
รายการ เรื่องลับมาก (NO CENSOR) ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.20-15.00 น. ทางเนชั่นทีวี ช่อง 22 วันนี้ (15 มิถุนายน 2563) ดร.เสรี วงษ์มณฑา เปิดใจสัมภาษณ์ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี จากศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรณีลุยจับค้างคาวมงกุฏ ครั้งแรกในไทย
ปักกิ่งมีเรื่องการติดโควิดมาจากแซลมอน ใช่ไหม ?
ไม่ใช่ค่ะ คือจากการลงพื้นที่ของทางทีมปักกิ่งประเทศจีน พบว่าเชื้อที่พบอยู่บนเขียงที่เขาชำแหละแซลมอน ซึ่งมันสันนิษฐานมาได้หลายช่องทาง ช่องทางที่หนึ่งคือเป็นแซลมอนที่อิมพอร์ตเข้ามาและปนเปื้อน ตกค้างอยู่บนเขียง หรืออาจจะเกิดจากเชื้อที่อยู่ในคนชำแหละ มีดก็ได้ค่ะ แต่มีดก็ต้องมาจากที่อื่นอยู่ดี เพราะมีดเพาะเชื้อไวรัสไม่ได้ ไวรัสไม่สามารถอยู่ในมีดได้โดยลำพัง

ปลาติดโควิดได้ไหม ?
ตัวปลาติดโควิดไม่ได้ โดยหลักการทางวิทยาศาสตร์ เพราะเขาเป็นสัตว์น้ำ ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เหมือนคน ค้างคาว พวกเราจะมีตัวรับเชื้อไวรัส ซึ่งปลาไม่มี ปลาใช้เหงือก ไม่มีปอด เซลล์เหล่านี้อยู่ในปอด ไม่ได้อยู่ในเหงือก โอกาสที่ปลาอะไรก็ตามจะเป็นตัวอมโรค แพร่โรคให้กับคนเป็นไปไม่ได้เลย
การที่ไม่มีปอด มีแต่เหงือก เป็นสิ่งยืนยันได้ว่าแซลมอนติดเชื้อโควิดไม่ได้ ?
ใช่ค่ะ ตัวปลาแทบจะศูนย์เลย ที่จะเป็นตัวเพาะโรค แพร่โรค และติดต่อมาสู่คน ฉะนั้นถ้าเราทานปลาจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้เรื่องความสะอาด ก็สามารถทานปลาดิบได้ และคนแล่ของไทยต้องใส่แมสก์ ใส่ถุงมือด้วยนะคะ
นึกยังไงถึงไปถ้ำค้างคาวที่จันทบุรี ?
จริง ๆ ที่จันทบุรี เป็นสถานที่ที่เรามีงานวิจัยก่อนมีโควิด-19 อยู่แล้ว เรามีงานวิจัยค้นหาเชื้อไวรัสใหม่ ๆ ในค้างคาวทั่วประเทศ ปีที่แล้วเดือนพฤศจิกายน จันทบุรีก็เป็นสถานที่ที่เราไปเก็บตัวอย่าง
อะไรเป็นข้อมูลที่ต้องไปศึกษาจากค้างคาว ?
ทีมของจุฬาลงกรณ์ ทีมของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชและคณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาตร์ เราทำเรื่องเชื้อไวรัสใหม่ ๆ ในค้างคาวมา 20 ปีแล้วค่ะ แต่ตอนนั้นยังไม่มีเกี่ยวกับโควิด พวกเราก็พบว่าเชื้อโคโรน่าไวรัสสามารถพบในค้างคาวได้มากมายมหาศาล มีมาตั้งนานแล้ว อยู่ในค้างคาวอยู่แล้ว แต่ไม่เรียกว่าโควิด แต่เราก็เรียกว่าโคโรน่าไวรัส สายพันธุ์แอลฟ่า เบต้า อะไรก็ว่ากันไป

ตอนเข้าไปต้องเตรียมตัวยังไง ?
สมัยก่อนเราไม่ค่อยรู้ เราก็แต่งตัวธรรมดา แต่พอเรารู้ว่าค้างคาวเป็นตัวอมโรค ไวรัสใหม่ ๆ เยอะเลย เราใส่ชุดหมีขาว ๆ เลยค่ะ เหมือนที่เวลาเราใช้ใส่เก็บตัวอย่างผู้ป่วย ปิดหัวปิดท้าย แล้วก็ใส่แมสก์แบบ N95 ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ใส่แว่นตา ไปกันเยอะค่ะ เพราะการหาเชื้อไวรัสจากค้างคาว ต้องมีทีมไปจับในถ้ำ หนูไม่มีปัญญาค่ะ (หัวเราะ) ไม่มีแรงพอที่จะปีนขึ้นไปบนเขา เป็นทีมของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ที่ปีนเพื่อไปจับ นี่เรียกว่าทีมจับ ทีมที่สองคือทีมจำแนกชนิดของค้างคาว ต้องระบุให้ได้ว่าเป็นชนิดไหน เป็นทีมวนศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ประเทศไทยมีค้างคาวตั้ง 140 สปีชีส์ เขาแยกได้หมดเลยค่ะ พวกหนูเป็นทีมเจาะเลือดค้างคาว เป็นเทคนิคการแพทย์ เก็บน้ำลาย เก็บขี้ค้างคาวมาตรวจในห้องแล็บค่ะ
เข้าไปในถ้ำลึกแค่ไหน ?
ส่วนใหญ่อยู่นอกถ้ำ เรารอให้เขาบินออกมา เราพยายามไม่รบกวนค้างคาว ให้เขาบินออกมาโดยธรรมชาติ นั่นคือทำไมเราถึงทำงานเลิกตีสอง เราไปที่หน้าถ้ำประมาณหกโมงถึงหนึ่งทุ่ม รอให้เขาบินออกมา
จับยากไหม ?
แล้วแต่ชนิดของค้างคาวและปริมาณของค้างคาว ถ้าเป็นราชบุรีที่เราชอบไปเที่ยวดูค้างคาว อันนั้นมีค้างคาวเป็นล้านตัว จะมีลักษณะเป็นถ้ำ จับง่าย

ตอนเกิดโควิด หลายคนพุ่งเป้าไปที่ค้างคาว เรื่องอู่ฮั่นมีข่าวเรื่องค้างคาว ทำให้ศึกษาเรื่องนี้หรือเปล่า ?
เป็นส่วนหนึ่งค่ะ เป็นเหตุที่ทำให้เราศึกษาเพิ่มเติม เพราะที่อู่ฮั่น ทำวิจัยและพบว่าไวรัสที่พบในค้างคาวมงกุฏมีลักษณะตัวรหัสพันธุกรรมเหมือนไวรัสที่พบในตัวผู้ป่วยถึง 96 เปอร์เซ็นต์ ก็เลยเป็นจุดเชื่อมโยงว่าโรคนี้น่าจะเป็นต้นตอมาจากค้างคาวและเป็นโรคจากสัตว์สู่คนก่อนที่จะแปลตัวเองมาเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนอย่างทุกวันนี้
เราได้ยินเรื่องค้างคาว เรื่องถ้ำที่ราชบุรี แต่ของหนูเป็นจันทบุรี ทำไม ?
จริง ๆ หนูตั้งใจไปทุกถ้ำค่ะ แต่ที่ราชบุรี เราศึกษามาเกือบ 10 ปีแล้ว เราไปต่อเนื่อง ไปจนพรุนแล้ว จริง ๆ ที่ราชบุรีเราเรียกว่าค้างคาวปากย่น แต่ว่าค้างคาวที่เป็นต้นตอ พบเชื้อคล้ายโควิด 19 ชื่อค้างคาวมงกุฏ ณ ตอนนี้หนูกำลังศึกษาว่าถ้ำไหนบ้างที่มีค้างคาวมงกุฏอยู่ ตัวที่ราชบุรี ที่เราไปสำรวจเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมทั้งเมื่อปีที่แล้ว ยังไม่เจอค้างคาวมงกุฏ เป็นที่มาว่าแหล่งใหม่ที่เราศึกษาที่จันทบุรี เราเลยจะไปดูเพิ่มเติม ซึ่งก็ไม่เจอค่ะ สามคืนที่เราไปจับค้างคาว
แสดงว่าพันธุ์เดียวที่เกิดเหตุที่อู่ฮั่นไม่ได้อยู่ที่เรา ?
มีค่ะ แต่อาจอยู่ที่อื่น แต่สองถ้ำที่ไปไม่มี ก็เป็นภารกิจของกรมอุทยาน ที่เขาจะไปดูว่าถ้ำไหนบ้างในประเทศไทยที่มีค้างคาวมงกุฏ และเก็บตัวอย่างมาตรวจที่ห้องแล็บ
จับค้างคาวมาเจาะเลือดกี่ตัวถึงสรุปว่าไม่มีพันธุ์โคโรน่า ?
โดยหลักการแล้วต่อ 1 สถานที่ 1 ครั้งที่จับ ต้องมีอย่างน้อย 100 ตัว เพื่อให้ได้จำนวนมากเพียงพอที่จะยืนยันว่าถ้าตรวจไม่พบ คือไม่พบจริง ๆ ไม่ใช่ไม่พบเพราะจำนวนไม่พอ แต่รอบนี้ที่จันทบุรี เนื่องจากเราไป 3 คืน เราเลยจับมา 200 ตัว พบค้างคาว 5 ชนิดแต่ไม่มีค้างคาวมงกุฏค่ะ แต่อย่างไรก็ตาม ค้างคาว 5 ชนิดที่เก็บมาก็จะตรวจหาเชื้อโคโรน่า เพื่อดูว่ามีโคโรน่าแบบโควิดหรือเปล่าในสายพันธุ์ค้างคาวอื่นเพื่อความสบายใจ ซึ่งตอนนี้กำลังตรวจค่ะ

สมมติถ้าเจอ ได้มองไปข้างหน้าเลยมั้ย กระบวนการต้องทำอะไรถ้าเจอโควิดในค้างคาวพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งในประเทศไทย ?
เรามีกระบวนการ มีแผนงานอยู่แล้วค่ะ ถ้าพบในค้างคาว สิ่งที่ต้องดูต่อไปคือในสิ่งแวดล้อมในที่นั้น ๆ ไม่ว่าจะคนหรือสัตว์เลี้ยง มีคนที่สัมผัสหรือติดเชื้อจากค้างคาวหรือไม่ แล้วมีกระบวนการเก็บตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงในคนเพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อไวรัสหรือมีประวัติการติดเชื้อไวรัสในค้างคาวหรือไม่ นี่เป็นเรื่องกระบวนการว่ามีเชื้อในต้นตอ และมีคนติดเชื้อหรือไม่ ให้การประชาสัมพันธ์เรื่องการไม่สัมผัสใกล้ชิดกับค้างคาว ไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าเรื่องการกิน การเข้าไปท่องเที่ยวโดยไม่มีอุปกรณ์ปกปิดค่ะ
ผล 200 ตัวจะออกมาเมื่อไหร่ ?
คิดว่าอย่างน้อยต้องรอ 1 สัปดาห์ค่ะ
ไม่ควรกินค้างคาว ถ้ากินแล้วเป็นยังไง ?
อร่อยหรือไม่หนูไม่รู้ แต่เรื่องสุขภาพ ถ้าปรุงให้สุกก็ถูกต้องในเรื่องไวรัสตาย แต่คนมีความเสี่ยงสูงสุดคือคนปรุงและคนล่า การชำแหละค้างคาวโดยมือเปล่า ถ้ามือมีบาดแผล เชื้อจากไวรัสไม่ว่าจากขี้ค้างคาว จากอวัยวะ จากเลือด ก็สามารถเข้าสู่ตัวเราได้ อาจเป็นโรคใหม่ที่ไม่ใช่โควิดก็ได้ค่ะ

ค้างคาวเป็นสัตว์อมโรค แปลว่าอะไร ?
แปลว่าเชื้ออยู่ในค้างคาว แต่ค้างคาวไม่เป็นโรค แต่เมื่อค้างคาวเอาเชื้อไปให้คนอื่น หรือสัตว์ชนิดอื่น ซึ่งเป็นมือสองในการรับโรค อาการจะเพิ่มทวีรุนแรงมากขึ้น ค้างคาวมีเชื้อแต่ไม่ป่วย ซึ่งงานวิจัยทั่วโลก พบว่าค้างคาวอมโรคที่นำสู่คนได้อย่างน้อย 60 ชนิดแล้วค่ะ
เล่าวิธีการจับให้ฟังหน่อย ?
จริง ๆ ก็อยู่ที่ชนิดของค้างคาวและสถานที่ หลัก ๆ เราจับค้างคาวด้วยตาข่าย ดักให้ค้างคาวติดตาข่ายแล้วปลดเขาออกมาอย่างนุ่มนวล และใส่ถุงผ้าขาว ๆ หนึ่งตัวหนึ่งถุง เป็นถุงผ้าฝ้าย ผ้าคอตตอลที่เขาสามารถหายใจได้ แล้วเอาค้างคาวที่อยู่ในถุงมาห้องแล็ปชั่วคราวที่อยู่ในพื้นที่ เก็บตัวอย่าง เจาะเลือด เขายังมีชีวิต เราไม่ฆ่าเขา เก็บน้ำลายค้างคาว เก็บขี้ค้างคาว ถ้าเขาไม่ขี้ ก็เอาไม้พันสำลีขนาดเล็กสุดสวนไปที่ก้นและเก็บขี้ค้างคาวออกมา พอได้ทุกอย่างก็ปล่อยทันที ไม่ให้ค้างคาวอยู่ในถุงเกิน 2-3 ชม. เพราะถ้าอยู่นานเกินไป เขาจะเพลียและเสียชีวิตได้
ทุกตัวที่เอามาต้องได้อะไร ?
ต้องได้ 3 อย่าง หนึ่งน้ำลาย สองขี้ค้างคาว สามเลือดค่ะ
ถ้าจับมา 200 ต้องทำทั้ง 200 ?
ใช่ค่ะ แล้วก็ปล่อยเขาไปค่ะ

โรคที่พวกเราคุ้นเคย ที่ค้างคาวอมเอาไว้ โรคอะไรบ้าง ?
เป็นโรคอุบัติใหม่ทั้งหมดและทำให้เสียชีวิตสูง ๆ คือโรคอีโบล่า โรคมาร์เบิร์ก ซึ่งเป็นพี่น้องอีโบล่า เกิดขึ้นจากแอฟริกา โรคซาร์ส โรคสมองอักเสบนิปาห์ ที่ทำให้เกิดโรคระบาดที่มาเลเซีย บังคลาเทศ และอินเดีย โรคเอ็นดร้า ทำให้ม้าป่วย และทำให้สัตวแพทย์ป่วย พบที่ออสเตรเลีย โรคเมอร์ส
โรคเหล่านี้ติดต่อสู่คนได้ยังไง ?
จริง ๆ โรคอยู่ในค้างคาวอยู่แล้ว แต่ส่วนใหญ่มาสู่คนได้เพราะเราไปยุ่งกับเขา ยุ่งโดยตรงและโดยอ้อม ยกตัวอย่างโรคสมองอักเสบนิปาห์ เราไปบุกรุกพื้นที่ป่า ไปเพาะทำฟาร์มหมูใกล้ ๆ พื้นที่ป่า ทำให้หมูกับค้างคาวใกล้ชิดกัน และค้างคาวก็ถ่ายทอดมาสู่หมู คนชำแหละหมูก็ติดจากหมู และการบริโภค อาจไม่ได้กินโดยตรง ยกตัวอย่างซาร์ส ค้างคาวมาอยู่ในตลาดค้าของป่า ร่วมกับตัวอีเห็น แล้วไวรัสซาร์สจากค้างคาวติดมาสู่อีเห็น คนก็ไปบริโภคตัวอีเห็น แล้วก็มีเรื่องของไปกินน้ำอินทผลัมสด ที่อินเดียกับบังคลาเทศ เขานิยมดื่มน้ำตาลจากต้นอินทผาลัม เขาจะปาดแล้วให้มันหยด ๆ ที่นั่นค้างคาวก็บินและเลีย เขาจะเก็บตอนกลางคืน ค้างคาวที่ชอบน้ำหวานก็ไปเลีย ไปฉี่รด ที่นั่นเขามีวัฒนธรรมการบริโภคสด ๆ เก็บตอนกลางคืน ตอนเช้าก็เอามาขาย แล้วก็ติดเชื้อจากตรงนี้ ติดโดยตรงเหมือนกัน
ที่เมืองไทยล่ะ ติดได้ยังไง ?
ที่เมืองไทยยังไม่มีกรณีที่คนติดเชื้ออะไร ๆ จากค้างคาวค่ะ แค่มีงานวิจัยว่าเราเจอเชื้อที่สามารถนำโรคจากค้างคาวสู่คนได้ แต่ยังไม่มีค่ะ พวกเราก็โชคดีค่ะที่เราพบค้างคาวที่เป็นสัตว์อมโรคในประเทศเรา แต่ยังไม่มีการแพร่สู่คนค่ะ
"อยู่บน" - Google News
June 15, 2020 at 09:18PM
https://ift.tt/3hugxJA
ดร.สุภาภรณ์ เผยแผนล่าค้างคาว หาเชื้อ โควิด 19 ในไทย ชี้ในถ้ำไทยยังไม่พบ - Kapook.com
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ดร.สุภาภรณ์ เผยแผนล่าค้างคาว หาเชื้อ โควิด 19 ในไทย ชี้ในถ้ำไทยยังไม่พบ - Kapook.com"
Post a Comment