Search

รู้จัก หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว เกิดได้หลายสาเหตุ คร่าชีวิต "แชมป์ ศุภวัฒน์" - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

รู้จัก "ภาวะหัวใจวาย" หรือ "ภาวะหัวใจล้มเหลว" เกิดได้จากหลายสาเหตุ รู้ก่อนช่วยป้องกันตัวเองได้ หลังจาก "แชมป์ ศุภวัฒน์ พีรานนท์" นักร้องดังเสียชีวิตจากหัวใจวาย

เป็นข่าวเศร้าของวงการบันเทิง สำหรับการจากไปอย่างกะทันหันของ แชมป์ ศุภวัฒน์ พีรานนท์ หรือ แชมป์ ศุภวัฒน์ เจ้าของเพลง นอนน้อย ด้วยอาการหัวใจวาย เมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 21 มิ.ย. 2563 ท่ามกลางความเสียใจของครอบครัว เพื่อนสนิท และแฟนคลับ

สำหรับ ภาวะหัวใจวาย หรือ ภาวะหัวใจล้มเหลว ข้อมูลจาก อ.พญ.ศรีสกุล จิรกาญจนากร ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เรื่อง "มารู้จัก...ภาวะหัวใจล้มเหลว" โดยระบุว่า ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หากไม่รู้ตัวอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต แต่ถ้ารู้สาเหตุก็จะช่วยป้องกันตนเองได้ 

"ภาวะหัวใจล้มเหลว" คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานตอบสนองต่อความต้องการของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

สาเหตุภาวะหัวใจล้มเหลว

เช่น โรคของตัวกล้ามเนื้อหัวใจเอง ความดันโลหิตสูงที่เป็นมานาน โรคลิ้นหัวใจที่ผิดปกติ และโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด สาเหตุเหล่านี้ถ้ามีความรุนแรงมากเพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจโต และภาวะหัวใจล้มเหลวตามมาได้


ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวส่วนใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เมื่อมีอาการเพิ่มมากขึ้น จะมีอาการเหนื่อยเมื่ออยู่เฉยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลานอนราบจะมีอาการหายใจไม่ออก หลายรายมีอาการบวมกดบุ๋มที่บริเวณหลังเท้าและหน้าขา มีอาการท้องโต รับประทานอาหารแล้วอิ่มง่ายเนื่องจากมีภาวะคั่งของน้ำและเลือดในตับ ทำให้เกิดภาวะตับโตและน้ำในช่องท้อง ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการอ่อนเพลีย เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ


การวินิจฉัย

แพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการสืบค้นทางห้องปฏิบัติการเบื้องต้น เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเอคโค่คาดิโอแกรม หรือการตรวจสวนหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้เพื่อหาสาเหตุและประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสม


การรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว

1. การรักษาจำเพาะของแต่ละสาเหตุ เช่น การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรือการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดเปลี่ยนหรือซ่อมลิ้นหัวใจ เป็นต้น        

2. การรักษาด้วยยา รวมถึงยาขับปัสสาวะ เพื่อทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น        

นอกจากนี้ในผู้ป่วยบางราย แพทย์จะทำการฝังเครื่องกระตุกหัวใจ หรือเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร และในผู้ป่วยที่มีอาการมาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายหัวใจ หรือการผ่าตัดใส่เครื่องพยุงหัวใจ        

นอกจากการรับประทานยา และมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เนื่องจากจะช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ผู้ป่วยควรงดอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีส่วนประกอบของโซเดียม และควรทำการสำรวจภาวะน้ำและเกลือคั่งเป็นประจำทุกวัน โดยหากมีอาการบวมกดบุ๋ม หรือน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุควรรีบพบแพทย์ รวมทั้งงดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเริ่มทีละน้อย เช่น การเดินบนทางราบ และหากมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบาย ควรงดออกกำลังกาย.

ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"ล้มเหลว" - Google News
June 21, 2020 at 11:37AM
https://ift.tt/2BntGUj

รู้จัก หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว เกิดได้หลายสาเหตุ คร่าชีวิต "แชมป์ ศุภวัฒน์" - ไทยรัฐ
"ล้มเหลว" - Google News
https://ift.tt/2Kza010
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "รู้จัก หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว เกิดได้หลายสาเหตุ คร่าชีวิต "แชมป์ ศุภวัฒน์" - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.