Search

เส้นทางฝันนักดาราศาสตร์ของคนธรรมดา "จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร" - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

สานความฝัน “ดาราศาสตร์” ด้วยตัวเอง

หลังจากได้เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว ในช่วงก่อนที่จะเปิดภาคเรียน ขณะนั้นภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนเวลาเปิด-ปิดเทอมใหม่รับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ซึ่งในช่วงเปลี่ยนผ่านนั้น ทำให้นักศึกษาอย่างเขา ซึ่งอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน มีเวลาหยุดนานถึง 6 เดือน

“ตอนนั้นผมเลยเลือกไปฝึกงานกับสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งโชคดีว่ามีนักวิจัยท่านหนึ่งเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศ โดยอาจารย์ท่านมีความเชี่ยวชาญด้าน ‘ดาราศาสตร์วิทยุ’ ผมเลยเหมือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์คนแรก มันดีมากๆ ทำให้ผมได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่”

ดาราศาสตร์วิทยุ คือ สาขาหนึ่งของดาราศาสตร์ โดยจะคอยสังเกตการณ์ช่วงคลื่นความถี่วิทยุ เช่น สารประกอบของแสง สารประกอบของโมเลกุล ภาพหลุมดำ เป็นต้น

เมื่อมหาวิทยาลัยเปิดภาคเรียน จอมพจน์ ได้ลงวิชาเลือกเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความพร้อมมากๆ มีหอดูดาว มีห้องวิจัยสำหรับดาราศาสตร์โดยเฉพาะ

“ตอนนั้นผมได้ทำงานวิจัยเล็กๆ เกี่ยวกับ Spectrograph ซึ่งมันทำให้ผมรู้สึกว้าวมากๆ แล้วมันก็เป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งในชีวิต”

ผจญภัยในต่างแดน

(ขวา) จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร

หลังจากเรียนจบปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก้าวต่อไปของจอมพจน์ คือ การไปศึกษาในต่างแดน โดยเขาเลือกศึกษาต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยบอนน์ ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีชื่อเสียงด้านดาราศาสตร์วิทยุ โดยในช่วงที่เรียนปริญญาโท ปีที่หนึ่งได้ขอทุนจากมหาวิทยาลัยโดยตรง ก่อนที่ปริญญาโท ปีที่สอง ได้ทำเรื่องขอทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ปัจจุบัน คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)

“การขอทุนจากกระทรวงวิทย์ ไม่ยากเท่าไรครับ เนื่องจากระยะหลังกระทรวงเปิดทุนให้คนที่อยู่ต่างประเทศโดยเฉพาะ เหมือนสมัคร ก.พ. แบบไม่ต้องสอบข้อเขียนครับ”

ทั้งนี้ การที่จอมพจน์ได้ไปศึกษาต่อที่เยอรมนี ทำให้เขาเข้าใจโลก เข้าใจสังคม และวัฒนธรรมอย่างยิ่ง

“การมาที่เยอรมนี ทำให้ผมเข้าใจคนต่างด้าวในไทยมากขึ้น ได้สัมผัสความเป็นกึ่งๆ พลเมืองชั้นสอง”

เขายกตัวอย่างว่า ระหว่างเดินตามถนนบางทีก็มีเด็กมาล้อ ผู้ใหญ่บางคนก็มาพูดใส่หน้าเชิงไล่กลับบ้านก็มี ขณะเดียวกัน การที่จอมพจน์ไปศึกษาต่อในเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่มีภาษาเป็นของตัวเอง เขายอมรับว่ามันเป็นภาษาที่ยาก แต่เรื่องของภาษาเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้เราเข้าใจคนพื้นที่มากขึ้น

“ระดับภาษาเยอรมนีของผมตอนนี้ อยู่ในขั้นพอใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งพอผมศึกษาภาษาของเยอรมนี ทำให้ผมเข้าใจเลยว่า ความตรงไปตรงมาของคนเยอรมนี ก็สะท้อนอยู่ในภาษานั่นแหละครับ”

จอมพจน์ ขยายความว่า คนเยอรมนีจะมีกำแพงบางอย่าง ถ้าคุณไม่ใช่เพื่อนของคนเยอรมนี ไม่สนิท เขาจะไม่สนใจคุณ แต่ถ้าคุณเป็นเพื่อนกับคนเยอรมนีแล้ว เขาจะเป็นเพื่อนที่เป็นมิตรกับเรามากๆ

“มันมีเรื่องตลกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องของเจ้านายและลูกน้องคนเยอรมนี เขาคุยกันแต่ใช้ภาษาอังกฤษแทน เขาให้เหตุผลว่า เพราะภาษาเยอรมนีแข็งทื่อ ไม่ยืดหยุ่น และตรงเกินไป เลยใช้ภาษาอังกฤษเพื่อให้มันนุ่มนวลขึ้น”

นอกเหนือจากคนเยอรมนีที่มีความตรงไปตรงมา อย่างเช่นตอนที่เยอรมนีประกาศล็อกดาวน์ มันจะมีหลายเมืองที่มีชายแดนติดกับประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือเบลเยียม คนเยอรมนีบางคนก็อาจข้ามไปซื้อของในประเทศนั้นๆ ซึ่งอาจจะซื้อของแค่ 1 ชั่วโมง แต่พวกเขาก็เลือกกักตัว 7 วัน

อย่างไรก็ดี จอมพจน์ เสริมว่า ปกติแล้วคนเยอรมนีคุ้นเคยกับการทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home ดีอยู่แล้ว โดยแต่ละบ้านจะมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นห้องทำงานโดยเฉพาะ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกก็ถือว่าพร้อมในระดับหนึ่ง

ผมไม่ได้เป็นเด็กเรียนเก่ง

จากซ้ายไปขวา นางสาวพัดชา รัญตะเสวี เจ้าหน้าที่ สนร. เยอรมนี นางนิสรา อุปถัมภ์ประชา อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการศึกษา) และนายจอมพจน์ กับกล้องโทรทรรศน์วิทยุ Effelsberg-100m ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป

เมื่อดูจากดีกรีข้างต้นแล้ว เราคงคิดว่า จอมพจน์ เป็นคนที่เรียนเก่งมาตั้งแต่เด็ก แต่เขาปฏิเสธ และยืนยันว่า ตั้งแต่ไหนแต่ไร เขาไม่ได้เป็นคนที่เรียนเก่ง แม้แต่ทุกวันนี้ก็ไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองเก่งแม้แต่น้อย

“ตอนที่ผมเรียนอยู่ชั้น ม.ต้น ผมก็ไม่ได้อยู่ลำดับต้นๆ ของห้องหรอกครับ เช่นเดียวกับ ม.ปลาย ผมอยู่กลางๆ ค่อนล่างด้วยซ้ำ”

จอมพจน์ อธิบายต่อไปว่า เมื่อครั้งที่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยม เขาเรียนอยู่ในห้องที่เต็มไปด้วยเด็กเรียนเก่ง บางคนก็เก่งทุกวิชา ส่วนตัวของจอมพจน์นั้น เขามีเป้าหมายว่า เรียนแค่พอผ่านแค่นั้นพอ

“ผมถนัดเรียนวิชาฟิสิกส์และคอมพิวเตอร์ รวมถึงดาราศาสตร์ แต่ในวิชาอื่นอย่างเคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คะแนนของผมส่วนใหญ่แค่พอเอาตัวรอด ไม่ให้ตก”

อย่างไรก็ตาม การที่จอมพจน์มีความถนัดในบางวิชานั้น ทำให้ครูเคมีสมัยมัธยมปลาย ออกปากเตือนว่า เก่งวิชาฟิสิกส์เพียงอย่างเดียว มันไม่เพียงพอที่จะก้าวสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้

“ได้ยินแบบนั้นก็รู้สึกนอยด์เป็นเรื่องปกติ ผมเก็บความรู้สึกนั้นไว้นาน กว่าที่จะดีขึ้นก็เป็นช่วงมหาวิทยาลัย”

จอมพจน์ เล่าต่อไปว่า ปัญหาหลักๆ ที่ทำให้ตัวเขาเรียนได้เก่งเฉพาะวิชาฟิสิกส์นั้น เป็นเพราะว่า ตัวเรากดตัวเองให้ตัวเองไม่ฉลาด

“การที่เรามีเป้าหมายที่แน่นอน มันมีดาบสองคม พอเราเห็นเพื่อนเรียนเก่งมากๆ Mindset ของเรามันจะทำให้เราคิดแค่ว่า เรียนแค่พอไหวเท่านั้นพอ ทั้งที่เราอาจมีศักยภาพมากกว่านั้น”

Mindset ที่ทำให้เราคิดตั้งใจเรียนแค่พอผ่าน มันทำให้ทุ่มไม่เต็มร้อย สะกดจิตตัวเองให้การเรียนไม่ทุ่มเท 100%

ประเด็นนี้คล้ายกับหนังสือ Mindset ของ ดร.แครอล ดเว็ค ซึ่งพูดถึงเรื่อง Fixed Mindset ที่มักจะหลีกเลี่ยงความท้าทาย ส่วน Growth Mindset มองความท้าทาย ความยากเป็นเรื่องสนุก

จอมพจน์ เล่าต่อไปว่า จากนั้นจึงตั้งใจเรียน อ่านหนังสือมากขึ้น ซึ่งเขาย้ำว่า “ผมไม่ได้เป็นคนเรียนเก่ง แต่เรามีจุดหมายที่แน่ชัดว่าเราชอบอะไร ก็เลยอ่านหนังสือให้มากขึ้น”

จริงจังเรื่องฟุตบอล

ภาพจากเฟซบุ๊ก 1. FC Köln

เวลาที่พูดถึงประเทศเยอรมนี มีหลายอย่างที่ชวนให้นึกถึงประเทศนี้ ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ ที่มีมากกว่าพันยี่ห้อ ไส้กรอกเลิศรส ระบบการเมืองที่แข็งแกร่ง เศรษฐกิจที่ดีเบอร์ต้นๆ ของยุโรป และเรื่องของฟุตบอลบุนเดสลีกา

จอมพจน์ บอกว่า เรื่องฟุตบอลถือเป็นเรื่องคอขาดบาดตายมากสำหรับคนเยอรมนี คนในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะเลือกเชียร์ทีมบ้านเกิด สมมติว่า ถ้าคุณเกิดในเมืองเคิล์น (Köln) แทบทุกคนจะต้องเป็นแฟนบอลพันธุ์แท้ของเอฟเซ โคโลญจน์

“ไม่ว่าทีมจะชนะ หรือแพ้ เลื่อนชั้น หรือตกชั้น แฟนบอลจะอยู่ข้างสโมสรตลอดทุกเวลา”

เช่นเดียวกัน ถ้าอยู่ใกล้พื้นที่ตั้งของสโมสรอย่างอเลมานเนีย อาเค่น, โบรุสเซียมึนเชน กลัดบัค หรือโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คนท้องถิ่นก็จะเป็นแฟนบอลของทีมนั้นๆ เหมือนกัน

เขาแนะนำเพิ่มเติมว่า เวลาที่จะออกนอกบ้าน ต้องเช็กให้ดีก่อนว่า วันนั้นทีมฟุตบอลในเมืองที่เราอยู่นั้น มีการแข่งขันหรือไม่ ถ้ามีแล้วผลออกมาไม่ว่าจะแพ้ หรือชนะ ก็เตรียมตัวเจอรถติดได้เลย

เรื่องตลกในภาวะโควิด-19

ในช่วงท้าย เราได้ชวนจอมพจน์คุยถึงเรื่องภาวะโควิด-19 ในประเทศเยอรมนี ซึ่งมุมมองของคนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในต่างแดน มองการจัดการไวรัสของรัฐบาลเยอรมนี เขาคิดว่า รัฐบาลเยอรมนีจัดการได้ดีทีเดียว มีพลาดแค่เรื่องเดียวนั่นก็คือ รัฐบาลไม่ได้สั่งระงับงานคาร์นิวัลในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งทำให้เมืองที่ติดชายแดน 3 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ติดโควิด-19 กันเป็นแถบๆ

“ด้วยศักยภาพของประเทศเยอรมนี พวกเขาเป็นประเทศที่มีเตียงเพียงพอ ขณะเดียวกันก็สามารถผลิตเครื่องช่วยหายใจเองได้ การจัดการทุกอย่างเลยดูง่ายไปหมด”

อย่างไรก็ดี ในภาวะโควิด-19 ทำให้ได้ทราบเรื่องราวปลีกย่อยที่ไม่เคยรู้มาก่อนอีกพอสมควร ตั้งแต่เรื่องของหน้ากากอนามัย ซึ่งปกติแล้วในการรับรู้ของคนเยอรมนี เขาจะมองว่า คนที่ใส่หน้ากากคือคนป่วย คนไม่ป่วยไม่ต้องใส่ แต่เมื่อเกิดไวรัสแพร่ระบาด ก็เปลี่ยนไป ทุกคนหันมาใส่หน้ากากเหมือนกันหมด

นอกจากนี้ คนเยอรมนีก็นับถือ “มูเตลู” เหมือนกัน จากการที่มีคนเผยแพร่ความเชื่อว่า “ขิง” สามารถรักษา-ป้องกันโรคโควิด-19 ได้

“ช่วงนั้นทำให้ผมไม่สามารถทำอาหารที่มีส่วนประกอบของขิงได้เลย เพราะขิงขาดตลาด ถูกเอาไปต้านโควิด-19 หมดแล้ว”

สำหรับสถานการณ์ที่เยอรมนี ตอนนี้หวังแต่เพียงแค่ไม่เกิดการระบาดรอบสองเท่านั้น.

ผู้เขียน: Wiwat R.

Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
August 16, 2020 at 08:00AM
https://ift.tt/2Ebz7Xu

เส้นทางฝันนักดาราศาสตร์ของคนธรรมดา "จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร" - ไทยรัฐ
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เส้นทางฝันนักดาราศาสตร์ของคนธรรมดา "จอมพจน์ วงศ์เพชรอักษร" - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.