Search

โควิด-19: คุยกับคนที่เต็มใจเสี่ยงติดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยเร่งพัฒนาวัคซีน - บีบีซีไทย

soho.prelol.com

โปรดเปิดการใช้งาน JavaScript หรือบราวเซอร์ต่างออกไป เพื่ดูเนื้อหานี้

ผู้คนจำนวนมากทั่วโลก กำลังรณรงค์ในโลกออนไลน์ที่ชื่อว่า "1Day sooner" หรือ "เร็วขึ้นหนึ่งวัน" เพื่อให้พวกเขาได้เข้าร่วม "การทดลองที่ท้าทาย" ในการเร่งคิดค้นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

บีบีซีได้พูดคุยกับอาสาสมัคร 6 คน จากหลายประเทศ ที่คิดว่าพวกเขามีความเสี่ยงต่ำและต้องการจะมีส่วนช่วยทำให้การคิดค้นวัคซีนสำเร็จในเร็ววัน

การทดลองที่ท้าทายและความเสี่ยง

อาสาสมัครเหล่านี้เต็มใจที่จะรับเชื้อโรคโควิด-19 เพื่อช่วยให้การทดลองวัคซีนรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

"ถ้าพัฒนาวัคซีนได้เร็วขึ้น เราอาจช่วยชีวิตผู้คนได้มากถึง 7,000 คนต่อวัน" กาเวรียล ไคลน์วักส์ อายุ 23 ปี จากสหรัฐฯ กล่าว

"การทดลองที่ท้าทายมนุษย์อย่างมากนี้อาจช่วยย่นเวลาการพัฒนาวัคซีนลงได้อย่างน้อย 3-6 เดือน" ซายันทัน บาเนอร์จี อายุ 37 ปี จากอินเดียกล่าว

เพื่อให้การทดลองวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว อาสาสมัครเหล่านี้จะต้องรับเชื้อโรคโควิด-19

อาบี โรห์ริก อายุ 20 ปี จากสหรัฐฯ กล่าวว่า "มันคือการเสียสละ ผมเต็มใจและยินดีที่จะรับเชื้อนี้"

การทดลองวัคซีนในคนนี้มีกระบวนการอย่างไร

ปกติวัคซีนใช้เวลาหลายปีในการพัฒนา ทดสอบ ไปจนถึงส่งมอบใช้งานจริง ในช่วงก่อนการทดลองทางการแพทย์จะมีการทดสอบในสัตว์ต่าง ๆ ก่อนที่จะเริ่มมาทดสอบในคนกลุ่มเล็ก ๆ ในระยะที่ 1

จากนั้นระยะที่ 2 จะเพิ่มคนเข้าร่วมเป็นหลายร้อยคน และเพิ่มเป็นหลายพันคนหรือมากกว่านั้นในระยะที่ 3 แล้วจึงตรวจสอบผลลัพธ์ก่อนได้รับการอนุมติให้ใช้ได้ทั่วไป จากนั้นจึงนำไปผลิตและขายออกสู่ตลาด

สำหรับวัคซีนโควิด-19 ระยะเวลาถูกหดให้สั้นลงและการทดลองวัคซีนบางตัวได้เข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว ปกติ นักวิทยาศาสตร์จะรอให้คนติดเชื้อตามธรรมชาติแต่การทดลองที่ท้าทายในมนุษย์จะตัดลดเวลาลง

วัคซีนซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและแอสตราเซเนกา คือหนึ่งในวัคซีนตัวโดดเด่นที่ถูกคาดหวังว่าจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ให้แก่ชาวโลก

กาเวรียลกล่าวว่า "พวกเราที่ได้รับเลือกจะต้องไปที่ศูนย์วิจัย เรากำลังจะรับวัคซีนเราจะรับเชื้อไวรัสโคโรนาในปริมาณที่คำนวณมาแล้วอย่างเหมาะสม ในปริมาณเพียงแค่พอที่จะทำให้เกิดอาการขึ้นเท่านั้น"

ซายันทันกล่าวว่า "เราจะได้รู้ว่าวัคซีนนี้สามารถหยุดยั้งการติดเชื้อใหม่ได้หรือไม่"

ส่วนซาคาเรีย คาฟูโค อายุ 35 ปี จากเซเชลส์ กล่าวว่า "มีความจำเป็นต้องเร่งกระบวนการนี้ ตอนนี้ ถ้าเราพูดถึงการทดลองในระยะ 3 ตามแบบปกติ อาจต้องใช้เวลา 6 เดือน ถึง 2 ปี แต่เราไม่มีเวลามากขนาดนั้น"

ผู้คนนับพันคนกำลังลงทะเบียนทางอินเทอร์เน็ต ผ่านการเคลื่อนไหวระดับรากหญ้า แต่ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้

ปีเตอร์ สมิธ ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาเขตร้อน กล่าวว่า "มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนานเกี่ยวกับการทดลองที่ท้าทายต่าง ๆ ในการทดสอบวัคซีนต้านโรคติดเชื้อหลายชนิดรวมถึงโรคร้ายแรงอย่างอหิวาตกโรคไทฟอยด์และมาลาเรีย"

"ความแตกต่างของการทดลองเหล่านั้น กับการทดลองที่กำลังทำกับโควิด-19 คือ แม้ว่าเรามีวิธีการรักษาบางอย่างในปัจจุบัน ไม่มีวิธีการไหนเลยที่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้น เราไม่อาจรับประกันได้ว่า อาสาสมัครที่เข้าร่วมการทดลองจะไม่ติดเชื้อจนถึงขั้นร้ายแรง" ศ.สมิธกล่าว

อาบีกล่าวว่า "ผมได้บริจาคไตของผม เมื่อหน้าร้อนปีที่แล้ว การทำเช่นนั้น ทำให้ผมเผชิญความเสี่ยงเสียชีวิตในอัตรา 1 ใน 3,300 ผมคิดว่า การสามารถรับความเสี่ยงที่ต่ำลงได้ เพื่อผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่กว่าของมนุษยชาติ ทำให้ผมตกลงที่จะเข้าร่วม"

อลัสแตร์ เฟรเซอร์-อูร์คูฮาร์ต อายุ 18 ปี จากสหราชอาณาจักร กล่าวว่า "เจ้าหน้าที่การแพทย์ที่อยู่แนวหน้ากำลังต่อสู้กับไวรัสโคโรนา พวกเขาไม่รู้ว่ามีความเสี่ยงอะไรแต่พวกเขาก็ยังทำ"

กาเวรียล ผู้ที่ต้องการเป็นอาสาสมัครทดลองวัคซีนโควิด-19

ซายันทันกล่าวว่า "ผมไม่มีโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจผมไม่สูบบุหรี่ ผมไม่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจ ไม่ได้เป็นเบาหวานแล้วก็ไม่มีความดันสูง ผมจึงคิดว่า ตัวเองมีความเสี่ยงต่ำถ้าติดโรคนี้"

กาเวรียลบอกว่า "ไหน ๆ ก็ไม่มีอะไรมารับรองว่าฉันจะไม่ติดโรคนี้อยู่แล้ว ฉันก็คงจะเลือกที่จะบอกว่า: 'ฉันจะขอสัมผัสกับโรคนี้เอง เพื่อช่วยเกิดผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่ทางการแพทย์และการติดเชื้อของฉันก็มีโอกาสอย่างมากที่จะได้ช่วยเหลือคนอื่นด้วย'"

ดานาห์ อัลวาเรซ อายุ 18 ปี จากฟิลิปปินส์ กล่าวว่า "ไวรัสโคโรนาส่งผลกระทบต่อประเทศของฉันอย่างมาก ผู้คนมากมายตกงานรวมถึงพ่อของฉันด้วย ดังนั้น ถ้าพอจะมีอะไรที่ช่วยเราให้คิดค้นวัคซีนได้เร็วขึ้น ฉันก็เต็มใจที่จะทำ"

อาบีกล่าวว่า "คนรุ่นใหม่จำนวนมาก พร้อมที่จะรับความเสี่ยงนี้และมันเป็นการตัดสินใจที่ชอบธรรม"

ศ.สมิธกล่าวว่า "เราจำเป็นต้องมีวัคซีนหลายตัวเพื่อใช้กับคนทั้งโลก การศึกษาที่ท้าทายนี้ จะเป็นหนทางในการประเมินผลวัคซีนในรุ่นที่สอง หรือรุ่นต่อ ๆ ไป ผมค่อนข้างมั่นใจว่าจะผลิตวัคซีนออกมาได้สำเร็จ"

ซาคาเรียบอกว่า "ผมรู้ว่ามีความเสี่ยงในการทำเช่นนี้ แต่มันเป็นสิ่งที่ผมพอจะทำได้ เพราะถ้ามีคนที่ผมรักป่วยเป็นโควิด-19 แล้วไม่มีวัคซีน เราจะเป็นยังไง"

Let's block ads! (Why?)



"มันใช้งานได้" - Google News
September 25, 2020 at 07:13AM
https://ift.tt/2RYtks0

โควิด-19: คุยกับคนที่เต็มใจเสี่ยงติดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยเร่งพัฒนาวัคซีน - บีบีซีไทย
"มันใช้งานได้" - Google News
https://ift.tt/357dMYK
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิด-19: คุยกับคนที่เต็มใจเสี่ยงติดโรคโควิด-19 เพื่อช่วยเร่งพัฒนาวัคซีน - บีบีซีไทย"

Post a Comment

Powered by Blogger.