Search

สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters

soho.prelol.com

โดย ไมตรี จงไกรจักร  ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท

หลายคนคงเคยได้มาเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ จ.สตูลกันมาบ้างแล้ว อาจเป็นเกาะที่มีทะเลสวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยจากสายตานักท่องเที่ยว หรือใครบางคนก็ได้. แต่ความสวยของเกาะนี้คือชายหาด ชายทะเล เกาะแก่งต่างๆ ที่ผ่านสายตานักท่องเที่ยวทั่วไป. แต่นักท่องเที่ยวที่สนใจวิถีชุมชนคงมีคำถาม หรือข้อสงสัยมากมายที่เดียว ที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ เฉกเช่นเดียวกับทีมเราที่ลงพื้นที่นี้ไป เมื่อ 12 ปี ก่อนผมได้มีโอกาสัมผัสเกาะแห่งนี้อย่างจริงจัง

    คำบอกเล่า และบันทึกช่วยจำในหอจดหมายเหตุ  ทำให้พอทราบประวัติศาสตร์ว่า เกาะหลีเป๊ะ ได้รับการปักปันเขตแดนในยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีผู้แทนประเทศสยามในขณะนั้น กับผู้แทนประเทศมาเลเซีย ปักปันเขตแดน โดยมีข้าหลวงจากประเทศอังกฤษ เป็นคนกลาง. ไม่สามารถตกลงเขตแดนกันได้ จนในที่สุด ข้าหลวงจากประเทศอังกฤษ จึงขอให้ถามประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะ

 สายใจ หาญทะเล พี่น้องชาวเลบนเกาะหลีเป๊ะเล่าให้เราฟังว่า “เมื่อเขาตกลงกันเช่นนั้น จึงเรียกชาวเกาะมานั่งประชุมกัน และถามชาวเกาะว่า จะอยู่ประเทศไหน. ปู่ของพวกเรา เองที่ตอบไปว่าขออยู่ประเทศสยาม” 

“ถ้าเรารู้ว่าชีวิตของคนบนเกาะจะตกอยู่ในสภาพที่ผู้ปักปันเขตแดนประเทศไทย ต้องกลายเป็นผู้บุกรุกเกาะเช่นวันนี้ ถ้าปู่ของพวกเรารู้ คงเสียใจที่ลูกหลานลำบากเหมือนในปัจจุบัน คงเลือกที่จะอยู่ประทศมาเลเซียไปแล้ว เพราะได้รับการดูแลดี เหมือนกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆของเขา ถ้าย้อนเวลาได้ จะให้ปู่เลือกอยู่ประเทศมาเลย์” เธอพูดพร้อมกับเสียงหัวเราะขื่นๆ

    เช่นเดียวกับสลวย หาญทะเล ที่ได้เล่าเสริมว่า “ชาวเกาะ เคยมีทางเดินสาธารณะ ถนนสาธารณะ มีขุมน้ำ แหล่งน้ำสาธารณะ ชายหาด ทะเล ที่จอดเรือเป็นของพวกเรา เราหาปลา ทำกินได้ทุกที่. แต่วันนี้ทางลงทะเลของพวกเราก็หายไป ลงชายหาดไม่ได้ จอดเรือชายหาดไม่ได้. หาหอยชายหาดไม่ได้ บางหาดเราเดินผ่านยังยาก ไม่เห็นมีหน่วยงานไหนแก้ปัญหาให้เราได้เลย แถมพวกเรายังถูกฟ้องขับไล่ออกจาที่ดินของตัวเอง ฉันเองก็ถูกฟ้องไล่ที่ ถูกปิดทางเดิน. แต่วันนี้ฉันเพิ่งชนะคดี ได้ที่ดินคืนให้พี่น้อง 6 ครอบครัวได้อาศัยในที่ดินเดิม. แค่นี้ก็ยากมากกับความลำบากยากจนของพวกเรา”

    “โควิด-19  ทำให้คนเกาะ(ชาวเล)ตกงานทั้งเกาะ ไม่มีรายได้ใดๆเลย ผู้ชายกว่า 90% หันมาหากินทางทะเล ออกเรือตกปลา หาหอย ดำปลา จับปลา. แต่เจอปัญหาว่าปลาเราไม่มีที่ขาย ที่ทำได้แค่ขายกันกินภายในเกาะกับนักท่องเที่ยวที่ตกค้างอยู่ กับเอกชนที่ซื้อเป็นอาหาร และกับคนที่มีอาชีพท่องเที่ยวทำกินในเกาะ เสมือนหามาแบ่งปันกันกินในราคาถูกๆ. นั่นเป็นเพียงแค่การประทังชีวิตของพวกเรา. จนพวกเราส่งข่าวไปยังเครือข่ายชาวเลอันดามัน กับมูลนิธิชุมชนไท ว่าชาวเลเกาะหลีเป๊ะเจอวิกฤติอาหาร และรายได้ ขอเข้าร่วมโครงการข้าวแลกปลาด้วย. นั่นแหละคือความหวังของเรา” เดชนรงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 เกาะหลีเปะ เล่าให้เราฟัง

    “เรื่องข้าวแลกปลานี่สร้างปัญหาให้เราเหมือนกัน เพราะเครือข่ายฯ กับมูลนิธิชุมชนไท เอาข้าวฝากให้ทหารเรือขนมาส่งมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัด. ทำให้ข้าวทั้งหมดเข้าสู่ระบบราชการ หน่วยงานต่างๆ จึงเอามาดำเนินการตามหนังสือที่เกี่ยวข้องว่าให้มอบให้ชาวเล. จากเรื่องเล็กๆก็กลายเป็นเรื่องใหญ่ทันทีเพราะชาวเกาะขอให้จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งมอบข้าวสารให้กรรมการชาวเล.ดำเนินการ เพื่อจะได้ทำปลาส่งคืนไปแลกข้าวต่อไป จนมีปัญหาไม่เข้าใจกัน. เกือบบานปลาย. จนคืนนั้นพวกเราต้องขอให้ผู้จัดการมูลิธิชุมชนไท ทำหนังสือยืนยันให้ ถึงจะลงตัวกัน ทั้งที่เป็นโครงการข้าวแลกปลาชาวเล ที่พวกเราอยากทำแท้ๆ” สายใจ กล่าวขึ้นมาอีกครั้ง

    ทั้งนี้ชาวเลเกาะหลีเป๊ะได้ชักชวนเพื่อนๆเครือข่ายชาวเลในอันดามันลงพื้นที่เพื่อร่วมรับรู้ปัญหาของพี่น้องชาวเกาะ และออกแบบการจัดงานรวมญาติชาวเลครั้งที่ 11 โดยชาวเกาะหลีเป๊ะขอเป็นเจ้าภาพจัดงานครั้งนี้ หลังมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 ให้มีวันรวมญาติชาติพันธ์ชาวเลทุกปี เครือข่ายชาวเลอันดามันมีข้อสรุปร่วมกันว่า การจัดงานครั้งนี้มีเป้าหมายที่สำคัญคือ 

1.ให้ผู้บริหารประเทศรับรู้ปัญหาของพี่น้องชาวเลในเกาะหลีเปะ และนำปัญหาไปหาแนวทางแก้ไขภายใต้คณะกรรมการแก้ปัญหาชาวเลที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ ศิลปอาชา) เป็นประธาน

2.เพื่อการสื่อสารพื้นที่รูปธรรมเขตส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์ชาวเล ใน 10 พื้นที่ ซึ่งผ่านการทำงานวิจัย ออกแบบการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะและสังคม. 3.เพื่อการยกระดับการขับเคลื่อนรูปธรรมการจัดการในพื้นที่ สู่การผลักดัน พระราชบัญญัติส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์ พ.ศ……… 

“เราไม่ควรจัดงานครั้งนี้เพียงเพื่อรวมญาติให้พี่น้องอย่างเดียวเท่านั้น. เพราะต้นทุนการจัดงานในพื้นที่นี้จะสูงมาก ทั้งการเดินทาง ค่าอาหารการกิน ค่าที่พัก ราคาสูงและยากลำบาก. เราต้องออกแบบงานล่วงหน้า อย่างละเอียด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด. และเราควรชวนภาคีที่เคยสนับสนุนเครือข่ายชาวเลก่อนหน้านี้มาร่วมงาน และสนับสนุนการจัดงานด้วย. เช่นทหารอากาศ ทหารเรือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ(สช.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) สถาบันวิจัยสังคมจุฬาฯ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) หรือกองทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนเปราะบางต่างๆ ด้วย” แสงโสม. หาญทะเล. เจ้าของพื้นที่อีกรายหนึ่ง กล่าวทิ้งท้ายในที่ประชุม

    งานรวมญาติชาติพันธ์ชาวเลครั้งที่ 11 จะจัดขึ้นในวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2563 ที่เกาะหลีเป๊ะ จ.สตูล โดยใช้ชื่องาน “วิกฤตชาวเล 10 ปี มติครม…..สู่กฎหมายส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์” โดยรูปแบบในงาน จะเชิญผู้เกี่ยวข้องมาขึ้นเวทีเสวนาร่วมกัน. เริ่มด้วยการให้ตัวแทนชาวเลบอกเล่าเรื่องราวอันเป็นกฤตของชาวเลทุกจังหวัด ก่อนที่จะให้ผู้ร่วมเสวนาที่เป็นผู้บริหารประเทศ ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับฟังและช่วยกันหาทางออกพร้อมกับแนวทางในการขับเคลื่อนกฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมกลุ่มชาติพันธ์ให้เป็นจริง ตามที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งให้มีกฎหมายนี้ ภายในปี 2565  

ส่วนช่วงเย็นของงานดวันแรกจนถึงค่ำ จะเน้นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของพี่น้องชาวเล  ขณะที่เช้าวันรุ่งขึ้นจะเริ่มด้วยกระบวนการแลกเปลี่ยนเรื่องเขตคุ้มกครองวัฒนธรรมนำร่องของแต่ละพื้นที่ พร้อมกับการยกร่างกฎหมายคุ้มครองกลุ่มชาติพันธ์ ให้เป็นร่างแรกที่เกิดจากชาวเลจริงๆ

    “เราอยากเชิญชวน เพื่อนพี่น้อง ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเคยร่วมงานกันมา ได้เข้าร่วมในงานครั้งนี้เพื่อเป็นกำลังใจและเป็นพลังหนึ่งในการสนับสนุนพวกเราให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีการแก่งแย่งแข่งขันกัน โดยใช้กฎหมาย นโยบาย เป็นอาวุธในการเบียดขับ พวกเราอาศัยและใช้ประโยชน์ อย่างประหยัด อยู่คู่กับทะเลมาอย่างยาวนาน ด้วยวิถีชีวิตมือเปล่า และวัฒนธรรมความเชื่อ ภาษา อย่างมีอัตลักษ์ ของกลุ่มเราอย่างชัดเจน ให้อยู่ร่วมกันได้” ครูแสงโสม หาญทะเล ฝากบอกถึงทุกคน และทุกฝ่ายผ่านผู้คนที่เกี่ยวข้องมาด้วย

———————-

/////////////////////////

Let's block ads! (Why?)



"อยู่บน" - Google News
July 19, 2020 at 08:33PM
https://ift.tt/30tMI3V

สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters
"อยู่บน" - Google News
https://ift.tt/3bD0BBk
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "สำนักข่าวชายขอบ - คนชายข่าว คนชายขอบ - Transborder Reporters"

Post a Comment

Powered by Blogger.