล้มเหลว? - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"ล้มเหลว" - Google News
https://ift.tt/2Kza010
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "คุยกัน7วันหน : เปิดนโยบาย 'ชินโสะ อาเบะ' สำเร็จ หรือ ล้มเหลว? - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Post a Comment

Powered by Blogger.