Search

เช็กอาการ ความเสี่ยง โรคหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว - ไทยรัฐ

soho.prelol.com

หัวใจวาย และหัวใจล้มเหลว ได้คร่าชีวิตผู้คนในแต่ละปีจำนวนมาก รวมทั้งล่าสุด แชมป์ ศุภวัฒน์ พีรานนท์ นักร้องเจ้าของผลงานเพลงฮิต “นอนน้อย” และผู้บริหาร TikTok ได้จากไปด้วยวัยเพียง 40 ปี


ทั้งนี้ ความแตกต่างอาการหัวใจวาย และหัวใจล้มเหลว มีลักษณะของอาการ และสาเหตุ ที่มีบางส่วนคล้ายกัน และบางส่วนต่างกัน ดังนี้

5 อาการเสี่ยงภาวะหัวใจวาย
สาเหตุหัวใจวาย เกิดจากการมีลิ่มเลือด ที่เกิดจากมีภาวะไขมันสูง ไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ โดยผู้เข้าข่ายสามารถสังเกตการที่ต้องระวังไว้ แม้ว่าก่อนหน้านั้นจะมีภาวะสุขภาพที่ปกติดีก็ตาม ดังนี้

1. เจ็บแน่นกลางหน้าอก ร้าวไปถึงคอ กราม ขากรรไกร ไหล่ และแขน เป็นครั้งละประมาณ 5-10 นาที
2. เหงื่อออกมากจนรู้สึกหนาว บริเวณร่างกายส่วนบน
3. เหนื่อยง่าย หายใจถี่ หายใจไม่ทันขณะออกกำลังกาย จากปกติหายใจได้ปกติ
4. วิงเวียน หน้ามืด อาจมีคลื่นไส้ด้วย
5. ชีพจรเต้นเร็ว

สำหรับผู้ที่เสี่ยงอาจเกิดภาวะหัวใจวาย เช่น ชอบอาหารมัน จนมีไขมันในเลือดสูง, ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างความดันโลหิตสูง เบาหวาน, สูบบุหรี่จัด, ไม่ค่อยออกกำลังกาย, เครียดง่าย บ่อย, มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ

6 อาการเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว
หัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ส่งผลกระทบเป็น 2 ลักษณะ คือ 1. ทำให้การทำงานของอวัยวะเสื่อมลง และ 2. ทำให้มีเลือดกับน้ำไปคั่งอยู่ต้นทางก่อนถึงหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำเกิน หรือเนื้อเยื่อบวมน้ำ ซึ่งสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ ได้แนะนำย้ำว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารเค็ม โดยมี 6 อาการเสี่ยง ดังนี้

1. หอบเหนื่อย หายใจไม่สะดวก ขณะนอนราบ
2. เจ็บแน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ
3. ขาบวม กดบุ๋มทั้งสองข้าง
4. เส้นเลือดดำที่คอโป่งพอง
5. เสียงกรอบแกรบ ที่ชายปอดทั้งสองข้าง
6. คลำพบตับโต กดเจ็บ

สาเหตุหัวใจล้มเหลว เช่น อายุมากขึ้น หลอดเลือดหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจหนา ระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ เยื่อบุหัวใจผิดปกติ เป็นต้น

สำหรับวิธีป้องกันโดยทั่วไปทั้ง 2 ภาวะโรคหัวใจดังกล่าว มีข้อปฏิบัติพื้นฐานที่ควรทำเพื่อให้ดีต่อสุขภาพอยู่แล้ว เช่น ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารมัน ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว ที่เสี่ยงต่อการบีบตัวของหัวใจ ต้องดูแลใส่ใจพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง เช่น โรคไต ไทรอยด์ และอย่าลืมเช็กสุขภาพเป็นประจำ

ที่มาข้อมูล : สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลรามาธิบดี, โรงพยาบาลบางประกอบ 9, โรงพยาบาลธนบุรี

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"ล้มเหลว" - Google News
June 21, 2020 at 06:23PM
https://ift.tt/3djCKqn

เช็กอาการ ความเสี่ยง โรคหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว - ไทยรัฐ
"ล้มเหลว" - Google News
https://ift.tt/2Kza010
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3c5Fzvo

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เช็กอาการ ความเสี่ยง โรคหัวใจวาย หัวใจล้มเหลว - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.