MG ZS EV เอสยูวีไฟฟ้าที่เปิดตัวด้วยราคาเพียง 1,190,000 บาท มีคนสนใจมากมายแต่ไม่กล้าซื้อใช้ด้วยหลายปัจจัย และเพื่อไขข้อข้องใจที่มีบทความนี้จะชี้แจงให้ได้ทราบ
นับจากวันแรกที่ MG ZS EV เอสยูวีไฟฟ้าคันแรกที่จำหน่ายไทยด้วยราคาต่ำกว่าการคาดการณ์ที่ 1.5 ล้านบาท สร้างกระแสอีวีฟีเวอร์ให้ผู้คนทั่วฟ้าเมืองไทยหาข้อมูลกันแบบถล่มทลาย โดยกลุ่มลูกค้าชุดแรกที่ซื้อรถรักษ์โลกสีฟ้าไปใช้คือคนที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้าเป็นทุนเดิม ซึ่งปัจจุบันเราพบเห็นว่าปริมาณรถรุ่นนี้บนท้องถนนมีจำนวนเพิ่มขึ้นชัดเจน และทำให้หลายคนเกิดคำถามขึ้นในใจว่า เราเหมาะกับรถยนต์ไฟฟ้าแบบนี้จริงหรือ?
คนครอบครองรถยนต์ไฟฟ้าคือต้องมีบ้านหรือทาวน์โฮม?
คนส่วนใหญ่มักตัดสินไปก่อนแล้วว่ายานยนต์ไฟฟ้านั้นเกิดมาเพื่อคนที่มีบ้านส่วนตัว ไม่ว่าจะบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ซึ่งสามารถติดตั้งแท่นชาร์จที่เรียกกันว่า Wallbox ไว้สำหรัยชาร์จไฟกลับสู่ตัวรถในเวลาไม่นานนัก เพราะจะให้พึ่งพาจุดชาร์จตามสถานที่ต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก ข้อนี้เป็นสิ่งที่ถูกไม่มีข้อโต้เถียง
ถ้าเกิดมีใครสักคนอาศัยอยู่ตามอพาร์ทเม้นท์หรือคอนโดมิเนียมแล้วเกิดอยากใช้รถใส่ถ่าน ข้อนี้ก็เป็นเรื่องที่ผู้คนคิดกันไปเองแล้วว่ามันไม่สามารถทำได้กับที่พักอาศัยทั่วไป ซึ่งไม่มีจุดชาร์จหรือล็อคช่องจอดไว้สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จะมีก็แต่พวกบรรดาคอนโดราคาแพงหลายล้านบาท ใครจะยอมจ่ายเงินแพงกว่าเพื่อการใช้งานรถที่ไม่สะดวกบ้าง?
ตอนแรกเราคิดตรงกับที่เขียนมาข้างต้นเหมือนกับคุณผู้อ่านนั่นแหละ เนื่องจากไม่สะดวกเอาเสียเลยหากไม่มีจุดชาร์ทไฟเติมพลังให้กับรถ แต่จากที่ได้ลองนำเอามาใช้งานจริงก็พบว่าบางทีอาจไม่ได้แย่ทุกข้อเสมอไป
ขอยกพฤติกรรมการใช้รถยนต์ส่วนตัวในทุกวันนี้มาเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ โดยผู้เขียนนั้นในวันธรรมดาจะเดินทางไปทำงานด้วยรถไฟฟ้าทั้ง MRT กับ BTS นั่นหมายความว่ารถยนต์ของผู้เขียนมีโอกาสใช้งานเพียงวันเสาร์ อาทิตย์ หรือบางวันที่มีธุระจำเป็นต้องออกไปข้างนอก
พอมาลองดูวิถึชีวิตประจำวันอย่างถี่ถ้วนก็ทำให้เข้าใจว่า ในหนึ่งเดือนผู้เขียนขับรถส่วนตัวเฉลี่ยไม่เกิน 500 กิโลเมตร หรือบางเดือนอาจน้อยกว่านั้น นั่นหมายความว่า MG ZS EV ที่ชาร์จแบตเตอรีจนเต็มวิ่งได้ราว 300 กม. ตลอดเวลาหนึ่งเดือนอาจต้องชาร์จราว 1-2 ครั้ง ซึ่งสถานการณ์จริงผู้เขียนขับรถไปห้างที่มีจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในวันหยุด เพื่อทำธุระซื้อของนู่นนี่ก็ใช้เวลาต่ำๆ 4-5 ชม. แล้ว พอกลับมาดูที่รถก็พบว่าแบตเตอรีกลับมาอยู่ในโซนราว 80% เพียงพอให้วิ่งได้เกิน 200 กิโลเมตร ยังเหลือไว้สำหรับการขับรถไปธุระต่างๆ แบบไม่ต้องกังวล
ทีนี้ถ้าไม่มีช่องจอดชาร์จบางแอปพลิเคชัน เช่น EA Anywhere เปิดให้ผู้ใช้งานสามารถจองคิวการใช้บริการได้ด้วย หรือถ้าไปบริเวณใดแล้วไม่รู้ว่าจะหาจุดชาร์จรถได้ที่ไหน นี่เลยแนะนำให้ใช้ Plugshere ที่เข้าได้ทั้งเว็บไซต์กับแอปฯ ที่มีระบุประเภทของจุดชาร์จ ว่ามีหัวชาร์จแบบใด ชาร์จปกติ ชาร์จด่วน วันเวลาการเปิดให้บริการ หรือแม้แต่การรีวีวโดยผู้ใช้งานที่เคยมาจุดนี้พร้อมรูปภาพ ทำให้การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในเมืองง่ายขึ้นไปอีกขั้น
ของแถมต่อมมาคือการที่คุณไม่ได้ใช้รถประจำทุกวัน หากเป็นรถยนต์ปกติจะมีปัญหาเรื่องเครื่องยนต์กับระบบเกียร์เสื่อมสภาพไวกว่า รวมถึงแบตเตอรี 12 โวลต์มีโอกาสหมดสภาพเร็วกว่าอีกต่างหาก แต่กรณีของรถยนต์ไฟฟ้าไม่เป็นแบบนั้น เพราะรถขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่รับพลังมาจากแบตเตอรีลิเธียมไอออน การจอดนานหลายเดือนอาจทำให้แบตฯ ลดลงไปน้อยมาก
อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้ายังคงมีแบตเตอรี 12 โวลต์อยู่ ซึ่งถ้าไม่ได้ใช้งานนานๆ มันก็มีสิทธิไฟหมดได้เหมือนกัน แต่โชคดีที่ ZS EV มีวิธีการรักษาสภาพแบตลูกเล็กให้อยู่คู่รถไปนานๆ ด้วยการสั่งเปิดแอร์รถด้วยแอป i-SMART เพื่อให้ตัวรถสั่งการจ่ายพลังงานไปยังระบบปรับอากาศ และเป็นการรีชาร์จแบตลูกเล็กไปพร้อมกัน โดยหากไม่ได้ใช้รถนานเกิน 1 เดือน ก็หมั่นสั่งเปิดแอร์รถทิ้งไว้สักครั้งละ 10-15 นาที และทำได้ทุกที่ในโลกขอเพียงคุณพกสมาร์ทโฟนที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ใช้รถนานค่าบำรุงรักษากับแบตเตอรีแพงหรือเปล่า?
ขึ้นชื่อว่าเป็นรถก็ย่อมมาพร้อมค่าใช้จ่ายที่มาลดจำนวนเงินในกระเป๋าของคุณอยู่แล้ว แน่นอนว่ารถยนต์ไฟฟ้าก็มีรายการเสียเงินในส่วนนี้ไม่แตกต่างจากรถเครื่องยนต์สันดาป ว่าแต่มันมากหรือน้อยกว่าในข้อใดกันบ้าง?
จากการหาข้อมูลพบว่าการครอบครอง ZS EV เป็นเวลา 5 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร ตามตารางระบุค่าใช้จ่ายไว้ 8,545 บาท โดยในช่วง 30,000 กิโลเมตร หรือ 18 เดือนแรก เจ้าของเพียงนำรถเข้าไปตรวจเช็คความเรียบร้อย ณ ศูนย์บริการเท่านั้น ต่อมาช่วง 40,000 กิโลเมตร หรือ 24 เดือนผ่านไป จะมีการเปลี่ยนไส้กรองแอร์กับน้ำมันเบรก ที่จ่ายเงินเพียง 768 บาท และไปจ่ายหนักอีกที 6,177 บาท ในระยะ 80,000 กิโลเมตร หรือ 4 ปี
เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรถยนต์เอสยูวีเครื่องยนต์สันดาป หรือเครื่องไฮบริดในระดับราคา 1,1xx,000 ใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่แล้วมีค่าเฉลี่ยอยู่ราว 21,000-33,000 บาท ทำให้เห็นว่ารถยนต์ไฟฟ้าใหม่ๆ ที่เปิดตัวมีค่าบำรุงรักษาไม่ได้แพงเท่าที่หลายคนคิด
คราวนี้มาลองดูเรื่องแบตเตอรีที่เป็นค่าราว 60% ของตัวรถยนต์ไฟฟ้ากันบ้าง ทางเอ็มจีระบุว่า ZS EV รับประกันแบตเตอรี 8 ปี หรือ 180,000 กม. ซึ่งในการเข้าศูนย์แต่ละครั้งจะมีการตรวจเช็คระบบที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไฟฟ้าและแบตเตอรี โดยแบตเตอรีมีโมดูลย่อย 18 โมดูล หากเสียขึ้นมาทางเอ็มจีจะทำการเปลี่ยนให้ทันที
สำหรับใครที่สงสัยว่าถ้าหมดระยะประกันแล้วจะต้องเสียเงินกับค่าอุปกรณ์พวกนี้กี่บาท เราได้ข้อมูลน่าสนใจมาดังนี้
– Battery Management System (BMS) – ชุดระบบจัดการแบตเตอรี ราคา 10,406 บาท
– Traction Motor – มอเตอร์ไฟฟ้า ราคา 59,385 บาท
– Battery Module – แบตเตอรีลิเธียมไอออน ราคา 39,000-41,000 บาท ต่อ 1 หน่วย หากเปลี่ยนใหม่หมดทั้งลูกอยู่ราว 720,000 บาท
ตามปกติแล้วแบตเตอรีจะไม่ได้เสียพร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ แต่มักเสียทีละ 1-3 หน่วยไม่เกินนี้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรีพวกนี้เสื่อมสภาพมาจากการใช้รถจนแบตฯ เกือบหมดเหลือไม่ถึง 10% บ่อยครั้ง คิดง่ายๆ ว่าให้มองรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเหมือนสมาร์ทโฟนหนึ่งเครื่อง ลองดูได้ว่าถ้าคนไหนใช้แล้วชอบปล่อยให้แบตหมดบ่อยๆ รายนั้นก็มักเจอปัญหาแบตพังก่อนเวลาอันควร
ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ผู้ที่กำลังสนใจอยากซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ได้เน้นเฉพาะ MG ZS EV เท่านั้น หากยังรวมถึงรถยี่ห้ออื่นๆ ที่เข้ามาเป็นตัวเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค โดยในอนาคตยุคแห่งยานยนต์ไฟฟ้าจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนวงการยานยนต์ไทย ให้ก้าวทันทัดเทียมนานาอารยประเทศอีกไม่ช้า
"อยู่บน" - Google News
June 09, 2020 at 02:32PM
https://ift.tt/2MG3NRT
MG ZS EV อยู่ในเมืองใช้ได้ไหม ค่าบำรุงรักษาแพงหรือเปล่า? ที่นี่มีคำตอบ - Top Gear Thailand
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo
Bagikan Berita Ini
0 Response to "MG ZS EV อยู่ในเมืองใช้ได้ไหม ค่าบำรุงรักษาแพงหรือเปล่า? ที่นี่มีคำตอบ - Top Gear Thailand"
Post a Comment