Search

ระบบถ่วงดุลที่หายไป - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

เรื่องราวการกระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมจากเหตุลูกเศรษฐีชนแล้วหนีและทำท่าว่าจะไร้ความผิดเป็นเรื่องที่คาใจของคนในสังคมทุกระดับชั้น

มีความเห็นหลากหลายจากทุกวงการโดยพุ่งเป้าไปที่ตำรวจและอัยการว่ามีการกระทำที่น่าเคลือบแคลงสงสัยในการช่วยเหลือผู้กระทำผิดโดยไม่ให้คดีถึงศาล อันเป็นการทำลายระบบยุติธรรมอย่างร้ายแรง

นายสยุมพร ลิ่มไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ระยอง และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ เสนอบทความคิดเห็นถึงเส้นทางของการดําเนินคดีอาญาในกระบวนการยุติธรรม เริ่มจากต้นทางคือ การสืบสวนสอบสวนเพื่อหาตัวผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดโดยพนักงานตํารวจไปสู่กลางทางคือ การพิจารณาว่า ควรสั่งฟ้องหรือไม่ โดยพนักงานอัยการ และหากสั่งฟ้องก็จะไปสู่ปลายทางคือ การนําคดีเข้าสู่การพิจารณาของศาล

คดีดังที่เป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ซึ่งอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องและตํารวจเห็นด้วยโดยไม่แย้งคําสั่งดังกล่าว ทําให้ไม่อาจนําคดีเข้าสู่กระบวนการของศาลได้ เป็นสิ่งที่สังคมมีความเคลือบแคลงและตั้งคําถามเกี่ยวกับระบบของกระบวน การยุติธรรมในวงกว้างว่าจะสามารถอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างแท้จริงหรือไม่

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และข้อบังคับกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยระเบียบการดําเนินคดีอาญา กําหนดให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจมีอํานาจทําการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ โดยเฉพาะการอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนในการดําเนินคดีอาญา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอสามารถเข้าควบคุมการสอบสวน โดยการเรียกให้พนักงานสอบสวนมาชี้แจง เรียกสํานวนการสอบสวนมาตรวจพิจารณา และให้คําแนะนําเร่งรัด ให้เป็นผลดีและเป็นไปในทางที่ชอบ หรือสั่งให้เปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนหรือให้พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองเข้าร่วมทําการสอบสวนคดีนั้นด้วยก็ได้ ซึ่งที่ผ่านมาผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอําเภอ ก็ได้พิจารณาใช้อํานาจดังกล่าว กรณีที่ประชาชนร้องเรียนว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือเมื่อเห็นว่าการดําเนินคดีจะเป็นไปในทางไม่ชอบไม่ควร

นอกจากนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้กําหนดให้กรณีที่พนักงานอัยการ มีคําสั่งไม่ฟ้อง ไม่อุทธรณ์ ไม่ฎีกา หรือถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมีความเห็นแย้งคําสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการได้ เพื่อส่งความเห็นแย้งนั้นให้อัยการสูงสุดชี้ขาด

ดังนั้น จะเห็นได้ว่ากฎหมายได้กําหนดให้มีหลักการถ่วงดุลการใช้อํานาจในการดําเนินคดีอาญาต่อประชาชนไว้ โดยให้มีการถ่วงดุลอํานาจระหว่างฝ่ายตํารวจ อัยการ และฝ่ายปกครอง เพื่ออํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลหรือกลใด ภายหลังได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 115/2557 แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กําหนดให้อํานาจในการทําความเห็นสั่งไม่ฟ้องกรณีที่พนักงานอัยการมีคําสั่งไม่ฟ้องจากหลักการเดิม ซึ่งให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้บัญชาการ หรือรองผู้บัญชาการตํารวจแทน เป็นการทําลายระบบถ่วงดุลให้หายไป เพราะเท่ากับตํารวจเป็นผู้จับกุมเอง สรุปสํานวนเอง และมีคําสั่งแย้งคดีได้เอง ส่วนอํานาจหน้าที่ในการเข้าควบคุมการสืบสวนสอบสวนคดีของฝ่ายปกครอง ฝ่ายตํารวจเห็นว่าขัดแย้งกับแนวทางปฏิบัติของสํานักงานตํารวจแห่งชาติ ซึ่งทําให้ฝ่ายปกครองไม่สามารถเข้าไปควบคุมการสืบสวนสอบสวนได้อีก

การใช้อํานาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายในการดําเนินคดีอาญา จึงเป็นกระบวนการต้นทางและกลางทางที่สําคัญยิ่ง ก่อนที่คดีจะเข้าสู่กระบวนการชั้นศาลในปลายทาง ซึ่งควรได้มีการรื้อฟื้นให้มีหลักการและแนวทางเพื่อถ่วงดุลอํานาจมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอํานาจมากเกินไป และส่งผลกระทบต่อการอํานวยความยุติธรรมแก่ประชาชน

เสียงเรียกร้องนี้มีขึ้นเพื่อรักษาประโยชน์ของสังคม.

“ซี.12”

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"หายไป" - Google News
August 08, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2CcuPyK

ระบบถ่วงดุลที่หายไป - ไทยรัฐ
"หายไป" - Google News
https://ift.tt/3bJg2bb
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ระบบถ่วงดุลที่หายไป - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.